เทคนิคในการหาหัวข้อวิจัยและการตั้งชื่อเรื่องวิจัย

    ชื่อเรื่องวิจัยนับเป็นจุดแรกที่จะดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน 

และทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในปัญหา รวมทั้งวิธีการดำเนินการวิจัย
ของผู้วิจัยอีกด้วย ดังนั้นการตั้งชื่อเรื่องวิจัยจึงต้องเขียนให้ชัดเจน เข้าใจง่าย
ไม่เขียนอย่างคลุมเครือ
****ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงต้องระมัดระวังในการตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้เหมาะสม ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้

  1. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้สั้น โดยใช้คำที่เฉพาะเจาะจง หรือสื่อความหมายเฉพาะเรื่อง และควรเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย กะทัดรัด แต่ชื่อเรื่องก็ไม่ควรจะสั้นเกินไปจนทำให้ขาดความหมายทางวิชาการ
  2. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้ตรงกับประเด็นของปัญหา เมื่อผู้อ่านอ่านแล้วจะได้ทราบว่าเป็นการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาอะไรได้ทันที อย่างตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ทำให้ผู้อ่านตีความได้หลายทิศทาง และอย่าพยายามทำให้ผู้อ่านเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเกินความเป็นจริง
  3. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยโดยการใช้คำที่บ่งบอกให้ทราบถึงประเภทของการวิจัย ซึ่งจะทำให้ชื่อเรื่องชัดเจน และเข้าใจง่ายขึ้น เช่น
    3.1 การวิจัยเชิงสำรวจ มักใช้คำว่า การสำรวจ หรือการศึกษาในชื่อเรื่องวิจัย
    หรืออาจระบุตัวแปรเลยก็ได้ เช่น การศึกษาการใช้สารเคมีของชาวอีสาน
    หรือการสำรวจการใช้สารเคมีของชาวอีสาน หรือการใช้สารเคมีของชาวอีสาน
    เป็นต้น
    3.2 การวิจัยเชิงศึกษาเปรียบเทียบ การตั้งชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะนี้
    มักจะใช้คำว่า การศึกษา เปรียบเทียบ หรือการเปรียบเทียบ นำหน้า เช่น
    การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านของนักเรียนในเขต
    และนอกเขตเทศบาล ของจังหวัดมหาสารคาม
    3.3 การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ การวิจัยประเภทนี้จะใช้คำว่า การศึกษา
    ความสัมพันธ์ หรือความสัมพันธ์ นำหน้าชื่อเรื่องวิจัย เช่น ความสัมพันธ์
    ระหว่างความขัดแย้งกับพ่อแม่และการปรับตัวของวัยรุ่น เป็นต้น
    3.4 การวิจัยเชิงการศึกษาพัฒนาการ การวิจัยประเภทนี้มักใช้คำว่า
    การศึกษาพัฒนาการหรือพัฒนาการ นำหน้าชื่อเรื่องวิจัย เช่น การศึกษา
    พัฒนาการด้านการเขียนของเด็กก่อนวัยเรียนในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม
    3.5 การวิจัยเชิงทดลอง การตั้งชื่อเรื่องวิจัยประเภทนี้อาจตั้งชื่อได้แตกต่างกัน
    ออกไปตามลักษณะของการทดลอง เช่น อาจใช้คำว่า การทดลอง การวิเคราะห์
    การสังเคราะห์ การศึกษา การเปรียบเทียบ ฯลฯ นำหน้า
    หรืฮอาจจะไม่ใช้คำเหล่านี้ นำหน้าก็ได้ เช่น การทดลองเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในจังหวัดอ่างทอง การวิเคราะห์หาปริมาณของกรดอะมิโนที่จำเป็นในปลายรากข้าวโพดหลังจากแช่ในสารละลายน้ำตาลชนิดต่าง ๆ การสังเคราะห์กรดไขมันจากอะเซติลโคเอ การศึกษาองค์ประกอบต่าง ๆ ในยางมะละกอ การเปรียบเทียบการสอนอ่านโดยวิธีใช้ไม่ใช้การฟังประกอบ การสกัดสารอินดิเคเตอร์จากดอกอัญชัน ฯลฯ
  4. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะของคำนาม ซึ่งจะทำให้เกิดความไพเราะ สละสลวยกว่าการใช้คำกริยานำหน้าชื่อเรื่อง เช่น แทนที่จะใช้คำว่า ศึกษา เปรียบเทียบ สำรวจ ก็ควรใช้คำที่มีลักษณะเป็นคำนามนำหน้า เช่น การศึกษา การเปรียบเทียบ การสำรวจ ฯลฯ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
    ไม่ดี : ศึกษาวงจรชีวิตของเห็บสุนัข
    ดีขึ้น : การศึกษาวงจรชีวิตของเห็บสุนัข
    ไม่ดี : เปรียบเทียบความเกรงใจระหว่างนักเรียนชายกับนักเรียนหญิงของโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองเลย
    ดีขึ้น : การเปรียบเทียบความเกรงใจระหว่างนักเรียนชายกับนักเรียนหญิงของโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองเลย
  5. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ประกอบด้วยข้อความเรียงที่สละสลวยได้ใจความสมบูรณ์ คือเป็นชื่อเรื่องที่ระบุให้ทราบตั้งแต่จุดมุ่งหมายของการวิจัย ตัวแปร และกลุ่มตัวอย่างที่จะศึกษาวิจัยด้วย เช่น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการสอบคัดเลือกกับเกรดเฉลี่ยสะสมและเจตคติต่อวิชาชีพครูของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2544
    อนึ่ง นักวิจัยบางท่านก็นิยมเขียนชื่อเรื่องวิจัยสั้น ๆ โดยไม่ได้ระบุรายละเอียดลงไป เช่น บุคลิกภาพของนักศึกษาครู เป็นต้น

และทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในปัญหา รวมทั้งวิธีการดำเนินการวิจัย
ของผู้วิจัยอีกด้วย ดังนั้นการตั้งชื่อเรื่องวิจัยจึงต้องเขียนให้ชัดเจน เข้าใจง่าย
ไม่เขียนอย่างคลุมเครือ
****ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงต้องระมัดระวังในการตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้เหมาะสม ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้

  1. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้สั้น โดยใช้คำที่เฉพาะเจาะจง หรือสื่อความหมายเฉพาะเรื่อง และควรเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย กะทัดรัด แต่ชื่อเรื่องก็ไม่ควรจะสั้นเกินไปจนทำให้ขาดความหมายทางวิชาการ
  2. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้ตรงกับประเด็นของปัญหา เมื่อผู้อ่านอ่านแล้วจะได้ทราบว่าเป็นการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาอะไรได้ทันที อย่างตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ทำให้ผู้อ่านตีความได้หลายทิศทาง และอย่าพยายามทำให้ผู้อ่านเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเกินความเป็นจริง
  3. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยโดยการใช้คำที่บ่งบอกให้ทราบถึงประเภทของการวิจัย ซึ่งจะทำให้ชื่อเรื่องชัดเจน และเข้าใจง่ายขึ้น เช่น
    3.1 การวิจัยเชิงสำรวจ มักใช้คำว่า การสำรวจ หรือการศึกษาในชื่อเรื่องวิจัย
    หรืออาจระบุตัวแปรเลยก็ได้ เช่น การศึกษาการใช้สารเคมีของชาวอีสาน
    หรือการสำรวจการใช้สารเคมีของชาวอีสาน หรือการใช้สารเคมีของชาวอีสาน
    เป็นต้น
    3.2 การวิจัยเชิงศึกษาเปรียบเทียบ การตั้งชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะนี้
    มักจะใช้คำว่า การศึกษา เปรียบเทียบ หรือการเปรียบเทียบ นำหน้า เช่น
    การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านของนักเรียนในเขต
    และนอกเขตเทศบาล ของจังหวัดมหาสารคาม
    3.3 การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ การวิจัยประเภทนี้จะใช้คำว่า การศึกษา
    ความสัมพันธ์ หรือความสัมพันธ์ นำหน้าชื่อเรื่องวิจัย เช่น ความสัมพันธ์
    ระหว่างความขัดแย้งกับพ่อแม่และการปรับตัวของวัยรุ่น เป็นต้น
    3.4 การวิจัยเชิงการศึกษาพัฒนาการ การวิจัยประเภทนี้มักใช้คำว่า
    การศึกษาพัฒนาการหรือพัฒนาการ นำหน้าชื่อเรื่องวิจัย เช่น การศึกษา
    พัฒนาการด้านการเขียนของเด็กก่อนวัยเรียนในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม
    3.5 การวิจัยเชิงทดลอง การตั้งชื่อเรื่องวิจัยประเภทนี้อาจตั้งชื่อได้แตกต่างกัน
    ออกไปตามลักษณะของการทดลอง เช่น อาจใช้คำว่า การทดลอง การวิเคราะห์
    การสังเคราะห์ การศึกษา การเปรียบเทียบ ฯลฯ นำหน้า
