ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ใช้คนงานวิจัย
ABI/INFORM Complete ACM Digital Library H.W Wilson ProQuest Dissertations & Theses SpringerLink – Journal Web of Science Academic Search Premier Education Research Complete Computer & Applied Sciences Complete Emerald Management American Chemical Society
บทความวิชาการกับบทความวิจัย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
รองศาสตราจารย์ ดร.วรางคณา จันทร์คงสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชบทบาทของนักวิชาการ/นักวิจัยที่สำคัญอีกบทบาทหนึ่งคือการเผยแพร่ความรู้ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี เช่น การสอนงาน การบรรยาย การสาธิตและการเขียน เมื่อเปรียบเทียบผลกระทบในการเผยแพร่ความรู้จะเห็นได้ว่าการเขียนจะสามารถเผยแพร่ ได้กว้างขวางมากที่สุด อีกทั้งยังคงทนถาวรอีกด้วย การเผยแพร่ความรู้โดยการเขียนสำหรับนักวิชาการ/นักวิจัยนี้ส่วนใหญ่จะทำ ในรูปของงานวิชาการ“บทความ” (article) เป็นรูปแบบการเขียนประเภทหนึ่ง ที่ผู้เขียนต้องการสื่อสารข้อเท็จจริง และความคิดเห็นเกี่ยว กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้กับผู้อ่าน เนื้อหานำเสนอจากข้อมูลจริงไม่ใช่เรื่องแต่งหรือคิดขึ้นจากจินตนาการ มีลักษณะเป็นข้อเขียน ขนาดสั้น สำหรับ “บทความทางวิชาการ”(academic article) มีผู้ให้ความหมายไว้ใกล้เคียงกัน อาจกล่าวได้ว่า “บทความทาง วิชาการ” หมายถึง งานเขียนวิชาการซึ่งมีการวิเคราะห์ประเด็นตามหลักวิชาการโดยมีการสำรวจวรรณกรรมและวิเคราะห์อย่าง เป็นระบบ เพื่อสนับสนุนจนสามารถสรุปผลการวิเคราะห์ในประเด็นนั้นได้ โดยรูปแบบประกอบด้วยการนำความที่แสดงเหตุผล หรือที่มีของประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์ กระบวนการอธิบายหรือวิเคราะห์และบทสรุป มีการอ้างอิงบรรณานุกรมที่ ครบถ้วนและสมบูรณ์ โดย บทความวิชาการจะมีลักษณะเฉพาะอยู่หลายประการ คือ ต้องเป็นเรื่องที่ผู้อ่านส่วนมากกำลังสนใจอยู่ในขณะนั้น อาจเป็นปัญหาที่กำลังอยากรู้ว่าจะดำเนินต่อไปอย่างไร หรือมี ผลเช่นไร หรือเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับเหตุการณ์หรือสถานการณ์ หรือเข้ายุคเข้าสมัย ต้องมีสาระ มีแก่นสาร อ่านแล้วได้ความรู้หรือความคิดเพิ่มเติมมิใช่เรื่องเลื่อนลอย เหลวไหล ไร้สาระ ต้องมีทัศนะ ข้อคิดเห็น ข้อวินิจฉัยของผู้เขียนแทรกอยู่ด้วย มีวิธีการเขียนที่ชวนให้อ่าน […]
9 เทคนิคการเขียนรายการอ้างอิงในบทความวิชาการ
•ผู้วิจัยต้องอ่านเอกสารที่ตนจะใช้เป็นเอกสารอ้างอิงก่อนเสมอ•ไม่ควรอ้างอิงแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ เช่น เว็บไซต์ หนังสือ ตำราเป็นต้น ควรอ้างอิงจากเอกสารที่เป็นนิพนธ์ต้นฉบับ•ควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากเกินไปจนพร่ำเพรื่อ•ไม่ควรนำบทคัดย่อมาเป็นเอกสารอ้างอิง•การอ้างอิงที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์แต่ได้ตอบรับการตีพิมพ์ควรระบุไว้ว่าเป็น “in press”หรือ “forthcoming การอ้างอิงเอกสารที่ไม่ได้รับการตีพิมพ์แต่ได้ส่งเพื่อพิจารณาตีพิมพ์หรือการอ้างอิงข้อมูลที่ไม่เคยส่งตีพิมพ์ ควรระบุว่าเป็น “unpublished data” หรือ “unpublished