การเขียนบทความ
บทความวิชาการ (academic article) เป็นข้อเขียนเชิงสาระที่ผู้เขียนตั้งใจหยิบยกประเด็นใด ประเด็นหนึ่ง หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในแวดวงวิชาการ วิชาชีพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หรือวิพากษ์ ทัศนะหรือแนวคิดเดิม และหรือนาเสนอหรือเผยแพร่แนวคิดใหม่ เพื่อมุ่งให้ผู้อ่าน เปลี่ยนหรือปรับเปลี่ยน แนวคิด ความเชื่อมาสู่แนวคิดของผู้เขียน บทความวิชาการเน้นการให้ความรู้เป็นสำคัญและต้องอาศัยข้อมูล ทางวิชาการ เอกสารอ้างอิง และเหตุผลที่พิสูจน์ได้เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้อ่าน
วัตถุประสงค์ของการเขียนบทความวิชาการ วัตถุประสงค์ของการเขียนบทความวิชาการมีอยู่หลายประเด็นด้วยกัน ส่วนใหญ่แล้วจะต้องการให้ ผู้อ่านได้รับ ความรู้ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น แนวทางปฏิบัติวิธีการแก้ปัญหาข้อคิด แรงบันดาลใจ ข้อแนะนา ข้อเสนอแนะ ในการเขียนบทความวิชาการแต่ละครั้งผู้เขียนควรจะกำหนดวัตถุประสงค์ของการเขียนให้ชัดเจน ว่าต้องการให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากบทความในด้านใด เพราะในการเขียนบทความทางวิชาการถึงแม้จะ เป็นเรื่องเดียวกันแต่อาจมีวิธีการนาเสนอแตกต่างๆกัน หากผู้เขียนมีวัตถุประสงค์ในการเขียนต่างกัน
ในการกำหนดวัตถุประสงค์ของการเขียนบทความวิชาการนั้น ผู้เขียนจะต้องตอบคาถามตามหลัก 5 W 1 H ก่อนที่จะ ทำการเขียนบทความวิชาการเพื่อเป็นแนวในการกำหนดทิศทางของการเขียนและรูปแบบวิธีการนาเสนอ เนื้อหาในบทความวิชาการดังกล่าว โดย 5 W 1H ประกอบด้วย Who จะเขียนให้ใครอ่าน” ผู้เขียนบทความ วิชาการจะต้องทราบกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนว่าบทความดังกล่าวจะนาเสนอให้กลุ่มผู้อ่านที่เป็นกลุ่มหลักคือใคร เช่น พนักงานสอบสวน นักวิชาการ หรือประชาชนทั่ว ๆ ไป เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากจะได้กำหนดวิธีการนา เสนอและเรื่องได้เหมาะสมกับกลุ่มผู้อ่าน ตลอดจนเป็นแนวทางในการวางโครงเรื่องและการยกตัวอย่างใน เนื้อหาให้สอดคล้องกับผู้ผ่าน What จะเขียนเรื่องอะไร” หลังจากที่ได้กำหนดชัดเจนแล้วว่าจะเขียน บทความวิชาการให้กับใครอ่าน คาถามต่อมาที่ต้องตอบคือ จะเขียนเรื่องอะไร ซึ่งเรื่องที่จะเขียนจะต้อง สอดคล้องกับกลุ่มผู้อ่านด้วย Where จะเขียนเพื่อเผยแพร่ที่ไหน” สาหรับแหล่งที่จะเผยแพร่นั้นก็มี ความสำคัญ เพราะแหล่งเผยแพร่แต่ละแห่งจะมีวัตถุประสงค์เฉพาะหรือมีกลุ่มผู้อ่านเฉพาะ เช่น เผยแพร่ผ่าน วารสารวิชาการของมหาวิทยาลัย เผยแพร่ผ่านสื่อหนังสือพิมพ์หรือวารสารบันเทิงลักษณะการเขียนบทความ วิชาการจะต่างกัน นอกจากนี้รูปแบบการเขียน การอ้างอิง ลำดับหัวข้อของบทความที่เสนอผ่านแหล่งที่ แตกต่างกันก็แตกต่างกันด้วย When เวลาที่จะนาบทความลงเผยแพร่คือเมื่อใด” การรู้ช่วงเวลาที่จะ เผยแพร่บทความนับเป็นประเด็นสำคัญอีกประเด็นหนึ่ง เนื่องจากบทความบางเรื่องหากนาเสนอในช่วงเวลาที่ ไม่เหมาะก็อาจจะไม่ดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน
1) ชื่อเรื่อง (title) การกำหนดชื่อเรื่อง ต้องใช้ภาษาที่เป็นทางการ ชื่อเรื่องชัดเจน ตรงไปตรงมา และ ครอบคลุมประเด็นของเรื่องและมีความยาวไม่เกิน 100 ตัวอักษร ชื่อเรื่องจะต้องสื่อถึงเนื้อหาของเรื่อง ซึ่งต้อง มีลักษณะที่เจาะลึก ไม่กว้างเกินไป มีความใหม่และน่าสนใจสอดคล้องกับเวลาสถานการณ์