    หรืฮอาจจะไม่ใช้คำเหล่านี้ นำหน้าก็ได้ เช่น การทดลองเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในจังหวัดอ่างทอง การวิเคราะห์หาปริมาณของกรดอะมิโนที่จำเป็นในปลายรากข้าวโพดหลังจากแช่ในสารละลายน้ำตาลชนิดต่าง ๆ การสังเคราะห์กรดไขมันจากอะเซติลโคเอ การศึกษาองค์ประกอบต่าง ๆ ในยางมะละกอ การเปรียบเทียบการสอนอ่านโดยวิธีใช้ไม่ใช้การฟังประกอบ การสกัดสารอินดิเคเตอร์จากดอกอัญชัน ฯลฯ
  4. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะของคำนาม ซึ่งจะทำให้เกิดความไพเราะ สละสลวยกว่าการใช้คำกริยานำหน้าชื่อเรื่อง เช่น แทนที่จะใช้คำว่า ศึกษา เปรียบเทียบ สำรวจ ก็ควรใช้คำที่มีลักษณะเป็นคำนามนำหน้า เช่น การศึกษา การเปรียบเทียบ การสำรวจ ฯลฯ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
    ไม่ดี : ศึกษาวงจรชีวิตของเห็บสุนัข
    ดีขึ้น : การศึกษาวงจรชีวิตของเห็บสุนัข
    ไม่ดี : เปรียบเทียบความเกรงใจระหว่างนักเรียนชายกับนักเรียนหญิงของโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองเลย
    ดีขึ้น : การเปรียบเทียบความเกรงใจระหว่างนักเรียนชายกับนักเรียนหญิงของโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองเลย
  5. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ประกอบด้วยข้อความเรียงที่สละสลวยได้ใจความสมบูรณ์ คือเป็นชื่อเรื่องที่ระบุให้ทราบตั้งแต่จุดมุ่งหมายของการวิจัย ตัวแปร และกลุ่มตัวอย่างที่จะศึกษาวิจัยด้วย เช่น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการสอบคัดเลือกกับเกรดเฉลี่ยสะสมและเจตคติต่อวิชาชีพครูของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2544
    อนึ่ง นักวิจัยบางท่านก็นิยมเขียนชื่อเรื่องวิจัยสั้น ๆ โดยไม่ได้ระบุรายละเอียดลงไป เช่น บุคลิกภาพของนักศึกษาครู เป็นต้น

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

งานวิจัยเผย : คนที่ทำตัวแปลกๆ หาแฟนง่ายกว่าคนธรรมดา

งานวิจัยเผย : คนที่ทำตัวแปลกๆ หาแฟนง่ายกว่าคนธรรมดา

จากการศึกษางานวิจัยเผยว่า คนที่ทำตัวแปลกๆหรือทำตัวประหลาดแตกต่างจากคนปกติ หรือคนที่มีคาแร็คเตอร์แปลกประหลาดแบบธรรมชาติของเขาเอง สามารถสร้างแรงดึงดูดต่อเพศตรงข้าม และทำให้มีโอกาสหาแฟนหรือคนรู้ใจได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ใครที่โสดมานานแล้วอยากสละโสด คงจะได้ฤกษ์สละโสดเร็วๆนี้แล้ว . ซึ่งผลวิจัยดังกล่าวข้างต้น อ้างอิงจากวารสารว่าด้วยบุคลิกภาพและจิตวิทยาสังคม (Personality and Social Psychology Bulletin) ของสหรัฐอเมริกา เป็นการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างทั้งชายและหญิง จากการเลือกเพศตรงข้ามที่สนใจผ่านเว็บไซต์หาคู่เดทออนไลน์ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างทั้งชายและหญิงต่างถูกใจในผู้ที่มีความแปลกกว่าคนทั่วไป ทั้งในเรื่องสไตล์เสื้อผ้า การแต่งตัว รสนิยม และทัศนคติ . บางท่านอาจสงสัยว่า

