1. กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน
เพื่อที่เราจะกำหนดโครงร่างให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการศึกษาในเอกสารค่ะ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้วยว่าเราจะเขียนเรื่องอะไรบ้างจะได้แตกย่อยหัวเรื่องได้ถูก เพื่อเขียนให้ตรงกลุ่มผู้อ่าน ผู้อ่านจะได้อะไรจากการอ่าน สิ่งเหล่านี้ต้องนำมากำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนนะคะ
Tip เรื่องของการเขียนประเด็นย่อ เป็น Keyword ที่เราอยากทำ และดูความเป็นไปได้ด้วยว่า สามารถทำได้ง่ายหรือไม่ ใช้เวลา ใช้ทุนทรัพย์ มากน้อยขนาดไหน กรณีเป็น dissertation ก็เขียนไปเยอะๆแล้วปรึกษาอาจารย์เลยค่ะ
2. เขียนรายงานฉบับร่าง (First Draft)
โดยกำหนดเป็นย่อหน้าที่แต่ละย่อหน้าจะเริ่มด้วยประโยคสำคัญแล้วตามด้วยคำอธิบายค่ะ ตัวอย่าง ข้อความขยายและจบด้วยประโยคสรุป หรือประโยคที่เชื่อมโยงกับเนื้อหาในย่อหน้าต่อไป โดยใช้ภาษาที่ง่าย ๆ ชัดเจน ไม่ใช้ศัพท์วิชาการที่เกินความจำเป็น และควรมีการสรุปประเด็นที่สำคัญในหัวข้อแต่ละหัวข้อ
Tip แตกแยกร่าง ย่อยเรื่องราวนั้นออกมา เช่น รูปแบบงานวิจัย เชิงปริมาณคุณภาพ จำนวนประชากร รูปแบบการเก็บข้อมูล ระยะเวลาในการดำเนินงานวัตถุประสงค์ ทฤษฏีต่างๆที่จะมารองรับหรือใช้ในงานวิจัย พยายามเลือกหัวข้อที่สอดคล้องกับเรื่องที่เรียนนะคะ จะได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ สอดคล้องกับทุนหรือในระดับที่เรียนประเด็นปัญหาทันยุคทันสมัยค่ะ
3. ชื่อเรื่อง
ตั้งชื่อเรื่องได้อ่านง่าย เห็นภาพชัดเจนไม่สั้นไม่ยาวเกินไปอ่านเข้าใจได้ว่า ต้องการศึกษาอะไร กลุ่มตัวอย่าง หรือกรณีศึกษาคือใคร ที่ไหน แบบไหน และก็อ่านแล้วสามารถเดาทางได้ว่าวัตถุประสงค์คืออะไร
เช่นประสิทธิผลของการออกกำลังกายกับการลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานชุมชนส่วนใหญ่ จังหวัดนนทบุรี พ.ศ.2562
กรณีที่ชื่อยาวมาก ให้แบ่งเป็นสองตอนค่ะ ใช้ตอนแรกบอกความสำคัญ ตอนสองเป็นเพียงส่วนประกอบ เช่นระดับน้ำตาลในเลือดและการออกกำลังกาย เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน:การเปรียบเทียบระหว่างชุมชนสวนใหญ่กับชุมชนบางกร่างในจังหวัดนนทบุรี 2562
ข้อควรระวังในการตั้งชื่องานวิจัย
• ไม่ชัดเจน คลุมเครือ
• ยาวเกินไป
• ไม่สอดคล้องกับประเด็นสำคัญที่ต้องการศึกษา
4.บทนำ/ที่มาและความสำคัญของปัญหา
ควรเขียนอธิบายกล่าวถึงปัญหา ควรเขียนสัก 2-3 หน้าสำหรับ research proposal นี่กำลังดีเลยดีค่ะ
