งานหลักของอาจารย์มหาวิทยาลัยไม่ว่าจะเป็นประเทศไหน ๆ ก็ไม่ต่างกันคือ วิจัย สอน และบริการทางวิชาการ สัดส่วนการแบ่งงานทั้ง 3 ด้านมีความแตกต่างกันไปในแต่ละมหาวิทยาลัย งานสอนในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมากจากในอดีต ด้วยเนื้อหาวิชาและองค์ความรู้ต่าง ๆ อยู่ในรูปสื่อดิจิทัลเป็นส่วนใหญ่หรืออยู่ในแหล่งที่สืบค้นได้สะดวก ประกอบกับรูปแบบการเรียนและการใช้ชีวิตของผู้เรียนในยุคดิจิทัลทำให้การสอนแบบที่อาจารย์นำเนื้อหาจากหนังสือมาบรรยายหน้าชั้นเรียนโดยตรงจึงแทบจะไม่มีให้เห็นแล้ว
วันหนึ่ง บ.ก. ได้มีโอกาสดูแลรักษาอาจารย์ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งในธรรมศาสตร์ ท่านกล่าวไว้ประโยคหนึ่งสั้น ๆ แต่กินใจว่า “อาจารย์มหาวิทยาลัยถ้าไม่ทำวิจัยจะเอาอะไรมาสอน” นั่นหมายความว่าอาจารย์ต้องทำการบ้านอย่างหนักในการเตรียมเอกสารคำสอน โดยการสืบค้น วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง กระบวนการดังกล่าวเป็นขั้นตอนเริ่มต้นที่สำคัญในการทำงานวิจัย ซึ่งหากทำได้อย่างเป็นระบบและครอบคลุมก็จะได้หัวข้อวิจัยที่มีความทันสมัยน่าสนใจและตอบโจทย์ของสังคม ที่สำคัญเป็นงานวิจัยที่ Original
และเมื่อผ่านการเขียนรายงานอย่างมีมาตรฐานก็สามารถตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่มีคุณภาพทั้งในและต่างประเทศ บทความวิจัยที่ดีก็ควรปรากฎอยู่ในวารสารที่มีคุณภาพ อยู่ใน Quartile ระดับต้น ๆ หรือมีค่า Impact Factor สูง ๆ ตามแต่ละสาขาวิชา เพื่อให้มีผู้สนใจเข้าไปอ่านและอ้างอิงบทความ (Citation) ได้มาก นี่เป็นศาสตร์และศิลป์ของการสอนและวิจัยที่อาจารย์ต้องทุ่มเท
การเรียนและสมาธิ เป็นของคู่กัน
✨เนื่องจากสมาธิเป็นทักษะที่สำคัญในการเรียนและการศึกษา เพื่อให้เราสามารถเน้นความสำคัญและให้ความร่วมมือในกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ———————- 👉 และนี่คือข้อแนะนำเกี่ยวกับสมาธิและการเรียนที่เรานำมาฝากเพื่อนๆค่ะ : 1. การเพิ่มสมาธิ: สมาธิสามารถเพิ่มความจำของเรา การทำสมาธิส่งผลให้เรามีความตั้งใจในการเรียนและสามารถรับรู้ข้อมูลได้ดีกว่า 2. การลดความรู้สึกเครียด: การมีสมาธิสามารถช่วยลดความรู้สึกเครียดที่เกิดจากการเรียนหรือการสอบ เมื่อเราสามารถรักษาสมาธิในขณะที่เรียน จะช่วยให้เราสามารถรับมือกับแรงกดดันและความยากลำบากในการเรียนได้ดีขึ้น 3. การเพิ่มความตั้งใจ: สมาธิช่วยให้เรามีความตั้งใจในการเรียน รูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการสมาธิช่วยให้เราสามารถใช้เวลาและทรัพยากรในการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ เช่นการกำหนดเป้าหมายเพื่อให้ตัวเองมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ 4. การเพิ่มความระมัดระวัง: สมาธิช่วยให้เรามีความระมัดระวังในการเรียน สามารถตระหนักถึงสิ่งที่เรากำลังเรียนรู้ ช่วยให้เราสามารถจับต้องและเข้าใจข้อมูลได้อย่างถูกต้อง