การเขียนบทคัดย่อ

การเขียนบทคัดย่อ
บทคัดย่อ (Abstract) หมายถึง ส่วนที่แสดงเนื้อหาสำคัญของเอกสาร หรือรายงานการวิจัย แบบย่อ โดยทั่วไปมักจะเขียนอยู่ต่อจากชื่อเรื่อง หรืองานวิจัยนั้น โดยเฉพาะสำหรับรายงานการวิจัย ต้องเขียนบทคัดย่อทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ Abstract
ลักษณะทั่วไปของบทคัดย่อ มีดังนี้
1. บทคัดย่อมาก่อนคำนำ และแยกให้ออกระหว่างคำนำกับบทคัดย่อ
2. ย่อทุก ๆ ส่วนของสัมมนา (คำนำย่อ เนื้อเรื่องย่อ สรุปย่อ) โดยเขียนสิ่งที่ผู้อ่านควรได้ทราบจากงานของเราโดยควรเรียงลำดับเช่นเดียวกับในเนื้อหาสัมมนา
3. เมื่อผู้อ่าน ๆ บทคัดย่อจบแล้ว ต้องมองภาพรวมของสัมมนาออก ส่วนรายละเอียดนั้น ผู้อ่านสามารถติดตามอ่านได้ในบทความสัมมนา
4. บทคัดย่อไม่ควรยาวจนเกินไป เพราะอาจทำให้เวลาในการอ่านส่วนอื่น ๆ ลดลง ในบทคัดย่อไม่มีตาราง รูปภาพ หรือการอ้างอิงใด ๆ
5. ไม่มีส่วนของข้อมูลหรือแนวคิดอื่น ที่อยู่นอกเหนือจากในเนื้อหาบทความสัมมนา
ประเภทของบทคัดย่อ : บทคัดย่อมี 2 ประเภทคือ
1. บทคัดย่อประเภทให้ข้อมูลความรู้ (Informative Abstract) เขียนเพื่อรายงานผลการศึกษา หรือบทสรุปที่ผู้ใช้ต้องการอย่างเพียงพอ เพื่อหลีกเลี่ยงความจำเป็นในการอ่านเอกสารต้นฉบับ
2. บทคัดย่อประเภทพรรณนา (Indicative of Descriptive Abstract) เขียนเพื่อชี้แนะข้อเท็จจริงที่สำคัญที่สุดในเอกสาร โดยปราศจากรายงานถึงผลการศึกษา ค้นคว้า หรือสรุป เพื่อให้ผู้อ่านใช้ประกอบการตัดสินใจ ว่าจะต้องอ่านหรือศึกษาเอกสารต้นฉบับหรือไม่ โดยทั่วไปนิยมใช้เขียนเพื่อสรุปเอกสารที่นำเสนอ หรือทัศนคติที่กว้างขวาง เช่น เอกสารด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือบทวิจารณ์ เป็นต้น
การเขียนบทคัดย่อมีหลักสำคัญ 3 ประการ ดังนี้
1. มีความสั้น กะทัดรัดและกระชับ (Concision) คือ เลือกเฉพาะสาระที่เป็นประเด็นใจความสำคัญของเอกสาร โดยใช้สำนวนที่กะทัดรัด มีความกระชับ หลีกเลี่ยงการใช้คำหรือประโยคที่มีความยาว หรือมีความซ้ำซ้อนความยาวของบทคัดย่อไม่มีกำหนดไว้ตายตัว ขึ้นอยู่กับชนิดของเอกสารและเนื้อหาสาระของเอกสารนั้น ๆ ว่า มีความสำคัญมากน้อยเพียงใด โดยทั่วไปบทคัดย่อจะมีเพียง 1 ย่อหน้า แต่สำหรับเอกสารงานวิจัยมีได้มากกว่า
2. มีความถูกต้อง (Precision) คือ สามารถถ่ายทอดประเด็นสำคัญของเอกสารได้อย่างถูกต้อง ตามความหมายเดิมของเอกสารต้นฉบับ ไม่ควรมีการตีความหรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ อันทำให้ผู้อ่านเข้าใจสาระของเอกสารต้นฉบับผิดไป
3. มีความชัดเจน (Clarity) การเรียบเรียงถ้อยคำเพื่อเสนอในบทคัดย่อจะต้องสื่อความหมายให้เข้าใจชัดเจน โดยใช้รูปประโยคที่สมบูรณ์ไม่ใช่เขียนกระท่อนกระแท่นเป็นคำ ๆ
