ลักษณะของสมมติฐานวิจัยที่ดี
การเขียนสมมติฐานนั้น ผู้วิจัยต้องมีอุปกรณ์ของความคิดและข้อเท็จจริงต่างๆ มากพอเพื่อที่ให้ สมมติฐานแต่ละข้อมีอำนาจในการพยากรณ์สูง ฉะนั้น การเขียนสมมติฐานจะต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ จินตนาการ การอ่านอย่างกว้างขวาง ตลอดจนมีการทดลองวิจัย (Pilot Study) แล้วน าข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ และใช้หลักตรรกศาสตร์สังเคราะห์ขึ้นเป็นสมมติฐาน สมมติฐานที่ดีจึงควรมีลักษณะดังนี้
- สมมติฐานที่ดีต้องอธิบาย หรือตอบคำถามได้หมด และอยู่ในรูปแบบที่สามารถสรุปได้ว่าจะ สนับสนุนหรือคัดค้านได้
- สมมติฐานที่ดีจะต้องสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป ใช้เทคนิคที่สามารถวัดได้ และเป็นเทคนิคที่มีอยู่แพร่หลาย ใช้กันในวงกว้าง
- ภาษาที่ใช้ในการเขียนต้องเข้าใจง่าย ทั้งในแง่ภาษา เหตุผล และวิธีการที่จะตรวจสอบ
- สมมติฐานที่ดีต้องสามารถทดสอบได้ด้วยข้อมูล หรือหลักฐาน
- สมมติฐานที่ดีต้องสมเหตุสมผลตามทฤษฎี และความรู้พื้นฐาน และจ ากัดขอบเขตของการ ตรวจสอบได้ สมมติฐานหนึ่งข้อ จึงควรใช้คำถามเพียงหนึ่งข้อเท่านั้น
- สมมติฐานที่ดีต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายการวิจัย
- สมมติฐานที่ดีต้องมีอำนาจการพยากรณ์สูง นั่นคือ สมมติฐานนั้นควรน าไปใช้อธิบายสภาพการณ์ที่ คล้ายๆ กันได้
อ้างอิง รศ.พ.ต.อ.หญิง ดร.พัชรา สินลอยมา* • อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่มา : ajarnpat.com/data/document_study02.doc