การเขียนบทความวิชาการ

วิชาการนักเขียนมนุษยศาสตร์บทความมหาวิทยาลัย สวัสดีค่ะ เราเป็นคนๆหนึ่งที่หลงใหลในการเขียนบทความวิชาการเข้าเส้นเลือดใหญ่เลยค่ะ หลายๆคนจะมองว่า การเขียนบทความวิชาการนั้นเป็นเรื่องที่ยากใช่ไหมค่ะ แต่ถ้าลองนำแนวคิดหรือวิธีการของเราไปใช้ รับรองเลยว่า คุณจะสนุกไปกับการร่ายระบำของนิ้วคุณบนคีย์บอร์ดกันเลยทีเดียว พร้อมร่ายระบำนิ้วกันหรือยังค่ะ ถ้าพร้อมแล้ว มากันเลย… บทความวิชาการตามทรรศนะและข้อสังเกตของเรา คือ บทความที่มีความเป็นทางการค่ะ มีเนื้อหาทางด้านวิชาการ ใช้ภาษาสุภาพในการเขียน และใช้ศัพท์บัญญัติหรือศัพท์เทคนิคในแขนงความรู้นั้นๆเขียนค่ะ และเป็นเสมือนเวทีเล็กๆที่รับรองการแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอของนักวิชาการได้ตั้งแต่นักวิชาการที่มีสังกัด เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัย จนถึงนักวิชาการที่ไม่มีสังกัด เช่น นักวิชาการอิสระ (เฉกเช่นกระเราค่ะ) บทความวิชาการเป็นอะไรที่สดใหม่นะค่ะ เพราะถ้านักวิชาการพบเจออะไรใหม่ๆก็จะเริ่มตั้งข้อสังเกตก่อน แล้วลองเขียนเป็นบทความวิชาการเพื่อเผยแพร่ความรู้ค่ะ และบทความวิชาการจึงเป็นงานวิชาการชิ้นเล็กๆแต่มีประสิทธิภาพทางปัญญาสูงที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายค่ะ (สมัยนี้มีวารสารวิชาการออนไลน์นะค่ะ สะดวกกว่าสมัยก่อนที่จะต้องเสียสตางค์ซื้อ หรือต้องเดินทางไปถ่ายเอกสารจากห้องสมุดของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง) และไม่ต้องอ่านเยอะเท่าอ่านวิจัยทั้งเล่ม เพราะเขาเอาเนื้อหาสำคัญมาให้แล้ว และเมื่อทำเป็นบทความวิชาการได้ ประเด็นนี้ก็สามารถขยายเป็นประเด็นใหญ่ได้ค่ะ สามารถสานต่อเป็นงานวิจัยได้อีก ด้วยปัจจุบันบทความวิชาการถูกจำกัดจำนวนหน้ากระดาษค่ะ (เริ่มขั้นต่ำที่ 8 หน้า และมากสุด 30 หน้า แต่ที่นิยมกันจะไม่ให้เกิน 15 หน้า และแล้วแต่บางวารสารจะกำหนดกระดาษด้วยค่ะ บางที่ A4 บางที่ A5ก็มี) เนื้อหาของบทความจึงถูกบีบ ให้สามารถใส่ได้เพียงเนื้อหาที่สำคัญเท่านั้น หรือเนื้อหาที่เป็นเนื้อ ไม่เอาน้ำ […]