บทความวิชาการกับบทความวิจัย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

รองศาสตราจารย์ ดร.วรางคณา จันทร์คง
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทบาทของนักวิชาการ/นักวิจัยที่สำคัญอีกบทบาทหนึ่งคือการเผยแพร่ความรู้ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี เช่น การสอนงาน การบรรยาย การสาธิตและการเขียน เมื่อเปรียบเทียบผลกระทบในการเผยแพร่ความรู้จะเห็นได้ว่าการเขียนจะสามารถเผยแพร่ ได้กว้างขวางมากที่สุด อีกทั้งยังคงทนถาวรอีกด้วย การเผยแพร่ความรู้โดยการเขียนสำหรับนักวิชาการ/นักวิจัยนี้ส่วนใหญ่จะทำ ในรูปของงานวิชาการ
“บทความ” (article) เป็นรูปแบบการเขียนประเภทหนึ่ง ที่ผู้เขียนต้องการสื่อสารข้อเท็จจริง และความคิดเห็นเกี่ยว กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้กับผู้อ่าน เนื้อหานำเสนอจากข้อมูลจริงไม่ใช่เรื่องแต่งหรือคิดขึ้นจากจินตนาการ มีลักษณะเป็นข้อเขียน ขนาดสั้น สำหรับ “บทความทางวิชาการ”(academic article) มีผู้ให้ความหมายไว้ใกล้เคียงกัน อาจกล่าวได้ว่า “บทความทาง วิชาการ” หมายถึง งานเขียนวิชาการซึ่งมีการวิเคราะห์ประเด็นตามหลักวิชาการโดยมีการสำรวจวรรณกรรมและวิเคราะห์อย่าง เป็นระบบ เพื่อสนับสนุนจนสามารถสรุปผลการวิเคราะห์ในประเด็นนั้นได้ โดยรูปแบบประกอบด้วยการนำความที่แสดงเหตุผล หรือที่มีของประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์ กระบวนการอธิบายหรือวิเคราะห์และบทสรุป มีการอ้างอิงบรรณานุกรมที่ ครบถ้วนและสมบูรณ์ โดย บทความวิชาการจะมีลักษณะเฉพาะอยู่หลายประการ คือ

  1. ต้องเป็นเรื่องที่ผู้อ่านส่วนมากกำลังสนใจอยู่ในขณะนั้น อาจเป็นปัญหาที่กำลังอยากรู้ว่าจะดำเนินต่อไปอย่างไร หรือมี ผลเช่นไร หรือเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับเหตุการณ์หรือสถานการณ์ หรือเข้ายุคเข้าสมัย
  2. ต้องมีสาระ มีแก่นสาร อ่านแล้วได้ความรู้หรือความคิดเพิ่มเติมมิใช่เรื่องเลื่อนลอย เหลวไหล ไร้สาระ
  3. ต้องมีทัศนะ ข้อคิดเห็น ข้อวินิจฉัยของผู้เขียนแทรกอยู่ด้วย
  4. มีวิธีการเขียนที่ชวนให้อ่าน ทำให้เพลิดเพลินและชวนคิด
  5. เนื้อหาสาระและวิธีเขียนเหมาะแก่ผู้อ่านระดับที่มีการศึกษา ทั้งนี้เพราะผู้อ่านที่มีการศึกษาน้อย มักจะไม่อ่าน บทความแต่จะอ่านข่าวสดมากกว่า
    สำาหรับ “บทความวิจัย” เป็นบทความที่เป็นผลงานต่อเนื่อง สกัดมาจากงานวิจัย บทความประเภทนี้ เป็นบทความที่ ประมวลสรุปกระบวนการวิจัยให้มีความกระชับและสั้นสำหรับนำเสนอ ในในวารสาร สื่อสิ่งพิมพ์ หรือที่ประชุมสัมมนา โดยการ พิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยต้องผ่านการตรวจสอบเนื้อหาสาระ และรูปแบบการจัดพิมพ์ให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานของวารสาร หรือคณะกรรมการประเมิน
    องค์ประกอบของบทความ บทความโดยทั่วไปจะมีเนื้อหาที่สำคัญอยู่ 3 ส่วนคือ1) ส่วนประกอบตอนต้นหรือส่วนนำ 2) ส่วนเนื้อหา และ3)ส่วนท้าย การเขียนงานวิชาการแต่ละประเภทนั้น จะมีเทคนิคและวิธีการที่เหมือนและแตกต่างกัน โดยในส่วนของบทความทางวิชาการ และบทความวิจัย ก็จะมีองค์ประกอบต่างกัน ทั้งนี้สามารถสรุปในเชิงเปรียบเทียบระหว่างบทความวิชาการและบทความวิจัย ได้

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

งานวิจัยเผย : คนที่ทำตัวแปลกๆ หาแฟนง่ายกว่าคนธรรมดา

งานวิจัยเผย : คนที่ทำตัวแปลกๆ หาแฟนง่ายกว่าคนธรรมดา

จากการศึกษางานวิจัยเผยว่า คนที่ทำตัวแปลกๆหรือทำตัวประหลาดแตกต่างจากคนปกติ หรือคนที่มีคาแร็คเตอร์แปลกประหลาดแบบธรรมชาติของเขาเอง สามารถสร้างแรงดึงดูดต่อเพศตรงข้าม และทำให้มีโอกาสหาแฟนหรือคนรู้ใจได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ใครที่โสดมานานแล้วอยากสละโสด คงจะได้ฤกษ์สละโสดเร็วๆนี้แล้ว . ซึ่งผลวิจัยดังกล่าวข้างต้น อ้างอิงจากวารสารว่าด้วยบุคลิกภาพและจิตวิทยาสังคม (Personality and Social Psychology Bulletin) ของสหรัฐอเมริกา เป็นการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างทั้งชายและหญิง จากการเลือกเพศตรงข้ามที่สนใจผ่านเว็บไซต์หาคู่เดทออนไลน์ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างทั้งชายและหญิงต่างถูกใจในผู้ที่มีความแปลกกว่าคนทั่วไป ทั้งในเรื่องสไตล์เสื้อผ้า การแต่งตัว รสนิยม และทัศนคติ . บางท่านอาจสงสัยว่า

งานวิจัยเผย : ฝนตกทำให้คนเหงา เป็นเรื่องจริงไม่ได้มโนไปเอง

งานวิจัยเผย : ฝนตกทำให้คนเหงา เป็นเรื่องจริงไม่ได้มโนไปเอง

จากการศึกษาเรื่อง ทำไมฝนตกแล้วต้องเหงา หรือผลกระทบจากสภาพอากาศต่อสภาพจิตใจในเชิงวิทยาศาสตร์และจิตวิทยานั้นพบว่า ในช่วงที่ฝนตก สภาพอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งความชื้นในอากาศที่เพิ่มขึ้น อุณหภูมิที่ลดต่ำลง และแสงสว่างที่ลดน้อยลง ซึ่งอธิบายให้เห็นภาพที่สุดก็คงจะเป็นเรื่องของแสงสว่างที่ลดน้อยลงในวันที่ฝนตก เพราะร่างกายของมนุษย์มีสิ่งที่เรียกว่า นาฬิกาชีวภาพ (Circadian Rhythm) ที่คอยกำหนดการทำงานของสมองและร่างกายในแต่ละช่วงของวัน . ซึ่งแสงส่งผลได้อย่างชัดเจน สามารถนึกถึงอารมณ์เวลาที่ตื่นมาในวันที่มีแสงแดดแรง ท้องฟ้าสดใส และไม่ร้อนจนเกินไป กับวันที่ตื่นมาแล้วท้องฟ้าปกคลุมไปด้วยเมฆครึ้ม อารมณ์ความรู้สึกในวันนั้นก็แตกต่างกันไม่น้อย ซึ่งสิ่งนี้เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล เพราะการได้รับแสงแดดที่ไม่เพียงพอหรือน้อยลงในตอนเช้าส่งผลต่อการทำงานของนาฬิกาชีวภาพ ต่อเนื่องไปยังสมอง ทำให้สมองผลิตเซโรโทนิน

งานวิจัยเผย : วัยรุ่นที่มีแฟนเป็นซึมเศร้ามากกว่าวัยรุ่นที่โสด

งานวิจัยเผย : วัยรุ่นที่มีแฟนเป็นซึมเศร้ามากกว่าวัยรุ่นที่โสด

วัยรุ่นวัยใสที่ยังไม่มีแฟนหรือแทบจะไม่ได้ไปออกเดทกับใครเขา มักถูกมองว่าขาดเสน่ห์หรือเข้าสังคมได้ไม่ดีนัก แต่ในขณะที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาและพฤติกรรมวัยรุ่นในสหรัฐฯ เชื่อกันมานานว่า วัยรุ่นที่มีคู่คบหาดูใจจะมีโอกาสพัฒนาทักษะทางสังคมและวุฒิภาวะทางอารมณ์ได้ดีกว่าเพื่อนวัยเดียวกัน แต่แล้วความเชื่อนี้กำลังจะเปลี่ยนไป . เนื่องจากทีมนักวิจัยด้านสาธารณสุขจากมหาวิทยาลัยจอร์เจียของสหรัฐฯ ได้มีการตีพิมพ์ผลการศึกษาล่าสุดลงในวารสาร “สุขภาพในโรงเรียน” (Journal of School Health) โดยระบุว่า ผลการติดตามเก็บข้อมูลระยะยาวเป็นเวลา 7 ปีกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียน ตั้งแต่อยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ชี้ว่าวัยรุ่นที่ไม่ได้คบหาเป็นแฟนกับใครและไม่ค่อยได้ออกเดทนั้น ไม่ได้มีพัฒนาการทางจิตวิทยาตามวัยด้อยไปกว่าเพื่อนที่มีแฟน หนำซ้ำยังมีทักษะทางสังคมที่ดีกว่า และมีภาวะซึมเศร้าน้อยกว่าด้วย

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน . เนื่องจากการสำรวจพฤติกรรมการรับสื่อและทัศนคติต่อการรับชมโฆษณา-แคมเปญการตลาดของผู้บริโภคชาวไทยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ทางบริษัท นีลเส็น มีเดีย ประเทศไทย หนึ่งในบริษัทวิจัยสื่อ-การตลาดรายใหญ่ สามารถประมวลเป็นเทรนด์สำคัญที่จะส่งผลกับการสื่อสารและทำการตลาดของภาคธุรกิจในปี 2566 นี้ . พบว่า ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน และ 61% เลือกซื้อสินค้าที่เป็นสปอนเซอร์การแข่งขัน รวมถึง