ทำไมสอบวิทยานิพนธ์ไม่ผ่าน

ทำไมสอบวิทยานิพนธ์ไม่ผ่าน

ธงชัย โรจน์กังสดาล

ธงชัย โรจน์กังสดาล

Mar 10, 2020·3 min read

เหตุผลหลายข้อที่ทำให้นักศึกษาปริญญาโททำวิทยานิพนธ์ไม่ผ่าน

Credit : Pexels.com

บทความนี้เคยตีพิมพ์ในนิตยสาร Go Training ฉบับเดือนมิถุนายน 2552 และเดือนกรกฏาคม 2552 ครับ

การทำวิทยานิพนธ์เป็นสิ่งสำคัญมากในการสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท โดยทั่วไปแล้ว ผู้เรียนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการเรียนเนื้อหารายวิชา แต่มักพบอุปสรรคใหญ่หลวงในการทำวิทยานิพนธ์ ตั้งแต่การหาหัวข้อวิทยานิพนธ์ ซึ่งมีระเบียบว่า ต้องสอบหัวข้อภายในกี่ปี จากนั้นก็ผ่านเข้าสู่กระบวนการสอบหัวข้อวิทยานิพนธ์ การทำวิทยานิพนธ์ และด่านสุดท้ายคือการสอบวิทยานิพนธ์

จากประสบการณ์ในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ผมพบนักศึกษาหลายคนที่สอบวิทยานิพนธ์ไม่ผ่านหรือสอบวิทยานิพนธ์ตก ทำให้เรียนไม่จบ ซึ่งน่าเสียดายยิ่ง

ผมจึงลองวิเคราะห์สาเหตุที่นักศึกษาสอบวิทยานิพนธ์ไม่ผ่าน และรวบรวมเหตุผลต่างๆ ในบทความนี้ เพราะผมเชื่อว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาโทหรือสนใจจะศึกษาต่อในระดับปริญญาโทครับ

Credit : Pexels.com

เหตุผลที่สอบวิทยานิพนธ์ไม่ผ่าน

1. เริ่มทำวิทยานิพนธ์ตอนใกล้กำหนดเส้นตายส่ง

หลังจากที่สอบหัวข้อวิทยานิพนธ์ผ่านแล้ว นักศึกษาหลายคนก็โล่งอกที่ผ่านด่านแรกไปได้ และไม่สนใจที่จะรีบทำวิทยานิพนธ์ เพราะคิดว่ายังเหลือเวลาอีกนาน ไม่ต้องรีบร้อนก็ได้

ถ้าเป็นนักศึกษาที่เรียนหลักสูตรปกติ คือเรียนเต็มเวลาในเวลาราชการ ส่วนใหญ่จะไม่ได้ทำงาน ทำให้ใช้เวลากลางวันในการทำวิทยานิพนธ์ และนัดพบอาจารย์ที่ปรึกษาได้สะดวก

ส่วนนักศึกษาที่เรียนหลักสูตรนอกเวลาราชการ เช่น เรียนตอนเย็นหรือวันเสาร์ อาทิตย์ ส่วนใหญ่มักมีงานประจำอยู่แล้ว

ดังนั้นจึงต้องใช้เวลาหลังเลิกงานเพื่อทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งในบางครั้งงานประจำก็เต็มมืออยู่แล้ว ทำให้แทบไม่มีเวลาทำวิทยานิพนธ์ จึงเร่งทำตอนใกล้กำหนดส่ง เช่น ถ้ากำหนดสอบเส้นตายวิทยานิพนธ์คือวันที่ 30 เมษายน นักศึกษาหลายคนจะเริ่มทำวิทยานิพนธ์ประมาณต้นเดือนมกราคม ทำให้ทำวิทยานิพนธ์ไม่ทัน

