ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย SPSS
การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรม SPSS เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว โดยมีลำดับขั้นตอนการวิเคราะห์ ดังนี้
1. การเตรียมข้อมูล ผู้วิจัยต้องเตรียมเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลที่เหมาะสมกับการวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์ (ซึ่งแตกต่างจากการวิเคราะห์ด้วยมือ) โดยในแบบสอบถามนั้นจะต้องกำหนดชื่อตัวแปร (Variable Name) และค่าของตัวแปร (Value) ให้เป็นตัวเลขเท่านั้น
2. การสร้างแฟ้มข้อมูล ต้องกำหนดชื่อตัวแปร (Variable Name) ให้สอดล้องกับที่กำหนดไว้ในแบบสอบถาม และสร้างคู่มือลงรหัส (Code book) ที่กำหนดสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย การกำหนดชื่อตัวแปร (Variable Name หรือ Name) ตำแหน่งทศนิยมของค่าของตัวแปร (Decimals) คำอธิบายชื่อตัวแปร (Label) ค่าของตัวแปร (Value) ความหมายของค่าของตัวแปร (Value Label) และระดับการวัดข้อมูล (Maesure)
3. การบันทึกข้อมูล ข้อมูลที่จะบันทึกต้องเป็นตัวเลขเท่านั้น โดยกำหนดค่าของตัวแปรที่เป็นตัวเลือกในแบบสอบถามให้เป็นตัวเลขเสียก่อน
4. การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ผู้วิจัยสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้โดยง่าย ทั้งค่าสถิติพื้นฐานและค่าสถิติสำหรับทดสอบสมมุติฐาน โดยใช้คำสั่งจาก Menu bar เลือก Analyze แล้วเลือกค่าสถิติที่ต้องการวิเคราะห์จาก Window ที่ปรากฏตามลำดับ ก็จะได้ผลการวิเคราะห์ตามต้องการ
งานวิจัยเผย : คนที่ทำตัวแปลกๆ หาแฟนง่ายกว่าคนธรรมดา
จากการศึกษางานวิจัยเผยว่า คนที่ทำตัวแปลกๆหรือทำตัวประหลาดแตกต่างจากคนปกติ หรือคนที่มีคาแร็คเตอร์แปลกประหลาดแบบธรรมชาติของเขาเอง สามารถสร้างแรงดึงดูดต่อเพศตรงข้าม และทำให้มีโอกาสหาแฟนหรือคนรู้ใจได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ใครที่โสดมานานแล้วอยากสละโสด คงจะได้ฤกษ์สละโสดเร็วๆนี้แล้ว . ซึ่งผลวิจัยดังกล่าวข้างต้น อ้างอิงจากวารสารว่าด้วยบุคลิกภาพและจิตวิทยาสังคม (Personality and Social Psychology Bulletin) ของสหรัฐอเมริกา เป็นการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างทั้งชายและหญิง จากการเลือกเพศตรงข้ามที่สนใจผ่านเว็บไซต์หาคู่เดทออนไลน์ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างทั้งชายและหญิงต่างถูกใจในผู้ที่มีความแปลกกว่าคนทั่วไป ทั้งในเรื่องสไตล์เสื้อผ้า การแต่งตัว รสนิยม และทัศนคติ . บางท่านอาจสงสัยว่า