หากคุณเป็นนักศึกษาที่พึ่งเริ่มเรียนปริญญาโท และไม่เคยทำการวิจัยมาก่อน สิ่งที่คุณต้องรู้คือก่อนจะจบการศึกษาได้นั้นคุณจะต้องทำวิทยานิพนธ์ซึ่งก็คือ เล่มรายงานการวิจัยเรื่องที่เรียบเรียงขึ้นจาก การศึกษาค้นคว้าวิจัยอย่างละเอียดและรอบคอบที่เกี่ยวข้องกับคณะและสาขาที่คุณศึกษา
สำหรับนักศึกษาปี 1 คุณยังมีเวลาเตรียมตัว และบทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจสิ่งที่ต้องรู้เบื้องต้น ก่อนเริ่มการทำวิจัยในปีที่สองค่ะ
การวิจัย (Research) คือ วิธีการหนึ่งที่ใช้ค้นหาสาเหตุหรือที่มาของปัญหาอย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบ
ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) คือ วิธีการค้นหาคำตอบจะทำเป็นกระบวนการ ใช้ค้นหาคำตอบ เป็นแบบแผนของการวิจัย ที่เริ่มตั้งแต่ การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการนำเสนอข้อมูลอย่างมีขั้นตอน
ทฤษฎี (Theory) คือ ผลของการวิจัยที่น่าเชื่อถือจะต้องอาศัยเครื่องมือในการพิสูจน์ ใช้พิสูจน์คำตอบ
ทฤษฎีกับงานวิจัย เป็นเครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการอธิบายเหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น อย่างมีเหตุผล ตั้งแต่ขั้นตอน การวางแผน และออกแบบงานวิจัย (Research design) และขั้นตอนการอธิบายคำตอบหรือสนับสนุนคำตอบของงานวิจัย
ระเบียบวิธีวิจัยเชิงทดลอง (Experiment Research Methodology) เป็นการวิจัยที่ต้องทำในห้องทดลองหรือห้องปฏิบัติการ
ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research Methodology) เป็นการวิจัยที่อาศัยข้อมูลที่มีอยู่แล้วโดยมีผู้สำรวจไว้แล้ว หรือผู้วิจัยทำการสำรวจเอง
ประเภทของการวิจัย (Type of Research)
1. การวิจัยแบบทดลอง (Experimental Research) เป็นการวิจัยที่มีการควบคุมลักษณะบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์หนึ่งไว้เพื่อดูผลว่าจะเป็นอย่างไร
2. การวิจัยแบบบรรยาย (Descriptive Research) เป็นการวิจัยที่ต้องอาศัย การรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาอธิบายหรือสรุปผลปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
3. การวิจัยประวัติศาสตร์ (Historical Research) เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงในอดีต ซึ่งจะเน้นหนักในการตรวจสอบ เป็นอะไรในอดีต
4. การวิจัยปัจจุบัน (Current Research) เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาความจริง/สาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นอะไรในปัจจุบัน
ขั้นตอนการทำวิจัย:
1. กำหนดเรื่อง/หัวข้อที่จะทำวิจัย Research Headline
1.1 เลือกปัญหา
- แนวทางในการเลือกปัญหาเพื่อทำวิจัย
- เรื่องที่ควรทำวิจัย
- การตั้งชื่อเรื่องงานวิจัย
1.2 วิเคราะห์ปัญหา = เหตุ QUES เขต ข้อง คำ คาด
- ที่มาของปัญหา สิ่งที่ต้องการทราบจากการวิจัย
- ขอบเขตการวิจัย
- สิ่งที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย(ทฤษฎีที่จะนำมาใช้ในงานวิจัย)
- ข้อความหรือคำที่เป็นปัญหา
- คาดคะเนผลการวิจัย
2. วางแผนงานและออกแบบงานวิจัย Plan & Design
2.1 ระเบียบวิธีวิจัย
2.2 เครื่องมือวิธีวิจัย
2.3 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
2.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
2.5 แผนการดำเนินการ
2.6 เขียนโครงการ
- บทนำ
- ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
- วัตถุประสงค์ของการวิจัย
- สมมติฐานของการวิจัย
- ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- ขอบเขตของการวิจัย
- ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
- ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
- นิยามศัพท์เฉพาะ
- แนวคิดและทฤษฎี ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
- ตัวแบบ/กรอบคิดในการวิจัย
- ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้
- รูปแบบการวิจัย (ระเบียบวิธีวิจัย)
- เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล วิธีการเลือกตัวอย่าง
- วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