ดังนั้นนักศึกษาควรรีบทำวิทยานิพนธ์ตั้งแต่เนิ่น ๆ ครับ ไม่ว่านักศึกษาจะเรียนหลักสูตรในเวลาราชการ หรือนอกเวลาราชการ ก็ไม่ควรชะล่าใจ ปล่อยทิ้งเอาไว้ เพราะยิ่งทิ้งไว้นานเท่าใด ความกระตือรือร้นในการทำวิทยานิพนธ์จะยิ่งน้อยลง จนถึงขั้นไม่อยากทำ

โดยทั่วไปแล้ว วิทยานิพนธ์ใช้เวลาในการทำตั้งแต่ 1 ปีถึง 2 ปี แล้วแต่ความยากง่ายของหัวข้อ ดังนั้นยิ่งทำเร็วเท่าใด ยิ่งดีเท่านั้น

วิธีหนึ่งที่เป็นประโยชน์ คือ พยายามรวมกลุ่มกับเพื่อนที่ทำวิทยานิพนธ์ในรุ่นเดียวกัน และนัดพบปะกัน เช่น พบกันเดือนละหนึ่งครั้งเพื่อสอบถามความก้าวหน้าในการทำวิทยานิพนธ์ของกันและกัน หรือให้กำลังใจซึ่งกันและกัน

ที่สำคัญที่สุด คือควรพบอาจารย์ที่ปรึกษาสม่ำเสมอ เพราะหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาคือการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาและให้แนวทางหรือชี้แนะทิศทางในการทำวิทยานิพนธ์ แต่หน้าที่ในการทำวิทยานิพนธ์เป็นของนักศึกษาครับ การเรียนในระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอกนั้น นักศึกษาจะต้องรับผิดชอบตัวเองและมีวินัยเป็นอย่างสูง ดังนั้นนักศึกษาต้องคอยหมั่นกระตุ้นตนเองเสมอครับ

ถ้านักศึกษามาเร่งทำวิทยานิพนธ์ตอนใกล้เส้นตาย และเป็นนักศึกษาภาคนอกเวลาราชการ ผมแนะนำว่า ถ้าเป็นไปได้ ควรขอลาพักร้อนหรือลางานชั่วคราว เพื่อทุ่มเททำงานวิทยานิพนธ์ให้เต็มที่ เพราะเวลามีน้อยอยู่แล้ว ถ้าไม่ให้เวลาอย่างเต็มที่ โอกาสที่จะทำวิทยานิพนธ์เสร็จมีน้อยมากครับ

Credit : Pexels.com

2. ขาดแรงจูงใจ

ถ้านักศึกษาคิดหัวข้อวิทยานิพนธ์ด้วยตัวเอง และสามารถสอบผ่านหัวข้อวิทยานิพนธ์แล้ว แสดงว่านักศึกษามีความสนใจหัวข้อนั้นเป็นทุนเดิมอยู่แล้วเพราะเป็นเรื่องที่ตนเองคิดขึ้นเองและต้องการทำ

แต่บางครั้ง นักศึกษาได้หัวข้อจากอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งเป็นหัวข้อที่อาจารย์ที่ปรึกษาสนใจ แต่นักศึกษาอาจไม่สนใจมากนัก เช่น เมื่อใกล้กำหนดสอบหัวข้อวิทยานิพนธ์ นักศึกษาก็รีบ “หยิบ” หัวข้ออะไรก็ได้จากอาจารย์ เพราะจะต้องสอบหัวข้อแล้ว ทำให้นักศึกษาไม่มีความกระตือรือร้นหรือขาดแรงจูงใจไม่อยากทำ บางที ระหว่างที่นักศึกษาทำวิทยานิพนธ์ ก็เกิดความเบื่อหน่ายไม่อยากทำ และหยุดทำดื้อ ๆ คือเลิกเรียนหรือลาออก

