จะเริ่มคิดหัวข้อการวิจัย (แล้วนะ)

จะเริ่มคิดหัวข้อการวิจัย (แล้วนะ)
PUBLISHED ON พฤษภาคม 29, 2011
ปัญหาใหญ่คือ จะเริ่มยังไง .. จะออกแบบการวิจัย (Research Design) อย่างไร จึงจะได้เป็น Ph.D. Candidate (กับเขาสักที)

คิดคร่าวๆก่อนว่าจะทำวิจัยเรื่องอะไรดี
เรื่องที่จะทำ สำคัญอย่างไร ทำไมต้องทำ ทำแล้วคนจะสนใจมั๊ย ?
ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ทบทวนวรรณกรรม (review literature) เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม ให้ครอบคลุมเรื่องที่จะทำ อ่านเยอะๆ อ่านแล้วต้องสังเคราะห์งานวิจัยให้เป็น
หาให้เจอว่า อะไรคือ โจทย์วิจัย (ปัญหาวิจัย / คำถามวิจัย)
กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย (กำหนดโดยเอาคำถามวิจัยเป็นตัวตั้ง เพื่อบอกจุดมุ่งหมายในการทำวิจัยครั้งนี้ ว่าทำไปเพื่ออะไร ..เช่น เพื่อสำรวจ เพื่อเปรียบเทียบ เพื่ออธิบาย เพื่อประเมิน เพื่อพัฒนา ฯลฯ)
เรามีปรัชญาและกระบวนทัศน์ (paradigm) ของการวิจัยเป็นอย่างไร (ภววิทยา Ontology / ญาณวิทยา Epistemology / วิธีวิทยา Methodology) และจะเลือกใช้ทฤษฎีหลักอะไรเป็นเครื่องชี้นำ เพื่อสร้างกรอบแนวคิดหรือโมเดลการวิจัย (research framework / model)
กรอบความคิดในการวิจัย ไม่ใช่กรอบความคิดเชิงทฤษฎี (theoritical framework) เพราะมันจะแคบกว่า เนื่องจากเราจำกัดขอบเขตของการวิจัยลงมา แต่ต้องอธิบายได้ว่า แม้จะแคบกว่าที่ควรจะเป็น แต่ก็ไม่ทำให้เกิดผลเสียต่อการวิจัย
กำหนดวิธีการวิจัย จะเลือกใช้ระเบียบวิธีวิจัย (research methodologies) หรือแนวทางการวิจัย (research approaches) แบบใด ทำไมถึงเลือกวิธีนี้ และจะใช้วิธีวิจัย (research methods) อะไรบ้าง จะสุ่มตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลจากใครที่ไหน จะใช้วิธีอะไรในการจัดการข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล การออกแบบงานวิจัยถึงจะน่าเชื่อถือ และมีความรอบคอบ
จะเอางบประมาณที่ไหนมาทำวิจัย จะมั่นใจได้อย่างไรว่างานวิจัยนี้จะสำเร็จ จะเสร็จเมื่อไหร่ ทำแผนปฏิบัติการแบบ Action Plan มาด้วย
ที่ขาดไม่ได้ สมัยนี้ คือระบุจริยธรรมหรือจรรยาบรรณ (ethics) ที่ใช้ในการวิจัย
คาดว่าเราจะค้นพบอะไรจากการวิจัยครั้งนี้ ?
สุดท้าย น่าจะได้ข้อเสนอโครงการวิจัย (research proposal) หรือข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก (Candidacy) ขึ้นมาสักฉบับ
การเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกทางสังคมศาสตร์ มีผู้รู้บอกว่า เราควรเลือกทำเรื่องที่เราถนัด มีประสบการณ์มาบ้างแล้ว เป็นเรื่องที่เราให้ความสนใจ หรือเป็นปัญหาที่เราอยากหาคำตอบ เพราะจะทำให้เรามีแรงจูงใจและมีความพยายามที่จะทำวิจัย จะให้ดีควรเกี่ยวข้องกับงานประจำของเรา หน่วยงานต้นสังกัดให้การสนับสนุน (อยากได้ผลการวิจัยของเราไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนา แก้ปัญหา หรือป้องกันปัญหาในอนาคตขององค์กร) แต่เนื่องจากตอนนี้เรายังมีความรู้ไม่มากพอ ดังนั้น ต้องอ่าน paper ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ การ review literature มากๆ ในที่สุดจะทำให้เกิด idea ในการคิดโจทย์วิจัย

งานวิจัยระดับปริญญาเอกนั้น ทำแล้วต้องมีผลกระทบในทางปฏิบัติต่อสังคมหรือชุมชนในวงกว้าง เช่น มีส่วนสำคัญที่จะนำไปแก้ปัญหาประเทศได้ หรือมีผลกระทบต่อวิชาการ เช่นสร้างแนวคิดทฤษฎีหรือองค์ความรู้ใหม่ ที่ยังไม่เคยมีใครคิดมาก่อน .. ฟังแล้วจะเรียนจบมั๊ยนะ ??

