การเขียนเอกสารอ้างอิง รูปแบบแวนคูเวอร์
รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิง ที่ใช้ในวารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุขทั่วไป มักนิยมใช้การอ้างอิงรูปแบบแวนคูเวอร์ (Vancouver Style) ในปัจจุบัน International Committee of Medical Journal Editor ยังคงแนะนำให้ใช้รูปแบบแวนคูเวอร์ แต่เพิ่มเติมรายละเอียดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ในการอ้างถึงเอกสารวิชาการรูปแบบแวนคูเวอร์ ให้เรียงลำดับของเอกสาร ตามลำดับเลขที่มีการอ้างถึงในเนื้อหารายงานหรือบทความ และหมายเลขที่อ้างถึงในเนื้อเรื่องนั้น จะต้องตรงกับหมายเลขที่มีการกำกับไว้ในส่วนเอกสารอ้างอิงด้วย โดยเรียงลำดับจากหมายเลข 1 ไปจนถึงเลขที่สุดท้าย (1, 2, 3,…) ให้เขียนหมายเลขอยู่ในวงเล็บ ( ) ต่อท้ายข้อความที่นำมาอ้างอิงในรายงานประเภทของเอกสารวิชาการที่นำมาอ้างอิง ซึ่งประเภทและที่มาของเอกสารวิชาการที่จะนำมาอ้างอิง จะเป็นตัวกำหนดรายละเอียดในการเขียนเอกสารอ้างอิง บทความจากวารสารวิชาการมาตรฐาน (Standard journal article) ส่วนสำคัญที่ต้องลงในรายการเอกสารอ้างอิง คือ – ชื่อผู้นิพนธ์ (Authors) – ชื่อบทความ (Title) – ชื่อวารสาร (Title of journal) – ปีที่ตีพิมพ์ (Year) – ปีที่ของวารสาร (Volume) – […]
การเขียนบทความทางวิชาการ
บทความทางวิชาการมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอความรู้ความคิดใหม่ๆ รวมทั้งประสบการณ์ของผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ บนพื้นฐานของวิชาการในเรื่องนั้นหรืออาจจะเป็นการแสดงความคิดเห็นในเชิงวิเคราะห์ วิจารณ์ และวิชาการ เพื่อนำเสนอแนวคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้นหรือเพื่อตั้งคำถามหรือประเด็นใหม่ๆ ที่จะกระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดความสนใจที่จะศึกษาค้นคว้าในเรื่องนั้นต่อไป ในวันนี้เราจะมาพูดถึง ลักษณะสำคัญของบทความทางวิชาการกันก่อนว่ามีอะไรบ้าง 1. มีการนำเสนอความรู้ ความคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานทางวิชาการที่เชื่อถือได้ในเรื่องนั้นๆ โดยมีหลักฐานทางวิชาการอ้างอิง 2. มีการวิเคราะห์ วิจารณ์ ให้ผู้อ่านเห็นประเด็นสำคัญอันเป็นสาระประโยชน์ที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอแก่ผู้อ่าน ซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ส่วนตัว หรือประสบการณ์และผลงานของผู้อื่นมาใช้ 3. มีการเรียบเรียงเนื้อหาสาระอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยให้ผู้อ่านเกิดความกระจ่างในความรู้ความคิดที่นำเสนอ 4. มีการอ้างอิงทางวิชาการและให้แหล่งอ้างอิงทางวิชาการอย่างถูกต้อง เหมาะสมตามหลักวิชาการ และจรรยาบรรณของนักวิชาการ 5. มีการอภิปรายให้แนวคิด แนวทางในการนำความรู้ ความคิดที่นำเสนอไปใช้ให้เป็นประโยชน์ หรือมีประเด็นใหม่ๆ ที่กระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดความต้องการสืบเสาะหาความรู้หรือพัฒนาความคิดในประเด็นนั้นๆ ต่อไป โดยทั่วไปบทความทางวิชาการจะมีส่วนประกอบที่สำคัญๆ ดังนี้ 1. ส่วนนำ ส่วนนำจะเป็นส่วนที่ผู้เขียนจูงใจให้ผู้อ่านเกิดความสนใจในเรื่องนั้นๆ ซึ่งสามารถใช้วิธีการและเทคนิคต่างๆ ตามแต่ผู้เขียนจะเห็นสมควร เช่น อาจใช้ภาษาที่กระตุ้น จูงใจผู้อ่านหรือยกปัญหาที่กำลังเป็นที่สนใจขณะนั้นขึ้นมาอภิปราย หรือตั้งประเด็นคำถามหรือปัญหาที่ท้าทายความคิดของผู้อ่านหรืออาจจะกล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้อ่านจะได้รับจากการอ่าน