ดังนั้นก่อนที่นักศึกษาจะเลือกทำหัวข้อวิทยานิพนธ์ใดก็ตาม ควรถามตนเองว่า สนใจและต้องการทำหัวข้อนั้นจริงหรือไม่ นักศึกษาไม่ควรเลือกหัวข้อเพียงเพราะต้องการให้สอบหัวข้อวิทยานิพนธ์ผ่านภายในเวลาที่กำหนด หรือไม่ทราบว่าจะทำเรื่องอะไรดี จึงเลือกเรื่องอะไรก็ได้ที่อาจารย์ที่ปรึกษากำหนดมาให้ เพราะการทำวิทยานิพนธ์จะต้องใช้เวลาและความต่อเนื่องในการทำ

บางครั้งอาจเกิดความเบื่อหน่ายในบางช่วง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา หรือนักศึกษาอาจเกิดปัญหาในชีวิต เช่น ทะเลาะกับแฟน มีปัญหาสุขภาพ มีปัญหากับครอบครัว เปลี่ยนงาน เป็นต้น ในช่วงเวลาที่เกิดปัญหาเหล่านี้ นักศึกษาจะไม่มีสมาธิพอที่จะทำวิทยานิพนธ์ได้ จนกว่าจะผ่านพ้นช่วงนั้นแล้ว

ส่วนใหญ่แล้ว สาเหตุที่นักศึกษาทำวิทยานิพนธ์ไม่สำเร็จ ไม่ใช่เพราะขาดความรู้หรือทักษะด้านวิชาการ แต่มักเกิดจากขาดความเพียรหรือกำลังใจที่แน่วแน่ในการทำวิทยานิพนธ์ให้สำเร็จลุล่วง ดังนั้นนักศึกษาควรกระตุ้นและปลุกเร้าตนเองอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งปัจจุบันมีหนังสือแนวจิตวิทยาจำนวนมากที่ให้คำแนะนำด้านนี้อยู่แล้วครับ ลองไปหาอ่านและฝึกฝนดูครับ

Credit : Pexels.com

3. การนำเสนอไม่ชัดเจน

นักศึกษาหลายคนได้ทำวิทยานิพนธ์และเขียนรูปเล่มมาเป็นอย่างดี แต่ตกม้าตายตอนสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์ เนื่องจากนำเสนอไม่ชัดเจน ไม่สามารถทำให้กรรมการสอบวิทยานิพนธ์เข้าใจได้ สาเหตุที่นำเสนอไม่ชัดเจน เช่น

· ใช้เวลาในการนำเสนอน้อยเกินไปหรือนานเกินไป อันที่จริง ก่อนที่นักศึกษาจะสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์นั้น ควรฝึกซ้อมการนำเสนอก่อน เช่น นำเสนอให้เพื่อนหรืออาจารย์ที่ปรึกษาฟังก่อนหนึ่งรอบ เพื่อที่จะได้เสียงสะท้อนของการนำเสนอ และปรับปรุง แก้ไข ให้ดีขึ้นก่อนการสอบ ในกรณีที่นำเสนอสั้นเกินไป กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ก็อาจสงสัยว่า เนื้องานวิทยานิพนธ์คืออะไร ถ้านำเสนอนานเกินไป ก็จะน่าเบื่อ ส่วนใหญ่แล้ว ผมมักพบการนำเสนอนานเกินไป จะไม่ค่อยพบการนำเสนอที่สั้นเกินไปครับ

· สไลด์ที่ใช้ในการนำเสนอไม่เหมาะสม เช่น มีข้อความเต็มไปหมด ทำให้สไลด์ไม่น่าสนใจ และชวนง่วงนอน นอกจากนี้ นักศึกษาบางคนพูดหรือท่องข้อความในสไลด์ ซึ่งเป็นการนำเสนอที่น่าเบื่อมาก เนื้อความในสไลด์ควรสรุปประเด็นสำคัญเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องใส่ข้อความทั้งหมด และควรมีภาพประกอบหรือภาพเคลื่อนไหว เพื่อสื่อเนื้อความที่ต้องการ