บรรณานุกรม
นงลักษณ์ วิรัชชัย. ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methods). เอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องวิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา, 2545.
จำเนียร จวงตระกูล. การวิจัยเชิงคุณภาพ: เครื่องมือสร้างองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพ : บริษัทศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด, 2554.
Creswell, John. W. Research Design: Qualitative, Quantitative and Mixed Methods Approaches, 3rd ed, Thousand Oaks, Calif. : Sage, c2009.

แบ่งปันสิ่งนี้:

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

การเรียนและสมาธิ เป็นของคู่กัน

การเรียนและสมาธิ เป็นของคู่กัน

✨เนื่องจากสมาธิเป็นทักษะที่สำคัญในการเรียนและการศึกษา เพื่อให้เราสามารถเน้นความสำคัญและให้ความร่วมมือในกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ———————- 👉 และนี่คือข้อแนะนำเกี่ยวกับสมาธิและการเรียนที่เรานำมาฝากเพื่อนๆค่ะ : 1. การเพิ่มสมาธิ: สมาธิสามารถเพิ่มความจำของเรา การทำสมาธิส่งผลให้เรามีความตั้งใจในการเรียนและสามารถรับรู้ข้อมูลได้ดีกว่า 2. การลดความรู้สึกเครียด: การมีสมาธิสามารถช่วยลดความรู้สึกเครียดที่เกิดจากการเรียนหรือการสอบ เมื่อเราสามารถรักษาสมาธิในขณะที่เรียน จะช่วยให้เราสามารถรับมือกับแรงกดดันและความยากลำบากในการเรียนได้ดีขึ้น 3. การเพิ่มความตั้งใจ: สมาธิช่วยให้เรามีความตั้งใจในการเรียน รูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการสมาธิช่วยให้เราสามารถใช้เวลาและทรัพยากรในการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ เช่นการกำหนดเป้าหมายเพื่อให้ตัวเองมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ 4. การเพิ่มความระมัดระวัง: สมาธิช่วยให้เรามีความระมัดระวังในการเรียน สามารถตระหนักถึงสิ่งที่เรากำลังเรียนรู้ ช่วยให้เราสามารถจับต้องและเข้าใจข้อมูลได้อย่างถูกต้อง

เคล็ดลับการเพิ่มความคิดสร้างสรรค์

เคล็ดลับการเพิ่มความคิดสร้างสรรค์

ความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในศิลปะหรือการออกแบบเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาอย่างมีนวัตกรรมในหลายๆ ด้านของชีวิต 🌟 นี่คือเคล็ดลับที่จะช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ในตัวคุณ! การเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ภายในคืนเดียว แต่เป็นกระบวนการที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 💡 ด้วยเคล็ดลับเหล่านี้ คุณจะสามารถปลดล็อกศักยภาของความคิดสร้างสรรค์ในตัวคุณและสนุกกับการสร้างสรรค์ในทุกด้านของชีวิต! – – – – – – – – – – – – – – –

เทคนิคในการเริ่มเขียนวิจัย

เทคนิคในการเริ่มเขียนวิจัย

🍄 อาจจะมีเพื่อนบางคนใช้เวลาในการทำวิจัยนานมาก ตั้งแต่การเริ่มต้นทำ ระยะเวลาระหว่างทำ กว่าจะแก้ไข กว่าจะสอบผ่าน เรามาเตรียมตัวตั้งแต่ขั้นตอนในการ “เริ่มต้นเขียนวิจัย” กันดีกว่า เพราะการเริ่มต้นนั้นยากที่สุดเสมอ พอเราได้เริ่มแล้วขั้นตอนต่อ ๆ ไปจะเริ่มตามมาเอง! 💙 พูดคุย / ระดมสมองเพื่อหาไอเดีย เริ่มต้นด้วยการลองพูดคุยกับเพื่อน ๆ ว่ากำลังสนใจที่จะทำในหัวข้อไหน ประเด็นสำคัญที่ต้องเน้นในส่วนเนื้อหา การเก็บรวบรวมข้อมูล ผลลัพธ์ที่คาดหวัง เหตุผลที่ต้องการศึกษาในปัญหานี้ เพื่อเป็นการแชร์ไอเดีย

ทำงานวิจัยไม่ทัน!!!!

ทำงานวิจัยไม่ทัน!!!!

😵‍😓 “ทำงานประจำควบคู่เรียนต่อ” “งานวิจัยมีแก้ไขเยอะมาก” “ทำวิจัยไม่เป็น ไม่รู้จะใช้วิธีการไหน” คุณกำลังประสบปัญหานี้อยู่หรือเปล่าคะ❓ . ถ้าใช่! คุณมาถูกทางแล้วล่ะ 😊 ะเรามีบริการเกี่ยวกับวิจัย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ IS ทำแบบสอบถาม Assignment และอื่น ๆ อีกมากมาย พร้อมที่จะช่วยเหลืองานวิจัยของคุณ . ⏰อย่าปล่อยให้เวลาทำงานเหลือน้อย ติดปัญหาในส่วนไหนทักแชทสอบถามเราเลย ด้วยประสบการณ์การทำงานหลายหมื่นชิ้น และทีมงานหลากหลายสาขาวิชา