งานวิจัยเผย : ฝนตกทำให้คนเหงา เป็นเรื่องจริงไม่ได้มโนไปเอง

งานวิจัยเผย : ฝนตกทำให้คนเหงา เป็นเรื่องจริงไม่ได้มโนไปเอง

จากการศึกษาเรื่อง ทำไมฝนตกแล้วต้องเหงา หรือผลกระทบจากสภาพอากาศต่อสภาพจิตใจในเชิงวิทยาศาสตร์และจิตวิทยานั้นพบว่า ในช่วงที่ฝนตก สภาพอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งความชื้นในอากาศที่เพิ่มขึ้น อุณหภูมิที่ลดต่ำลง และแสงสว่างที่ลดน้อยลง ซึ่งอธิบายให้เห็นภาพที่สุดก็คงจะเป็นเรื่องของแสงสว่างที่ลดน้อยลงในวันที่ฝนตก เพราะร่างกายของมนุษย์มีสิ่งที่เรียกว่า นาฬิกาชีวภาพ (Circadian Rhythm) ที่คอยกำหนดการทำงานของสมองและร่างกายในแต่ละช่วงของวัน . ซึ่งแสงส่งผลได้อย่างชัดเจน สามารถนึกถึงอารมณ์เวลาที่ตื่นมาในวันที่มีแสงแดดแรง ท้องฟ้าสดใส และไม่ร้อนจนเกินไป กับวันที่ตื่นมาแล้วท้องฟ้าปกคลุมไปด้วยเมฆครึ้ม อารมณ์ความรู้สึกในวันนั้นก็แตกต่างกันไม่น้อย ซึ่งสิ่งนี้เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล เพราะการได้รับแสงแดดที่ไม่เพียงพอหรือน้อยลงในตอนเช้าส่งผลต่อการทำงานของนาฬิกาชีวภาพ ต่อเนื่องไปยังสมอง ทำให้สมองผลิตเซโรโทนิน

งานวิจัยเผย : วัยรุ่นที่มีแฟนเป็นซึมเศร้ามากกว่าวัยรุ่นที่โสด

งานวิจัยเผย : วัยรุ่นที่มีแฟนเป็นซึมเศร้ามากกว่าวัยรุ่นที่โสด

วัยรุ่นวัยใสที่ยังไม่มีแฟนหรือแทบจะไม่ได้ไปออกเดทกับใครเขา มักถูกมองว่าขาดเสน่ห์หรือเข้าสังคมได้ไม่ดีนัก แต่ในขณะที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาและพฤติกรรมวัยรุ่นในสหรัฐฯ เชื่อกันมานานว่า วัยรุ่นที่มีคู่คบหาดูใจจะมีโอกาสพัฒนาทักษะทางสังคมและวุฒิภาวะทางอารมณ์ได้ดีกว่าเพื่อนวัยเดียวกัน แต่แล้วความเชื่อนี้กำลังจะเปลี่ยนไป . เนื่องจากทีมนักวิจัยด้านสาธารณสุขจากมหาวิทยาลัยจอร์เจียของสหรัฐฯ ได้มีการตีพิมพ์ผลการศึกษาล่าสุดลงในวารสาร “สุขภาพในโรงเรียน” (Journal of School Health) โดยระบุว่า ผลการติดตามเก็บข้อมูลระยะยาวเป็นเวลา 7 ปีกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียน ตั้งแต่อยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ชี้ว่าวัยรุ่นที่ไม่ได้คบหาเป็นแฟนกับใครและไม่ค่อยได้ออกเดทนั้น ไม่ได้มีพัฒนาการทางจิตวิทยาตามวัยด้อยไปกว่าเพื่อนที่มีแฟน หนำซ้ำยังมีทักษะทางสังคมที่ดีกว่า และมีภาวะซึมเศร้าน้อยกว่าด้วย

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน . เนื่องจากการสำรวจพฤติกรรมการรับสื่อและทัศนคติต่อการรับชมโฆษณา-แคมเปญการตลาดของผู้บริโภคชาวไทยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ทางบริษัท นีลเส็น มีเดีย ประเทศไทย หนึ่งในบริษัทวิจัยสื่อ-การตลาดรายใหญ่ สามารถประมวลเป็นเทรนด์สำคัญที่จะส่งผลกับการสื่อสารและทำการตลาดของภาคธุรกิจในปี 2566 นี้ . พบว่า ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน และ 61% เลือกซื้อสินค้าที่เป็นสปอนเซอร์การแข่งขัน รวมถึง