- เอกสารอ้างอิง
3. เก็บรวบรวมข้อมูล
3.1 เตรียมการ สร้างเครื่องมือ/ออกแบบสอบถาม จัดทำคู่มือการลงรหัส
3.2 ปฏิบัติการ ในห้องทดลอง/ภาคสนาม
4. วิเคราะห์ข้อมูล ***
4.1 วิเคราะห์ข้อมูลขั้นต้น การบรรยายลักษณะกลุ่มตัวอย่าง
4.2 วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อตอบวัตถุประสงค์/ทดสอบสมมติฐาน
N | Things of Analysis | Research Outline |
1 | เหตุที่มาของงานวิจัย | ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา |
2 | สิ่งที่ต้องการทราบจากการวิจัย (Research Question) | วัตถุประสงค์ของการวิจัย ประโยชน์ (Research Objective) |
3 | ขอบเขตของการวิจัย | ประชากร ตัวอย่าง |
4 | สิ่งที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย | ตัวแปรในการวิจัย กรอบแนวคิด |
5 | ข้อความหรือคำที่เป็นปัญหา | นิยามศัพท์เฉพาะ |
6 | คาดคะเนผลการวิจัย | สมมติฐานของการวิจัย (Research Hypothesis) |
5. เขียนรายงานการวิจัย
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 ทบทวนวรรณกรรม
บทที่ 3 สมมติฐานและตัวแบบงานวิจัย
บทที่ 4 ระเบียบวิธีวิจัย
บทที่ 5 รายงานผลการวิจัย เสนอผลการวิเคราะห์ และอธิบายสรุปไม่ใส่ความคิดเห็น
บทที่ 6 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
- สรุปผลการวิจัย
- จุดมุ่งหมาย
- วิธีการวิจัย
- ผลการวิจัย หรือสิ่งที่ค้นพบจากการวิจัย
- อภิปรายผล สิ่งที่พบโดยยึดทฤษฎีเป็นแนวทาง
- ข้อเสนอแนะ การใช้ผลการวิจัย สิ่งที่อาจจะทำวิจัยเพิ่มเติม
- เอกสารอ้างอิง
- ไอ-ที-ไฮ-เม็ด-รี-คอน-แอบ
สรุป
ประเภทของการออกแบบการวิจัย (Types of research design)
(1) การวิจัยเชิงสำรวจ (Exploratory research) เป็นการวิจัยเพื่อทำให้ปัญหาชัดเจน และกำหนดลักษณะของปัญหา กล่าวคือทำให้ลักษณะของปัญหาที่คลุมเครือชัดเจนขึ้น มีจุดมุ่งหมาย 3 ประการ
– การวิเคราะห์สถานการณ์ (Diagnosing a situation)
– การกลั่นกรองทางเลือก (Screening alternatives)
– การค้นหาความคิดใหม่ (Discovering new ideas)
(2) การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) เป็นการวิจัยที่ออกแบบเพื่ออธิบายถึงลักษะของประชากรหรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง
(3) การวิจัยเชิงเหตุผล (Causal research) เป็นการวิจัยเพื่อระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเหตุ และผล (Cause-and-effect relationships)
(4) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เป็นการวิจัยที่ศึกษาวิเคราะห์ด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพ รวบรวมได้จากสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง มีลักษณะขึ้นกับผู้ตอบ การวัดขึ้นอยู่กับการประเมินของผู้วิจัยมากกว่าการวิเคราะห์
Credit: https://bit.ly/3dcd55o
#เรียนวิจัย #รับติวสอบ #รับปรึกษางานวิจัย #ทำdissertation #ทำthesis #ทำวิทยานิพนธ์ #ทำวิทยานิพนธ์ปตรี #ทำวิทยานิพนธ์ปโท #ทำวิทยานิพนธ์ปเอก #สอนโปรแกรมSPSS #รับทำงานวิจัย #ที่ปรึกษางานวิจัย #รับทำดุษฎีนิพนธ์ #รับติววิทยานิพนธ์ #รับติวธีสิส #รับติวสารนิพนธ์ #รับติววิจัย #รับติวงานวิจัย #รับสอนวิทยานิพนธ์ #รับสอนธีสิส #รับสอนสารนิพนธ์ #รับสอนวิจัย #รับสอนงานวิจัย #รับปรึกษาวิทยานิพนธ์ #รับปรึกษาธีสิส #รับปรึกษาสารนิพนธ์ #รับปรึกษาวิจัย #รับปรึกษางานวิจัย #รับติววิทยานิพนธ์ปตรี #รับติววิทยานิพนธ์ปโท #รับติววิทยานิพนธ์ปเอก #รับสอนวิทยานิพนธ์ปตรี #รับสอนวิทยานิพนธ์ปโท #รับสอนวิทยานิพนธ์ปเอก #รับปรึกษาวิทยานิพนธ์ปตรี #รับปรึกษาวิทยานิพนธ์ปโท #รับปรึกษาวิทยานิพนธ์ปเอก #สอนทำวิจัย ##รับสอนดุษฎีนิพนธ์ #รับติวดุษฎีนิพนธ์ #รับปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ #ปรึกษาวิทยานิพนธ์ #ปรึกษาวิจัย #ปรึกษางานวิจัย #ทำวิจัยปโท #phdthesis #หัวข้อวิทยานิพนธ์ #รับทำdissertation #บริษัทรับทำวิจัย #รับเขียนบทความวิชาการ #thesiswriter #spssราคา #ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ #ทำวิจัยพยาบาล #รับปรึกษาวิจัย #ราคารับทำงานวิจัย