· นักศึกษาอธิบายไม่รู้เรื่อง หัวข้อบางเรื่องอาจเป็นเรื่องที่กรรมการสอบบางท่านไม่ถนัด หรือเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ ซึ่งนักศึกษาอาจมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในด้านนั้นเป็นอย่างดี ดังนั้นนักศึกษาควรยกตัวอย่างหรือการอุปมา อุปไมย เพื่ออธิบายเนื้อความให้ชัดเจน

· นักศึกษาไม่ได้เน้นงานของตนเอง ทำให้กรรมการสอบไม่เข้าใจว่าเนื้องานวิทยานิพนธ์ที่นักศึกษาทำคืออะไร เช่น ใช้เวลากล่าวถึงทฤษฏีหรืองานวิจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมาก แต่ใช้เวลาในการกล่าวถึงเนื้องานวิทยานิพนธ์ตนเองสั้นเกินไป การสอบวิทยานิพนธ์ก็เหมือนการขายสินค้าครับ ดังนั้นนักศึกษาควรเน้นจุดเด่นของงานวิทยานิพนธ์และใช้เวลากับตรงนี้ให้มากที่สุด และควรเปรียบเทียบงานของตนเองกับงานวิจัยของผู้อื่นที่ใกล้เคียง เพื่อที่กรรมการสอบจะได้เข้าใจเนื้อหางานของนักศึกษาได้ชัดเจนยิ่งขึ้นครับ

นักศึกษาควรหาโอกาสฟังการสอบวิทยานิพนธ์ของรุ่นพี่หรือเพื่อนร่วมรุ่น เพราะทำให้มีประสบการณ์และเห็นรูปแบบการนำเสนอทั้งที่ดีและไม่ดี เพื่อจะได้เตรียมการนำเสนอของตนเองได้อย่างเหมาะสมครับ

Credit : Pexels.com

4. ทำงานไม่ครบตามขอบเขต

หลังจากที่นักศึกษาเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์แล้ว นักศึกษาจะต้องทำงานให้ครบตามขอบเขตวิทยานิพนธ์ตามที่ตัวเองเสนอไว้ และส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการตัดสินว่านักศึกษาได้ทำวิทยานิพนธ์ครบถ้วนหรือไม่

ถ้านักศึกษากำหนดขอบเขตวิทยานิพนธ์ว่าจะทำห้าข้อ แต่ตอนสอบจบ นักศึกษากลับทำได้เพียงสามข้อ กรรมการก็จะให้นักศึกษาสอบตกแน่นอน เพราะไม่สามารถทำได้ครบตามขอบเขต ดังนั้นนักศึกษาต้องแน่ใจว่า ทำวิทยานิพนธ์ได้ครบตามขอบเขตของหัวข้อที่เสนอไว้ ส่วนใหญ่ที่นักศึกษาทำงานไม่ครบตามขอบเขต เพราะทำไม่ทันนั่นเอง

แต่ถ้าระหว่างทำวิทยานิพนธ์ นักศึกษาพบว่าไม่สามารถทำขอบเขตบางข้อได้ตามที่เสนอไว้ เพราะสุดวิสัย ในกรณีนี้ นักศึกษาควรปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อขอคำแนะนำครับ

Credit : Pexels.com

5. รูปเล่มวิทยานิพนธ์ไม่สมบูรณ์

นอกจากการสอบปากเปล่าแล้ว รูปเล่มวิทยานิพนธ์ก็เป็นส่วนสำคัญในการสอบวิทยานิพนธ์ สิ่งหนึ่งที่ทำให้กรรมการสอบวิทยานิพนธ์หงุดหงิดหรือรำคาญใจอย่างมากคือ วิทยานิพนธ์ที่มีคำสะกดผิดจำนวนมากเหมือนรายงานเด็กประถมมากกว่าวิทยานิพนธ์ ผมมักบอกนักศึกษาเสมอว่า ควรตรวจสอบคำสะกดทั้งหลายให้ถูกต้องก่อนที่จะส่งรูปเล่มแก่อาจารย์ที่ปรึกษาหรือกรรมการ แต่ก็ยังพบคำสะกดผิดอยู่เป็นประจำ