2) บทคัดย่อ (abstract) ควรเขียนให้สั้น กระชับ เน้นประเด็นสำคัญของงานที่ต้องการนาเสนอจริงๆ มีความยาวไม่เกิน 10 ถึง 15 บรรทัด โดยบทคัดย่อมักจะประกอบด้วยเนื้อหาสามส่วน คือ เกริ่นนำสิ่งที่ทำสรุปผลสำคัญที่ได้ ซึ่งอ่านแล้วต้องเห็นภาพรวมทั้งหมดของงาน ควรมีคำ
สำคัญอยู่ในบทคัดย่อเพื่อให้ระบบ สืบค้นฐานข้อมูลตรวจพบ และควรเขียนเป็นสิ่งสุดท้ายหลังจากเขียนส่วนอื่นทั้งหมดแล้ว
3) บทนำหรือคำนำ (introduction) ส่วนนำจะเป็นส่วนที่ผู้เขียนจูงใจให้ผู้อ่านเกิดความสนใจใน เรื่องนั้นๆ ซึ่งสามารถใช้วิธีการและเทคนิคต่างๆ ตามแต่ผู้เขียนจะเห็นสมควร เช่น อาจใช้ภาษาที่กระตุ้น จูงใจ ผู้อ่านหรือยกปัญหาที่กำลังเป็นที่สนใจขณะนั้นขึ้นมาอภิปราย หรือตั้งประเด็นคำถามหรือปัญหาที่ท้าทาย ความคิดของผู้อ่านหรืออาจจะกล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้อ่านจะได้รับจากการอ่าน เป็นต้น นอกจากจะเป็นส่วนที่ใช้ จูงใจผู้อ่านแล้ว ส่วนนำเป็นส่วนที่ผู้เขียนสามารถกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการเขียนบทความนั้น หรือให้คำชี้แจงที่มาของการเขียนบทความนั้น ๆ รวมทั้งขอบเขตของบทความนั้น เพื่อช่วยให้ผู้อ่านไม่คาดหวังเกิน ขอบเขตที่กำหนด นอกจากนั้นผู้เขียนอาจใช้ส่วนนานี้ในการปูพื้นฐานที่จะเป็นในการอ่านเรื่องนั้นให้แก่ผู้อ่าน หรือให้กรอบแนวคิดที่จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาสาระที่นาเสนอต่อไป บทนาประกอบด้วย
(1) หลักการและเหตุผล (rationale) หรือความเป็นมาหรือภูมิหลัง (Background) หรือ ความสำคัญของเรื่องที่เขียน (justification) หัวข้อนี้จะทาให้ผู้อ่านได้ทราบเป็นพื้นฐานไว้ก่อนว่าเรื่องที่เลือกมา เขียนมีความสำคัญหรือมีความเป็นมาอย่างไรเหตุผลใดผู้เขียนจึงเลือกเรื่องดังกล่าวขึ้นมาเขียน ในการเขียนบทนำในย่อหน้าแรกซึ่งถือว่าเป็นการเปิดตัวบทความทางวิชาการ และเป็นย่อหน้าที่ดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน
(2) วัตถุประสงค์ เป็นการเขียนว่าในการเขียนบทความในครั้งนี้ต้องการให้ผู้อ่านได้ทราบ เรื่องอะไรบ้าง โดยจานวนวัตถุประสงค์แต่ละข้อไม่ควรมีมากเกินไปและวัตถุประสงค์แต่ละหัวข้อจะต้อง สอดคล้องกับเรื่องหรือเนื้อหาของบทความ
(3) ขอบเขตของเรื่อง ที่ผู้เขียนต้องการจะบอกกล่าวให้ผู้อ่านทราบและเข้าใจตรงกัน เพื่อ เป็นกรอบในการอ่านโดยการเขียนขอบเขตนั้น อาจขึ้นอยู่กับปัจจัยในการเขียน ได้แก่ ความยาวของงานที่ เขียน หากมีความยาวไม่มากก็ควรกำหนดขอบเขตการเขียนให้แคบลงไม่เช่นนั้นผู้เขียนจะไม่สามารถนำเสนอ เรื่องได้ครบถ้วนสมบูรณ์และระยะเวลาที่ต้องรวบรวมข้อมูล การกำหนดเรื่องที่จะเขียนที่ลึกซึ้ง สลับซับซ้อน หรือเป็นเรื่องเชิงเทคนิคอาจจะยากต่อการรวบรวมข้อมูลและเรียบเรียงเนื้อเรื่อง ดังนั้นหากมีเวลาน้อยก็ควร พิจารณาเขียนเรื่องที่มีขอบเขตไม่กว้างหรือสลับซับซ้อนมากนัก
บทบาทของการวิจัยในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม
ในโลกที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การวิจัยเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ผู้บริโภค หรือการสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่ทำให้ชีวิตเราดีขึ้น 🌟 📊 ทำไมการวิจัยจึงสำคัญต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์: 🚀 การนำการวิจัยสู่การปฏิบัติ: การวิจัยไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือในการค้นหาคำตอบ แต่ยังเป็นกุญแจสำคัญสู่การสร้างนวัตกรรมและการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน ✨ 🗣 ติดต่อสอบถามปรึกษาปัญหาวิจัย 📲 📲 LINE: @THESISTH 📞 TEL: 063-207-3864 ✉️ INBOX: https://m.me/thesisthailand .