Tip ให้เขียนแบบสามเหลี่ยมควำนะคะ คือจากกว้างไปแคบ เช่น ประเทศ-ภาค-จังหวัด เป็นต้นค่ะ ซึ่งในความเป็นจริงสามารถเขียนได้หลายรูปแบบ แล้วแต่การนำเสนอเลยค่ะ
✔ บุคคล
✔ สถาบัน/องค์กร
✔ พื้นที่เฉพาะ (เมือง ชนบท
✔ ภูมิภาค
✔ ประเทศ
✔ ต่างประเทศ/นานาประเทศ
หัวใจของการเล่าเรื่องให้น่าติดตาม หรือมีความสนใจนั้น ต้องทำให้รู้สึกร่วมเสมือนว่าฟังเพลงอินโทร แล้วอยากฟังเพลงนี้ให้จบ บทนำก็เช่นกันค่ะ
อย่าลืมว่า คุณมีโอกาสแค่กระดาษไม่กี่แผ่นในการเย็บส่งกรรมการแค่นั้น ฉะนั้นโชว์สกิลให้ความรู้ความสามารถ ทั้งในศาสตร์ที่คุณทำและทักษะการทำวิจัย งัดออกมาให้หมดเลยค่ะเขียนให้กรรมการรู้สึกว่า เรื่องราวนี้ “สำคัญ” ตระหนักรู้สนใจ ด้วยข้อมูลที่เป็นประโยชน์
Tip ดูจากชื่อเรื่องหลักและมาแตกแยกประเด็นย่อย จากนั้นเอาความคิดย่อยมาขยายออก โดยที่เราคิดอะไรก็ได้ แตกประเด็นความคิดไว้ก่อน ใช้ Mind map ช่วยจัดระบบความคิดดูก็ได้ค่ะ จากนั้นค่อยมาต่อจิ๊กซอว์ ลองจัดระบบความคิดเรียบเรียงประเด็นต่างๆ จากกว้างไปแคบ เพื่อเข้าสู่ประเด็นปัญหา อันไหนที่เราดูแล้วที่แทรกไม่ได้ก็ทิ้งไป ความคิดไหนที่ดูแล้วโอเค ก็รวมแยกไว้อีกย่อหน้าหนึ่งแล้วค่อยมารวมกันก็ได้ค่ะ
5. ปรับปรุงรายงานฉบับร่าง
โดยการอ่านทบทวนหลาย ๆ ครั้ง และอาจมีเอกสารและงานวิจัยเพิ่มเติมควรจะนำมาสอดแทรก และปรับปรุงได้ตลอดระยะเวลาที่ดำเนินการวิจัย เพราะการทำวิจัยไม่ใช่การยกเมฆ หรือคิดทึกทักไปเอง จำเป็นต้องมีการอ้างอิง แทรกในเนื้อหาด้วยว่าแนวความคิดนี้มีอยู่จริง ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่รู้ๆกันอยู่แล้ว เช่น มลพิษในอากาศสูง เศรษฐกิจไม่ดี เป็นต้นและควรเป็นหนังสือ วารสาร สื่อสิ่งพิมพ์ที่ไม่ใช่ออนไลน์ก็จะยิ่งดูน่าเชื่อถือค่ะ
จากนั้นก็เอาเนื้อหาย่อยๆ มาปะติดปะต่อ ใส่คำเชื่อมร้อยเรียบเรียงเรื่องราวให้สละสลวยค่ะ อย่าลืมที่จะใส่ ส่วนของคำนำเนื้อเรื่อง สรุปด้วยนะคะ รวมถึงไอเดียที่ทำให้คนอ่านเข้าใจง่าย
6. แล้วทำการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น
โดยไม่ต้องเสียดายของเดิม เพราะถ้าดีเค้าก็ให้ผ่านแล้วค่ะหลังจากนั้นให้ลงมือเขียน แล้วก็อ่าน และแก้ไข แล้วเขียนแล้วแก้ไข ทำสักสองสามรอบจากนั้นเราจะรู้ว่าเขียนดีเป็นอย่างไรข้อต่อมาที่สำคัญ คือ 3 อย่า
1 อย่าลืมตรวจคำผิด
2 อย่าลืมเว้นวรรค
3 อย่าลืมจัดหน้ากระดาษ หัวท้ายกระดาษให้เท่ากัน
สุดท้ายคือจัดทำรายงานผลการสังเคราะห์ฉบับจริงหลังจากที่ได้ตรวจสอบรายงานฉบับร่างจนกระทั่งมีความสมบูรณ์