นอกจากคำสะกดแล้ว การจัดเรียงบทของวิทยานิพนธ์ การใส่ภาพ ตาราง เอกสารอ้างอิง ก็มีความสำคัญเช่นกัน นักศึกษาควรตรวจสอบรูปแบบวิทยานิพนธ์จากมหาวิทยาลัยของตนเอง และดูตัวอย่างวิทยานิพนธ์ของรุ่นพี่ แต่ไม่ควรยึดถือวิทยานิพนธ์ของรุ่นพี่เป็นตัวอย่างที่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะบางทีวิทยานิพนธ์ของรุ่นพี่ก็ “มั่ว” เหมือนกันครับ

โดยสรุปแล้ว สาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้สามารถหลีกเลี่ยงได้อย่างง่ายดาย ถ้านักศึกษามีเวลาเพียงพอในการทำวิทยานิพนธ์ เพราะนักศึกษาสามารถตรวจทานและแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ ให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่ทำได้ หรือไม่มีข้อผิดพลาดเลย นักศึกษาก็จะมีความภาคภูมิใจในวิทยานิพนธ์ฉบับนั้น และจบการศึกษาอย่างสง่างามสมกับเป็นมหาบัณฑิตครับ

นี่คือ Mind Map สรุปเนื้อหาของบทความนี้ครับ

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

งานวิจัยเผย : คนที่ทำตัวแปลกๆ หาแฟนง่ายกว่าคนธรรมดา

งานวิจัยเผย : คนที่ทำตัวแปลกๆ หาแฟนง่ายกว่าคนธรรมดา

จากการศึกษางานวิจัยเผยว่า คนที่ทำตัวแปลกๆหรือทำตัวประหลาดแตกต่างจากคนปกติ หรือคนที่มีคาแร็คเตอร์แปลกประหลาดแบบธรรมชาติของเขาเอง สามารถสร้างแรงดึงดูดต่อเพศตรงข้าม และทำให้มีโอกาสหาแฟนหรือคนรู้ใจได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ใครที่โสดมานานแล้วอยากสละโสด คงจะได้ฤกษ์สละโสดเร็วๆนี้แล้ว . ซึ่งผลวิจัยดังกล่าวข้างต้น อ้างอิงจากวารสารว่าด้วยบุคลิกภาพและจิตวิทยาสังคม (Personality and Social Psychology Bulletin) ของสหรัฐอเมริกา เป็นการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างทั้งชายและหญิง จากการเลือกเพศตรงข้ามที่สนใจผ่านเว็บไซต์หาคู่เดทออนไลน์ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างทั้งชายและหญิงต่างถูกใจในผู้ที่มีความแปลกกว่าคนทั่วไป ทั้งในเรื่องสไตล์เสื้อผ้า การแต่งตัว รสนิยม และทัศนคติ . บางท่านอาจสงสัยว่า