observations” และควรได้รับคำยินยอมจากเจ้าของเป็นลายลักษณ์อักษร-เมื่อทำการทวนความ (paraphrase) หรือย่อความ (summarize) มาจากบทความอื่นไม่ว่าจะเป็นบทความของตนเองหรือบทความของผู้อื่น นักวิจัยควรที่จะอ้างอิงเอกสารต้นฉบับนั้นไว้ด้วย•ไม่ควรใช้บทความที่ถูกถอดถอนออกไปแล้วมาเป็นเอกสารอ้างอิง•ต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิง ทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหาแนวทางการเขียน ผู้แต่ง. (ปี). ชื่อเรื่อง. สถานที่พิมพ์: สานักพิมพ์.ผู้แต่ง. (ปี). ชื่อวิทยานิพนธ์. วิทยานิพนธ์ปริญญา(ระดับ) ชื่อสาขาวิชาสาขาวิชามหาวิทยาลัย.ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), เลขหน้า.ผู้แต่ง. (ปี). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่พิมพ์(ฉบับที่), เลขหน้าบทความ.ผู้แต่ง. (ปี). ชื่อเรื่อง. สืบค้นเมื่อวันเดือน, ปี, จากชื่อเว็บไซต์: URL
การขอประเมินการกล่าวอ้างทางสุขภาพ (Health Claim)
เบื้องต้นเรามาทำความรู้จักกับการกล่าวอ้างทางสุขภาพ (Health Claim) หมายความว่า การแสดงรูป รูปภาพ รอยประดิษฐ์ เครื่องหมาย เครื่องหมายการค้า หรือข้อความใดๆ บนฉลาก ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ส่วนประกอบของอาหาร หรือสารอาหารที่เกี่ยวข้อง กับสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม จําแนกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ การกล่าวอ้างหน้าที่ของสารอาหาร (Nutrient function claims) หมายความว่า การแสดงสรรพคุณหรือ คุณประโยชน์เกี่ยวกับบทบาทของสารอาหารที่มีผลต่อสรีรวิทยาด้านการเจริญเติบโต การพัฒนา หรือการกระทําหน้าที่ ตามปกติของร่างกายตัวอย่างเช่น แคลเซียมมีส่วนช่วยในกระบวนการสร้างกระดูกและฟันที่แข็งแรง ผลิตภัณฑ์อาหาร ก. เป็น แหล่งของแคลเซียม เป็นต้น การกล่าวอ้างหน้าที่อื่น (Other function claims) หมายความว่า การแสดงสรรพคุณหรือคุณประโยชน์ที่ เฉพาะเจาะจง (Specific beneficial effects) ของการบริโภคอาหารหรือส่วนประกอบของอาหารในบริบทของอาหารทั้งหมดที่ บริโภคเพื่อให้ร่างกายทําหน้าที่ตามปกติ หรือมีกิจกรรมทางชีวภาพเป็นไปตามปกติการกล่าวอ้างในลักษณะนี้เกี่ยวข้องกับ ผลต่อสุขภาพในเชิงบวก หรือเพื่อให้การทําหน้าที่ของร่างกายดีขึ้น หรือเพื่อปรับเปลี่ยน หรือคงสภาวะทางสุขภาพ ตัวอย่างเช่น สาร ก. […]
6 ลักษณะของบทความวิชาการที่ได้รับการตีพิพม์
เป็นเอกสารทางวิชาการที่เรียบเรียงจากผลงานทางวิชาการของตนเอง หรือของผู้อื่นในลักษณะที่เป็นการวิเคราะห์วิจารณ์หรือเสนอแนวคิด ใหม่ๆจากพื้นฐานทางวิชาการนั้นๆ นำเสนอประสบการณ์ของผู้เขียนเกี่ยวกับรื่องนั้น ๆ บนพื้นฐานของ วิชาการ อาจจะเป็นการแสดงความคิดเห็นในเชิงวิเคราะห์วิจารณ์หรือเพื่อ นำเสนอแนวคิดใหม่ อาจเป็นการตั้งคำถามหรือประเด็นใหม่ๆที่จะกระตุ้นให้ผู้อ่านเกิด ความสนใจที่จะศึกษาค้นคว้าในเรื่องนั้นต่อไป บทความทางวิชาการที่ดีควรมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ผู้อ่านได้แนวคิด แนวทางในการนำความคิดนั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ บทความทางวิชาการที่ดีช่วยกระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดการพัฒนาความคิดใน เรอื่งนัน้ๆต่อไปResearer and thesis