การเขียนบทคัดย่องานวิจัย : การเขียนบทคัดย่อของงานวิจัยเป็นการเขียนบทคัดย่อประเภทให้ความรู้ (Informative Abstract) ซึ่งควรเขียนให้ประกอบด้วยส่วนสำคัญในเนื้อหาบทคัดย่อดังนี้ คือ
1. วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Purpose or Objective) : เป็นการอธิบายให้ทราบถึงจุดมุ่งหมายในการศึกษานั้นว่ามุ่งในเรื่องใดบ้าง และหากจำเป็นต้องกล่าวถึงปัญหาสำคัญหรือการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลการศึกษาวิจัยอย่างใกล้ชิด ก็อาจกล่าวไว้โดยย่อ
2. วิธีการ (Methodology) : เป็นการอธิบายขั้นตอน เทคนิค อุปกรณ์ เครื่องมือ ที่สำคัญในการศึกษาวิจัยนั้นโดยย่อ ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คุณภาพของเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
3. ผลและบทสรุป (Result and Conclusions) : เป็นการกล่าวถึงผลการค้นคว้าทดลอง สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และสมมติฐานของการวิจัย โดยการเขียนอย่างกะทัดรัด และให้ความรู้ ความเข้าใจมากที่สุด หากมีข้อกำหนดใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อความเที่ยงตรงของผลการวิจัย จะต้องชี้แจงไว้ด้วยส่วนบทสรุป โดยอธิบายความสำคัญของผลการค้นคว้าที่ดี ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้เบื้องต้น นอกจากนี้อาจมีข้อเสนอแนะ การประเมินผล และแนวทางการใช้ประโยชน์ที่สำคัญด้วย
เหตุใดที่ควรพยายามเขียนบทคัดย่อที่ดี ?
1. บทคัดย่อที่ดีกว่าจะได้รับความนิยมมากกว่า
2. การเขียนบทคัดย่อที่ดีจะช่วยเพิ่มทักษะทางภาษาและทักษะสำคัญอื่น ๆ ของคุณ
3. บทคัดย่อที่ดีจะช่วยให้คนอื่นสามารถเรียนรู้ เข้าใจ และขยายขอบเขตความรู้ของผู้อื่น
บทคัดย่อที่ดีและได้ผล เป็นอย่างไร?
1. ใช้โครงสร้างแบบ บทนำ-เนื้อความ-สรุป ที่เป็นการนำเสนอถึงหนังสือ/บทความที่ต้องการ เรียงตามลำดับเหตุการณ์ในหนังสือ/บทความอย่างเคร่งครัด
2. ตรวจให้แน่ใจว่าบทคัดย่อแบ่งเป็นย่อหน้าย่อย ๆ ที่มีความเป็นเอกภาพ สอดคล้องกัน รวบรัด และสามารถสื่อความได้เมื่ออยู่เดี่ยว ๆ
3. ใส่การเชื่อมต่อทางตรรกะระหว่างข้อมูลที่ให้มา
4. ใส่เครื่องหมายต่าง ๆ สำหรับจัดรูปแบบข้อมูลลงในบทคัดย่อของคุณด้วย เช่น ชื่อเรื่อง วรรค ตัวแบ่งบรรทัด ย่อหน้า สัญลักษณ์หัวข้อย่อย ตัวหนา ฯลฯ องค์ประกอบเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อให้ผู้อ่านสามารถอ่านเนื้อความได้อย่างสะดวกง่ายดาย
กล่าวโดยสรุป บทคัดย่อ เป็นการย่อสรุปผลงานวิจัยของผู้เขียนทั้งหมด (5 บท) สรุปย่อเหลือเพียง 1-2 หน้ากระดาษ ทั้งนี้เพื่อสื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจ รับรู้ สื่อความหมายโดยภาพรวมทั้งหมดของงานวิจัย