เป็นต้น นอกจากจะเป็นส่วนที่ใช้จูงใจผู้อ่านแล้ว ส่วนนำเป็นส่วนที่ผู้เขียนสามารถกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการเขียนบทความนั้น หรือให้คำชี้แจงที่มาของการเขียนบทความนั้น ๆ รวมทั้งขอบเขตของบทความนั้น เพื่อช่วยให้มีกรอบแนวคิดที่จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาสาระที่นำเสนอต่อไป 2. ส่วนสาระสำคัญของเรื่อง ในส่วนนี้ผู้เขียนควรคำนึงถึงประเด็นสำคัญๆ ดังต่อไปนี้ การจัดลำดับเนื้อหาสาระ ผู้เขียนควรมีการวางแผนจัดโครงสร้างของเนื้อหาสาระที่จะนำเสนอ การนำเสนอเนื้อหาสาระควรมีความต่อเนื่องกัน เพื่อช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจสาระนั้นได้โดยง่าย การเรียบเรียงเนื้อหา ในส่วนนี้ต้องอาศัยความสามารถของผู้เขียนในหลายด้านนอกเหนือจากความเข้าใจในเนื้อหาสาระ ในด้านวิธีการนำเสนอดังนี้ 1 ด้านการใช้ภาษา การเขียนบทความทางวิชาการ จะต้องใช้คำในภาษาไทยหากคำไทยนั้นยังไม่เป็นที่เผยแพร่หลาย ควรใส่คำภาษาต่างประเทศไว้ในวงเล็บ ในกรณีที่ไม่สามารถหาคำไทยได้ จะเป็นต้องทับศัพท์ก็ควรเขียนคำนั้นให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของราชบัณฑิตสถาน ไม่ควรเขียนภาษาไทยและต่างประเทศปะปนกันในลักษณะที่เรียกว่า “ไทยคำ อังกฤษคำ” เพราะจะทำให้งานเขียนนั้นมีลักษณะของความเป็นทางการ (formal) ลดลง ผู้เขียนบทความทางวิชาการ จำเป็นต้องพิถีพิถันในเรื่องการเขียนตัวสะกดการันต์ต่างๆ ให้ถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน และควรตรวจทานงานของตนไม่ให้ผิดพลาด เพราะงานนั้นจะเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการต่อไป 2 ด้านสไตล์การเขียน ผู้เขียนแต่ละคนย่อมมีสไตล์การเขียนของตนซึ่งจะเป็นเอกลักษณ์และเป็นเสรีภาพของผู้เขียน อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าผู้เขียนจะใช้สไตล์อะไร สิ่งที่ควรคำนึงก็คือ ผู้เขียนจะต้องเขียนอธิบายเรื่องนั้นๆ ให้ผู้อ่านเกิดความกระจ่างมากที่สุด ซึ่งอาจต้องใช้เทคนิคต่างๆ ที่ จำเป็น เช่น การจัดลำดับหัวข้อ การยกตัวอย่างที่เหมาะสม การใช้ภาษาที่กระชับชัดเจน และเหมาะสมกับผู้อ่าน เป็นต้น 3 ด้านวิธีการนำเสนอ การนำเสนอเนื้อหาสาระให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายและได้อย่างรวดเร็วนั้น จำเป็นต้องใช้เทคนิคต่างๆ ในการนำเสนอเข้าช่วย เช่น การใช้สื่อประเภทภาพ แผนภูมิ ตาราง กราฟ เป็นต้น การวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ และการนำเสนอความคิดของผู้เขียน บทความที่ดี ควรมีการนำเสนอความคิดเห็นของผู้เขียน ซึ่งอาจออกมาในลักษณะของการวิเคราะห์ วิจารณ์ ข้อมูล เนื้อหาสาระ ให้เป็นประเด็นที่เป็นส่วนของการริเริ่มสร้างสรรค์ของผู้เขียน ซึ่งอาจจะนำเสนอไปพร้อมๆ กับการนำเสนอเนื้อหาสาระ หรืออาจจะนำเสนอก่อนการนำเสนอข้อมูลหรือเนื้อหาสาระก็ได้ แล้วแต่สไตล์การเขียนของผู้เขียน หรือความเหมาะสมกับลักษณะเนื้อหาของเรื่องนั้นๆ 3. ส่วนสรุป บทความทางวิชาการที่ดีควรมีการสรุปประเด็นสำคัญของบทความนั้นๆ ซึ่งอาจทำในลักษณะที่เป็นการย่อ คือการเลือกเก็บประเด็นสำคัญของบทความนั้นๆ มาเขียนรวมกันไว้อย่างสั้นๆ ท้ายบท หรือ อาจใช้วิธีการบอกผลลัพธ์ว่า สิ่งที่กล่าวมามีความสำคัญอย่างไร สามารถนำไปใช้อะไรได้บ้าง หรือจะทำให้เกิดอะไรต่อไป หรืออาจใช้วิธีการตั้งคำถามหรือให้ประเด็นทิ้งท้ายกระตุ้นให้ผู้อ่านไปสืบเสาะแสวงหาความรู้ หรือคิดค้นพัฒนาเรื่องนั้นต่อไป งานเขียนที่ดีควรมีการสรุปในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเสมอ 4. ส่วนอ้างอิง เนื่องจากบทความทางวิชาการ เป็นงานที่เขียนขึ้นบนพื้นฐานของวิชาการที่ได้มีการศึกษา ค้นคว้า วิจัยกันมาแล้ว และการวิเคราะห์ วิจารณ์อาจมีการเชื่อมโยงกับผลงานของผู้อื่นจึงจำเป็นต้องมีการอ้างอิงเมื่อนำข้อความหรือผลงานของผู้อื่นมาใช้ โดยการระบุให้ชัดเจนว่าเป็นงานของใคร ทำเมื่อไร และนำมาจากไหน เป็นการให้เกียรติเจ้าของงาน และประกาศให้ผู้อ่านรับรู้ว่า ส่วนนั้นไม่ใช่ความคิดของผู้อื่น รวมทั้งเป็นการให้หลักฐานแก่ผู้อ่าน ให้ผู้อ่านสามารถไปสืบเสาะแสวงหาความรู้เพิ่มเติม หรือติดตามตรวจสอบหลักฐานได้ โดยทั่วไป การอ้างอิงทำได้หลายแบบที่นิยมกันคือ การอ้างอิงแบบลงเชิงอรรถ และการทำบรรณานุกรม ซึ่งการอ้างอิงนั้น มี 2 ระบบ คือระบบนามปี เป็นการอ้างอิงโดยลงชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ และเลขหน้าของเอกสารที่อ้างอิง บทความทางวิชาการเป็นช่องทางหนึ่งที่จะเผยแพร่ความรู้ ความคิดและประสบการณ์ของสำนักวิชาการออกสู่วงวิชาการและสาธารณชน ซึ่งช่วยให้นักวิชาการได้ทราบว่าความคิดและความรู้ใหม่ๆ ที่ตนได้พัฒนาขึ้นนั้นได้รับการยอมรับหรือไม่ยอมรับ หรือมีจุดอ่อน จุดเด่นประการใด ความรู้และความคิดเหล่านี้ควรจะได้มาจากการที่ผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ วิจารณ์มาอย่างดีแล้วจนกระทั่งเกิดแนวคิดใหม่ๆ ต่อเนื่องออกไป ในทางที่จะสร้างสรรค์วิชาการเรื่องนั้นๆ ให้งอกงามต่อไปอีก บทความทางวิชาการที่ดี ควรมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ผู้อ่านได้แนวคิดแนวทางในการนำความคิดนั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในรูปแบบหนึ่ง หรือช่วยกระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดการพัฒนาความคิดในเรื่องนั้นๆ ต่อไป ที่มา : การเขียนบทความทางวิชาการ
ขั้นตอนในการทำวิจัย
การทำวิจัยให้มีคุณภาพนั้น ไม่ว่าจะเป็นการวิจัยทางสายไหนก็ต้องมีการวางแผนงานอย่างเป็นระบบ เป็นลำดับขั้นตอน ไม่เกิดความคลาดเคลื่อนของการวิจัยในแต่ละขั้นตอน รวมทั้งมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน และเพื่อให้งานวิจัยดำเนินไปได้อย่างดีโดยไม่เกิดข้อผิดพลาดอันจะเป็นผลเสียหายต่องานวิจัย ผู้วิจัยจำเป็นจะต้องดำเนินการวิจัยไปตามลำดับขั้นของการวิจัยอย่างเป็นระเบียบ ซึ่งลำดับขั้นในการวิจัยที่สำคัญ ๆ(Major step) นั้น มีดังต่อไปนี้ 1. เลือกหัวข้อปัญหาที่จะทำการวิจัย (Selecting a topic of research) เพื่อเป็นการกำหนดขอบเขตหรือขอบข่ายของงาน 2. ศึกษาค้นคว้ารวบรวมความรู้พื้นฐาน และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย (Review literature and related research) เพื่อให้ผู้วิจัยมองเห็นวิวัฒนาการของความรู้หรือทฤษฎีนั้น ๆ ว่ามีพัฒนาการมาอย่างไร ใครเป็นคนต้นคิด มีใครตรวจสอบวิจัยมาบ้างแล้ว มีตัวแปรใดบ้างที่เข้ามาเกี่ยวข้อง แบบแผนการวิจัยทั่ว ๆ ไปเป็น เช่นใด ฯลฯ สิ่งต่าง ๆเหล่านี้จะช่วยให้ผู้วิจัยมองเห็นปัญหาแจ่มชัดขึ้น 3. ให้คำจำกัดความหัวข้อปัญหาที่จะทำการวิจัย (Formulating research problem) ในขั้นนี้ผู้วิจัยจะต้องเขียนบรรยายถึงความเป็นมาของปัญหาที่จะวิจัย ทฤษฎีพื้นฐาน ความมุ่งหมายของการวิจัย ความสำคัญของการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้นคำนิยามศัพท์เฉพาะ วิธีดำเนินการ กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งเอกสารการวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4. สร้างสมมติฐาน (Formulating research hypothesis) การสร้างสมมติฐานเป็นการคาดคะเนคำตอบของปัญหาที่จะทำการวิจัยว่า ควรจะเป็นไปในลักษณะใด โดยอาศัยหลักของเหตุผลซึ่งอาจได้มาจากประสบการณ์หรือเอกสารงานวิจัยที่ค้นคว้ามาอนุมาน (Deductive) ว่าปัญหานั้นควรจะตอบได้เช่นไร คำตอบที่ได้จากการเดาหรือคาดคะเนนี้เรียกว่า สมมติฐาน ในขั้นนี้ผู้วิจัยจะต้องพิจารณาด้วยว่าปัญหาและสมมติฐานในการวิจัยมีความสอดคล้องกัน และสมเหตุสมผลพอที่จะตรวจสอบได้หรือไม่ด้วย 5. พิจารณาแหล่งที่มาของข้อมูล (Source of data) คือผู้วิจัยจะต้องระลึกอยู่เสมอว่ากำลังทำวิจัยเรื่องอะไร ข้อมูลที่จะทำการวิจัยคืออะไร อยู่ที่ไหน กลุ่มตัวอย่างเป็นใคร จะได้มาอย่างไร และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีใด เป็นต้น 6. สร้างเครื่องมือที่จะใช้ในการวิจัย (Formulating research instrument) คือการเตรียมอุปกรณ์ในการที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลให้พร้อมก่อนที่จะทำการวิจัย โดยพิจารณาจากรูปแบบของการวิจัยและความต้องการประเภทของข้อมูลเป็นสำคัญ เพื่อที่ผู้วิจัยจะได้กำหนดและเลือกเครื่องมือให้เหมาะสมกับงานวิจัยได้มากที่สุด งานในขั้นนี้ผู้วิจัยควรจะได้มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือว่ามีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้หรือไม่ ซึ่งเราเรียกลักษณะการทำงานอย่างนี้ว่า Pilot study คือทดลองใช้กับกลุ่มย่อย ๆ เพื่อหาข้อบกพร่องและฝึกการแก้ปัญหา และเป็นการประเมินงานวิจัยเบื้องต้นว่าจะมีคุณค่าคุ้มกับเวลา ค่าใช้จ่าย กำลังกายและกำลังสมองที่จะทำต่อไปหรือไม่ 7. การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting data) คือการนำเอาเครื่องมือไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างจริง ๆ ในการวิจัย ถ้าเป็นการวิจัยแบบทดลองก็เริ่มลงมือทดลองนั่นเอง 8. การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล (Scrutinizing data and Analysis of data) เป็นการเลือกสรรข้อมูล จัดประเภทข้อมูลหรือจัดหมวดหมู่ของข้อมูล เพื่อให้สะดวกต่อการที่จะนำไปวิเคราะห์ในอันที่จะนำไปตรวจสอบสมมติฐานตลอดจนพิจารณาเลือกใช้สถิติที่จะวิเคราะห์ให้เหมาะสมกับลักษณะของข้อมูล เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลแล้วก็คิดหาวิธีการนำเสนอค่าสถิติที่ได้ว่าควรจัดเสนอแบบใดจึงจะเหมาะสมและมีความหมายมากที่สุด เพื่อประโยชน์ในการเขียนรายงานการวิจัย 9. ตีความผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาข้อสรุป (Interpretation of data) ในทางปฏิบัติมีวิธีตีความหรือให้ความหมายข้อมูลอยู่ 2 วิธี ซึ่งทั้ง 2 วิธีนี้มีผู้นิยมใช้พอ ๆ กัน คือวิธีหนึ่งจะอธิบายเฉพาะผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยเท่านั้น ไม่นำข้อคิดเห็นส่วนตัวหรือทฤษฎีหรือผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องมาประกอบข้อสรุป กล่าวคือให้ตัวเลขหรือผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลเท่านั้นเป็นสิ่งแสดงข้อเท็จจริง ผู้อ่านจะเป็นผู้วินิจฉัยเอง ส่วนอีกวิธีหนึ่งจะอธิบายผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสอดแทรกความคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่อ้างอิงมาจากทฤษฎีและผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องมาประกอบเข้ากับผลของการวิเคราะห์ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ โดยเชื่อว่าจะช่วยให้การตีความผลการวิเคราะห์ข้อมูลมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น 10. การเขียนรายงานการวิจัยและการจัดพิมพ์ (Research report and publishing) เป็นการรายงานข้อเท็จจริงที่ค้นพบเพื่อประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ผู้วิจัยจะต้องเขียนด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ชัดเจน และรัดกุม แล้วตรวจดูความถูกต้องอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะจัดพิมพ์ต่อไป ลำดับขั้นของการวิจัยทั้ง 10 ขั้นนี้ ผู้วิจัยจะต้องวางแผนงานให้รอบคอบ โดยกำหนดเวลาของการทำงานแต่ละขั้นให้ชัดเจน แล้วพยายามทำให้ทันตามเวลาที่กำหนดไว้ในแต่ละขั้น ถ้างานขั้นใดกระทำควบคู่กันไปได้ก็ทำควบคู่กันไป งานขั้นใดจะต้องทำก่อนหรือหลังก็ต้องทำตามแผนที่วางไว้ ทั้งนี้เพื่อให้งานวิจัยเสร็จตามกำหนดเวลาที่ต้องการ ที่มา : ขั้นตอนในการทำงานวิจัย
เทคนิคและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ
การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)เป็นการวิจัยที่ต้องการค้นหาความจริงทั้งจาก “เหตุการณ์สภาพแวดล้อมตามความเป็นจริง” ซึ่งมี การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อม เป็นหัวใจหลักของการวิจัย เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ (Insight) จากภาพรวมที่มาจากหลากหลายมิติหรือมุมมองนั่นจึงทำให้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยเชิงธรรมชาติ (Naturalistic Research) ซึ่งหมายความถึง การที่จะปล่อยให้ทุกๆอย่างคงอยู่ตามสภาพตามธรรมชาติปราศจากการกระทำ (Manipulate) ใดๆที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะทำให้ผลลัพธ์ที่ได้คลาดเคลื่อนไปได้ ซึ่งวันนี้เรามีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและข้อควรระวังมาฝากกันค่ะ การสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) เป็นการสนทนาโดยมีจุดมุ่งหมายอยู่แล้ว แต่ต้องค่อยๆ ตะล่อมถามไปเรื่อยๆ ให้นึกถึงคำถาม 6 Question Words (ใคร / ทำอะไร / ที่ไหน / เมื่อไหร่ / ทำไม / อย่างไร) ให้ถามความคิดเห็น เหตุผล และมุมมอง ไม่ใช่ถามแบบบังคับให้ตอบว่า “ใช่-ไม่ใช่” “ถูกต้อง-ไม่ถูกต้อง” ต้องเป็นมุมมองของผู้ให้ข้อมูล ไม่ใช่มุมมองของผู้วิจัย ไม่จำเป็นต้องเน้นให้ตอบเป็นตัวเลขเชิงปริมาณ อย่าใช้คำถามชี้นำเพื่อให้ตอบในแนวที่วางไว้ อย่าใช้คำถามที่ทำให้ผู้ตอบไม่อยากตอบ รู้สึกอับอายหรือไม่สบายใจ และไม่ควรใช้คำถามที่เป็นความรู้ทางวิชาการเกินไป (ต้องรู้ background การศึกษาของผู้ตอบด้วย) […]
8เทคนิคการเขียนบทคัดย่อสำหรับงานวิจัย
บทคัดย่อ (Abstract) เป็นส่วนที่เขียนสรุปสาระสำคัญของงานวิจัยทั้งหมด เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจภาพรวมการศึกษาของงานวิจัย การเขียนบทคัดย่อควรใช้ข้อความสั้น กะทัดรัดและกระชับ (concision) มีความถูกต้อง (precision) และมีความชัดเจน (clarity) บทคัดย่อควรเขียนเรื่องสำคัญ ๆ ที่เป็นประเด็นที่น่าสนใจ ควรประกอบด้วย 1) ที่มาของความสำคัญที่เกี่ยวข้องของงานวิจัย 2) วัตถุประสงค์ ควรระบุวัตถุประสงค์ของงานวิจัยให้ชัดเจน และอาจใส่ขอบเขตของเนื้อหางานวิจัย เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจว่างานวิจัยต้องการทราบอะไร 3) ระบุขั้นวิธีการดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง จำนวนตัวอย่าง วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ช่วงเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือข้อมูลสมมติฐานอื่นใดที่สำคัญต่องานวิจัย 4) ผลการศึกษา ระบุข้อค้นพบ (ผลการวิจัย) จากงานวิจัยที่โดดเด่นที่สุด ควรเลือกข้อมูลที่สำคัญมากที่สุดจากงานวิจัย โดยสัมพันธ์กับคำสำคัญจากชื่อเรื่องด้วย 5) สรุปผลการวิจัย สรุปรวบยอดผลการวิจัยและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายหรือวิธีการปฏิบัติประเด็น ซึ่งมีไว้เพื่อให้ผู้อ่านสามารถนำไปปฏิบัติได้โดยการบอกกับผู้อ่านว่าความรู้ที่ได้จากการศึกษาของผู้วิจัยจะช่วยกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาได้อย่างไร หรือมีประสิทธิภาพ และ/หรือ มีคุณค่าอย่างไร นอกเหนือจากองค์ประกอบข้างต้นแล้วผู้เขียนอาจเพิ่มเติมส่วนข้อเสนอแนะ หรือสิ่งควรต่อยอดเพิ่มเข้าไปได้หากเห็นสมควร วันนี้เรามีเทคนิคดีๆมาฝากกันค่ะ 1. ควรคัดแต่เรื่องสำคัญ ๆ ที่เป็นประเด็นน่าสนใจทั้งหมด บทคัดย่อที่ดี จะต้องเน้นการถ่ายทอดเฉพาะ จุดเด่นของการศึกษา โดยงานวิจัยมีความชัดเจน สั้น กะทัดรัด พอดีกับกฎเกณฑ์บางอย่างของบทคัดย่อที่ดี เช่น จำนวนคำต้องอยู่ระหว่าง 200-250 คำ หรือประมาณไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ […]
ใส่ Reference ใน APA อย่างง่ายๆ
ปัจจุบัน รูปแบบ APA (APA Style) กำหนดรูปแบบมาตรฐานในวารสาร หนังสือ และฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์Publication Manual of the American Psychological Association มีการปรับปรุงตลอดมา โดยมีกรรมการมาจากกลุ่มวิชาชีพต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ฉบับล่าสุด เป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6 พิมพ์/ลิขสิทธิ์ ค.ศ. 2010 การใส่ Reference โดยใช้ Microsoft Word วิธีการใส่เอกสารอ้างอิง หรือ บรรณานุกรมเป็นการอ้างอิง Reference ในเนื้อหาและส่วนท้ายบทความหรือท้ายเล่ม ผู้เขียนบทความจะต้องรวบรวมรายการเอกสารทั้งหมดที่ได้ใช้อ้างอิงในผลงานของตน หรือรายการเอกสารอ้างอิง (References List) หรือ บรรณานุกรม (Bibliography)นั่นเอง วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีอย่างง่ายๆมาฝากกันค่ะ วิธีสร้างรายการบรรณานุกรมอัตโนมัติ ด้วย Word 1. คลิกแถบเครื่องมือ References (อ้างอิง) 2. คลิก Insert Citation และ Add New Source เพื่อใส่ข้อมูลรายการหนังสือที่ค้นคว้ามา ได้ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ 3. เลือกมาตรฐานการเขียนบรรณานุกรมที่ต้องการ เช่น APA 6th Edition 4. คลิก Bibliography และ 5. คลิก Insert Bibliography ก็จะได้บรรณานุกรม เรียงรายการตั้งแต่ ก-ฮ และ A-Z งานเขียนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารวิชาการ บทความ ตำรา วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์และหนังสือวิชาการ หรืองานวิจัย เป็นการศึกษา ค้นคว้า ที่นำข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาใช้ในงานเขียนของผู้เขียนอย่างเป็นระบบ ซึ่งผู้เขียนจะต้องระบุหลักฐานแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาอ้างอิงหรือการทำเป็น Reference นั่นเองค่ะ วิธีนี้จะช่วยให้คุณทำงานได้รวดเร็วและง่ายขึ้น […]
ทำงานMS Office ในมือถือให้ชีวิตง่ายขึ้น