งานวิจัยเผย : ฝนตกทำให้คนเหงา เป็นเรื่องจริงไม่ได้มโนไปเอง

งานวิจัยเผย : ฝนตกทำให้คนเหงา เป็นเรื่องจริงไม่ได้มโนไปเอง

จากการศึกษาเรื่อง ทำไมฝนตกแล้วต้องเหงา หรือผลกระทบจากสภาพอากาศต่อสภาพจิตใจในเชิงวิทยาศาสตร์และจิตวิทยานั้นพบว่า ในช่วงที่ฝนตก สภาพอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งความชื้นในอากาศที่เพิ่มขึ้น อุณหภูมิที่ลดต่ำลง และแสงสว่างที่ลดน้อยลง ซึ่งอธิบายให้เห็นภาพที่สุดก็คงจะเป็นเรื่องของแสงสว่างที่ลดน้อยลงในวันที่ฝนตก เพราะร่างกายของมนุษย์มีสิ่งที่เรียกว่า นาฬิกาชีวภาพ (Circadian Rhythm) ที่คอยกำหนดการทำงานของสมองและร่างกายในแต่ละช่วงของวัน . ซึ่งแสงส่งผลได้อย่างชัดเจน สามารถนึกถึงอารมณ์เวลาที่ตื่นมาในวันที่มีแสงแดดแรง ท้องฟ้าสดใส และไม่ร้อนจนเกินไป กับวันที่ตื่นมาแล้วท้องฟ้าปกคลุมไปด้วยเมฆครึ้ม อารมณ์ความรู้สึกในวันนั้นก็แตกต่างกันไม่น้อย ซึ่งสิ่งนี้เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล เพราะการได้รับแสงแดดที่ไม่เพียงพอหรือน้อยลงในตอนเช้าส่งผลต่อการทำงานของนาฬิกาชีวภาพ ต่อเนื่องไปยังสมอง ทำให้สมองผลิตเซโรโทนิน

งานวิจัยเผย : วัยรุ่นที่มีแฟนเป็นซึมเศร้ามากกว่าวัยรุ่นที่โสด

งานวิจัยเผย : วัยรุ่นที่มีแฟนเป็นซึมเศร้ามากกว่าวัยรุ่นที่โสด

วัยรุ่นวัยใสที่ยังไม่มีแฟนหรือแทบจะไม่ได้ไปออกเดทกับใครเขา มักถูกมองว่าขาดเสน่ห์หรือเข้าสังคมได้ไม่ดีนัก แต่ในขณะที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาและพฤติกรรมวัยรุ่นในสหรัฐฯ เชื่อกันมานานว่า วัยรุ่นที่มีคู่คบหาดูใจจะมีโอกาสพัฒนาทักษะทางสังคมและวุฒิภาวะทางอารมณ์ได้ดีกว่าเพื่อนวัยเดียวกัน แต่แล้วความเชื่อนี้กำลังจะเปลี่ยนไป . เนื่องจากทีมนักวิจัยด้านสาธารณสุขจากมหาวิทยาลัยจอร์เจียของสหรัฐฯ ได้มีการตีพิมพ์ผลการศึกษาล่าสุดลงในวารสาร “สุขภาพในโรงเรียน” (Journal of School Health) โดยระบุว่า ผลการติดตามเก็บข้อมูลระยะยาวเป็นเวลา 7 ปีกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียน ตั้งแต่อยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ชี้ว่าวัยรุ่นที่ไม่ได้คบหาเป็นแฟนกับใครและไม่ค่อยได้ออกเดทนั้น ไม่ได้มีพัฒนาการทางจิตวิทยาตามวัยด้อยไปกว่าเพื่อนที่มีแฟน หนำซ้ำยังมีทักษะทางสังคมที่ดีกว่า และมีภาวะซึมเศร้าน้อยกว่าด้วย

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน . เนื่องจากการสำรวจพฤติกรรมการรับสื่อและทัศนคติต่อการรับชมโฆษณา-แคมเปญการตลาดของผู้บริโภคชาวไทยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ทางบริษัท นีลเส็น มีเดีย ประเทศไทย หนึ่งในบริษัทวิจัยสื่อ-การตลาดรายใหญ่ สามารถประมวลเป็นเทรนด์สำคัญที่จะส่งผลกับการสื่อสารและทำการตลาดของภาคธุรกิจในปี 2566 นี้ . พบว่า ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน และ 61% เลือกซื้อสินค้าที่เป็นสปอนเซอร์การแข่งขัน รวมถึง