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

บทบาทของการวิจัยในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม

บทบาทของการวิจัยในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม

ในโลกที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การวิจัยเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ผู้บริโภค หรือการสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่ทำให้ชีวิตเราดีขึ้น 🌟 📊 ทำไมการวิจัยจึงสำคัญต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์: 🚀 การนำการวิจัยสู่การปฏิบัติ: การวิจัยไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือในการค้นหาคำตอบ แต่ยังเป็นกุญแจสำคัญสู่การสร้างนวัตกรรมและการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน ✨ 🗣 ติดต่อสอบถามปรึกษาปัญหาวิจัย 📲 📲 LINE: @THESISTH 📞 TEL: 063-207-3864 ✉️ INBOX: https://m.me/thesisthailand .

เทคโนโลยีและสุขภาพจิต: ความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนในโลกดิจิทัล

เทคโนโลยีและสุขภาพจิต: ความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนในโลกดิจิทัล

ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกด้านของชีวิต การเชื่อมต่อกับโลกดิจิทัลได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและสุขภาพจิตของเราอย่างไม่รู้ตัว 🌐 📊 ผลกระทบที่เราเห็นได้ชัด: มาร่วมสร้างความสมดุลระหว่างเทคโนโลยีและสุขภาพจิตของเรา 🌿✨ 🗣 ติดต่อสอบถามปรึกษาปัญหาวิจัย 📲 📲 LINE: @THESISTH 📞 TEL: 063-207-3864 ✉️ INBOX: https://m.me/thesisthailand . #วิจัยตัวร้าย #รับทำวิจัย #รับทำการบ้าน #วิจัยปี4 #วิจัยปโท

งานวิจัย เผย คนไทยส่วนใหญ่ มักคลายเครียดด้วยการกิน

งานวิจัย เผย คนไทยส่วนใหญ่ มักคลายเครียดด้วยการกิน

ผลการวิจัยล่าสุดเผยว่า คนไทยส่วนใหญ่มักเลือกการ “กิน” เป็นวิธีคลายเครียดหลัก ไม่ว่าจะเป็นอาหารจานด่วน ขนมหวาน หรือเครื่องดื่มรสชาติอร่อย เพราะเมื่อเครียด อาหารก็กลายเป็นเพื่อนที่ดีที่สุด 😋 🍕 1. อาหารจานด่วน คำตอบของความเครียดไม่ว่าจะเป็นพิซซ่า เบอร์เกอร์ หรือเฟรนช์ฟรายส์ อาหารจานด่วนเป็นที่นิยมในหมู่คนที่ต้องการผ่อนคลายความเครียด ด้วยความสะดวกและรสชาติที่ตอบโจทย์ ทำให้หลายคนรู้สึกดีขึ้นทันที 🍰 2. ขนมหวาน ตัวช่วยผ่อนคลายใจของหวาน เช่น ช็อกโกแลต

การสร้างสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว (Work-Life Balance)

การสร้างสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว (Work-Life Balance)

การจัดการชีวิตให้มีความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัวเป็นสิ่งสำคัญสำหรับความสุขและความสำเร็จในระยะยาว ทั้งเรื่องการทำงานให้เต็มที่ และการใช้เวลาเพื่อตัวเองและครอบครัว 🌟 ✨ เคล็ดลับง่ายๆ ในการสร้างสมดุล: การสร้างสมดุลในชีวิตไม่ได้แค่ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ยังช่วยให้คุณมีความสุขในทุกๆ วันอีกด้วย 💖😊 🗣 ติดต่อสอบถามปรึกษาปัญหาวิจัย 📲 📲 LINE: @THESISTH 📞 TEL: 063-207-3864 ✉️ INBOX: https://m.me/thesisthailand . #วิจัยตัวร้าย