โทรศัพท์มือถือนับเป็นอีกตัวเลือกนึง ที่สามารถนำมาใช้ทำงานนอกออฟฟิศและสะดวกสบายมากขึ้นนั่นคือตอนนี้ Microsoft ได้เปิดให้ใช้ Office ในมือถือฟรี ทำให้เราสามารถใช้งาน Office ได้บนมือถือ สำหรับฟังค์ชั่นต่างๆ จะคล้ายกับเวอร์ชั่น Offline แต่บางคนอาจถนัดแบบOnline มากกว่า โดยมีให้ใช้งานทั้ง Android และ IOS สามารถเข้าไปโหลดใช้งานได้ที่ PlayStore หรือ AppStore ได้เลยค่ะ และยังมีฟรีแอพพลิเคชันที่สามารถใช้งานเทียบเท่ากับ Microsoft Office มาฝากกันด้วย Pages = Microsoft Word “สร้างเอกสารโดยใช้ Mac หรือ iPad งานก็จะมีหน้าตาแบบเดียวกันเมื่อเปิดบน iPhone หรือเว็บเบราว์เซอร์” Keynote = Microsoft PowerPoint “คุณสามารถบันทึกเอกสาร Keynote เป็นไฟล์ PowerPoint หรือจะImport และแก้ไขเอกสาร PowerPointใน Keynote โดยตรง” Numbers = Microsoft Excel “จัดระเบียบข้อมูลในแบบที่คุณต้องการ ไม่ว่าจะเลือกฟอนต์และสไตล์ของเส้นขอบเซลล์ เพิ่ม ลดขนาด และใส่สไตล์ให้ตาราง” ในการทำงานโปรแกรม Microsoft Office ก็เหมือนจะเป็นที่พึ่งเพียงหนึ่งเดียวสำหรับมนุษย์ออฟฟิศหรือนักเรียน/นักศึกษา ทราบหรือไม่ว่านอกจากโปรแกรมดังกล่าวที่เราๆ ใช้กันแล้วมันยังมีโปรแกรมสำหรับทำงานอื่น ๆ ที่น่าใช้น่าสนใจไม่แพ้กันเลยและถ้าใครเบื่อโปรแกรมจาก Microsoft วันนี้ก็ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ลองเปลี่ยนโปรแกรมอื่น ๆ กันบ้าง ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามลิ๊งค์นี้เลยค่ะ Pages : https://www.apple.com/th/pages/ Keynote : https://www.apple.com/th/keynote/ Numbers : https://www.apple.com/th/numbers/
วิธีสร้างหัวและท้ายกระดาษให้น่าสนใจยิ่งขึ้น
เอกสารที่ใช้ในบริษัทหรือองค์กรต่างๆมักจะมีฟอร์มหรือรูปแบบที่ใช้เฉพาะเช่นอาจมีชื่อหรือโลโก้ของบริษัทอยู่บริเวณด้านบนกระดาษ หรือมีที่อยู่ของบริษัทด้านล่างของเอกสาร เราเรียกการใส่ข้อความทั้งสองแบบนี้ว่าการใส่หัวกระดาษและท้ายกระดาษทั้งส่วนหัวกระดาษและท้ายกระดาษสามารถใส่ข้อความ วันที่ รูปภาพและอื่นๆได้ตามต้องการ วันนี้เราจะมาแนะนำการทำหัวและท้ายกระดาษโดยมีขั้นตอนในการกำหนดหัวกระดาษ และท้ายกระดาษง่ายๆดังนี้ หัวกระดาษหัวกระดาษคือพื้นที่ในระยะขอบด้านบนของแต่ละหน้าในเอกสารซึ่งสามารถแทรกข้อความหรือใส่รูปภาพลงไปได้ตัวอย่างเช่น ต้องการเพิ่มหมายเลขหน้า วันที่และเวลา โลโก้ของบริษัท ชื่อเอกสาร ชื่อแฟ้มหรือชื่อผู้สร้างก็ได้โดยสิ่งที่ใส่ลงไปในหัวกระดาษนั้นจะปรากฏอยู่ด้านบนของทุกๆหน้าในไฟล์เอกสาร โดยมีวิธีการใส่หัวกระดาษดังนี้ โปรแกรมจะเข้าสู่ส่วนของพื้นที่หัวกระดาษ ให้พิมพ์ข้อความที่จะให้ปรากฏอยู่บนหัวกระดาษลงไป เมื่อคลิกที่ปุ่มปิดหัวกระดาษและท้ายกระดาษแล้ว หัวกระดาษจะมีลักษณะจางๆโดยที่เราไม่สามารถนำเมาส์มาคลิกแก้ไขได้ ดังรูป แต่หากต้องการกลับไปแก้ไขหัวกระดาษสามารถทำได้โดยไปที่แท็บแทรกและคลิกที่หัวกระดาษ เหมือนกับการใส่ หัวกระดาษ แต่ให้เลือกที่คำสั่งแก้ไขหัวกระดาษแล้วจึงค่อยทำการแก้ไข หรือดับเบิ้ลคลิกบริเวณหัวกระดาษ และถ้าหากไม่ต้องการใส่หัวกระดาษแล้วให้คลิกเลือกที่เอาหัวกระดาษออก Tips เพิ่มความน่าสนใจโดยการใส่โลโก้หรือรูปภาพลงในหัวกระดาษ. คลิ๊กคำว่า Picture บนแถบ Insert หารูปหรือโลโก้โดยเลือกไฟล์ และกดปุ่ม Insert ท้ายกระดาษท้ายกระดาษ คือ พื้นที่ในระยะขอบด้านล่างของแต่ละหน้าในเอกสารซึ่งสามารถแทรกข้อความหรือใส่รูปภาพลงไปได้เหมือนกับหัวกระดาษ โดยสิ่งที่ใส่ลงไปในท้ายกระดาษนี้จะปรากฏอยู่ด้านล่างของทุกๆหน้าในเอกสารเหมือนกับหัวกระดาษ โดยมีวิธีการใส่ท้ายกระดาษดังนี้ โปรแกรมจะเข้าสู่ส่วนของพื้นที่ท้ายกระดาษ ให้พิมพ์ข้อความที่จะให้ปรากฏอยู่ที่ท้ายกระดาษลงไป เมื่อคลิกที่ปุ่มปิดหัวกระดาษและท้ายกระดาษแล้วท้ายกระดาษจะมีลักษณะจางๆโดยที่เราไม่สามารถนำเมาส์มาคลิกแก้ไขได้ ดังรูป แต่หากต้องการกลับไปแก้ไขท้ายกระดาษสามารถทำได้โดยไปที่แท็บแทรกและคลิกที่ท้ายกระดาษเหมือนกับการใส่ท้ายกระดาษแต่ให้เลือกที่คำสั่งแก้ไขท้ายกระดาษแล้วจึงค่อยทำการแก้ไขหรือ ดับเบิ้ลคลิกบริเวณท้ายกระดาษและถ้าหากไม่ต้องการใส่ท้ายกระดาษแล้วให้คลิกเลือกที่เอาท้ายกระดาษออก Tips กดปุ่ม Esc เพื่อปิดส่วนของหัวกระดาษและท้ายกระดาษ ดูหัวกระดาษในโหมดเต็มหน้าจอหรือพิมพ์ 1 ฉบับเพื่อตรวจทานหัวและท้ายกระดาษ Credit : การกำหนดหัวกระดาษท้ายกระดาษ-ทำหนังสือด้วยตัวเองง่ายๆ
เทคนิคการสร้างสารบัญตารางอัตโนมัติ
การทำรายงานแน่นอนว่าต้องมีหน้าสารบัญ เป็นองค์ประกอบ และการทำรายงานบน MS Word นั้น คงมีหลายๆคนที่ต้องปวดหัวกับการที่ต้องจัดเรียง สารบัญ ให้หัวข้อและหน้าตรงกัน หากคุณเองก็เคยประสบกับปัญหากับการจัดสารบัญเชิญทางนี้เลยค่ะ กำหนดสารบัญตารางอัตโนมัติ 1. ไปที่เมน References —-> Insert Caption 2. Caption —-> New label กำหนดเป็น ตารางที่ แล้วกด OK 3. จากนั้นก็ไปที่เมนู References ——Insert Table of Figures 4. ผลลัพธ์ดังรูปข้างล่าง Tips ใน MS Word นั้นมีฟังก์ชั่นการ ทำสารบัญ ซึ่งเป็นเครื่องที่อยู่ใน word จะเป็นการสร้างสารบัญตารางแบบอัตโนมัติ ก่อนที่จะสร้างกำหนดสารบัญตารางอัตโนมัติ ต้องมีการสร้างป้ายกำกับให้ตารางก่อน หากไม่กำหนดจะไม่สามารถสร้างกำหนดสารบัญตารางอัตโนมัติได้ ควรระมัดระวังการแก้ไขการตัวเลข ของตาราง หรือภาพ ในเนื้อหาแต่ละส่วน ห้ามพิมพ์ตัวเลขลงไปเองในคำอธิบาย
สิ่งที่ควรรู้ในการเขียนบรรณานุกรม APA 6
บรรณานุกรม หรือเอกสารอ้างอิง เป็นส่วนสำคัญที่สำคัญของการเขียนงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารทางวิชาการ หนังสือ ตำรา รายงานการวิจัย หรือที่เราเห็นกันมากก็คือวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะปรากฏอยู่ท้ายเล่มของผลงานที่เป็นเป็นแหล่งรวบรวบรายการข้อมูลที่งานเขียนนั้น ๆ ได้อ้างอิงถึง อีกทั้งยังเป็นส่วนที่จะเชื่อมโยงไปยังต้นทางของแหล่งข้อมูลที่ให้ผู้อ่านสามารถค้นหาและสืบค้นเพิ่มเติมได้ โดยส่วนใหญ่แล้วการเขียนบรรณานุกรม หรือเอกสารอ้างอิง จะนิยมใช้มาตรฐานการเขียนที่ชื่อว่า APA หรือ (American Psychological Association) พัฒนามาจากนักสังคมศาสตร์และนักพฤติกรรมศาสตร์มากว่า 80 ปี เพื่อเป็นมาตรฐาน ในการเขียนอย่างเป็นระบบสำหรับการทำวิจัย รายงานการวิจัย การทบทวนวรรณกรรม บทความและกรณีศึกษา สำหรับนักเขียนและนักศึกษานำมาใช้ในวิทยานิพนธ์ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย โดยในปัจจุบัน APA ได้พัฒนามาถึงเวอร์ชันที่ 6 ที่มีมาตราฐานใหม่ที่เป็นแปลงจากเดิมไปพอสมควร ในบทความนี้เราจะยกตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรม ที่จำเป็นและใช้เป็นแหล่งอ้างอิงกันมาก เช่น หนังสือ,งานวิจัย,วารสาร,วิทยานิพนธ์,สื่อออนไลน์ และสิ่งที่ควรรู้ในการเขียนบรรณานุกรม หรือเอกสารอ้างอิงมีดังต่อไปนี้ค่ะ 1. หนังสือ ผู้แต่ง 1./(ปีพิมพ์).//ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่).//สถานที่พิมพ์:/สํานักพิมพ์. สุกัญญา รอส. (2561). วัสดุชีวภาพ. พิษณุโลก: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร. หนังสือไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่).//(ปีพิมพ์).//สถานที่พิมพ์:/สํานักพิมพ์. หลากความคิดชีวิตคนทํางาน. (2551). กรุงเทพฯ: แผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน […]