4เทคนิคการเขียนเอกสารที่เกี่ยวข้อง

ทฤษฎีหรือหลักการที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่จะทำ ผู้วิจัยจะต้องค้นคว้าให้ได้มากพอสมควร เพื่อไม่ให้การวิจัยไปซ้ำซ้อนกับงานวิจัยของคนอื่น หรือช่วยให้การทำวิจัย มีความคมชัด ถูกทิศทางมากยิ่งขึ้น (คล้ายคนเราจะทำอะไร ก็มีการสำรวจดูทำเล หรือตรวจสอบความจริงบางอย่าง เพื่อป้องกันความบกพร่อง หรือความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น) การเขียนเอกสารอ้างอิงต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้1 ลำดับเหตุการณ์ก่อน หลัง ถ้าเป็นเรื่องของสถานศึกษา โดยเฉพาะในโรงเรียน ต้องกล่าวถึงหลักสูตรที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเสมอ (ส่วน พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องมีมาก่อนหลักสูตร ไม่ต้องกล่าวถึงก็ได้)2 ความทันสมัยของเอกสาร ไม่ควรเป็นเอกสารที่ผลิตมานานเกินไป เว้นแต่เอกสารที่มีคุณค่า มีชื่อเสียง และเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป3 ในหัวข้อนี้ต้องอ้างอิงข้อความที่นำมาใช้ให้ถูกหลักเหตุและผล (เช่นอ้างหลายหน้าแต่เอามาน้อยหน้าเสมือนสรุปมาก็ได้ แต่อ้างจำนวนน้อยหน้าเมื่อเอามาจริงมากหน้ากว่าที่อ้าง เท่ากับเขียนงานโกหก)4 การอ้างอิงเอกสารตำราต้องอ้างอิงชื่อผู้แต่ง หรือถาบันแห่งนั้น ไม่ใช่อ้างชื่ออิงเอกสาร ตำรา หากนำข้อความจากงานวิจัยของคนอื่น ก็ไม่ใช่อ้างอิงชื่อผู้วิจัย ต้องอ้างอิงเจ้าของข้อความจึงต้องอ้างอิงต่อให้ถึงผู้เป็นเจ้าของเอกสาร ตำรา

3 เทคนิคการเขียนสรุป

3 เทคนิคการเขียนสรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 1. เป็นการกล่าวถึงจุดมุ่งหมาย(หรือหัวข้ออื่น ๆ ด้วย) และสรุปผลการวิจัย ซึ่งย่นย่อมาจากบทที่ 4 (หากจะอ่านผลงานวิจัยที่สั้นกว่านี้ก็คืออ่านในบทคัดย่อ) 2. สิ่งที่สำคัญมากที่สุดในบทนี้ก็คือ การอภิปรายผล ซึ่งผู้วิจัยต้องแสดงความสามารถในการวิจารณ์ ถึงเหตุและผลของการวิจัยที่ค้นพบ ว่าที่เป็นเช่นนั้นเพราะอะไร หรือทำไมจึงได้ผลเช่นนั้น ในทางวัดผล ถือเป็นพฤติกรรมขั้นสังเคราะห์ความสัมพันธ์ คือทำการวิพากย์ วิจารณ์ ถึงผลที่ได้จากการวิจัย ส่วนที่จะสอดคล้องกับผลการวิจัยของใครที่ทำมาก่อนหน้านี้ก็เอามาเขียนทีหลัง ซึ่งไม่สำคัญเท่ากับ การสังเคราะห์ความสัมพันธ์ 3. ข้อเสนอแนะให้กับผู้ที่จะทำวิจัย หรือการนำผลงานวิจัยไปใช้ ต้องเสนอแนะตาม ผลที่เกิดจากผลของการวิจัยเท่านั้น

10 เทคนิคในการทบทวนวรรณกรรม

ระบุประเด็นที่ต้องการศึกษาให้ชัดเจน ระบุแหล่งข้อมูลในการรวบรวมวรรณกรรมต่างๆ คัดเลือกวรรณกรรมที่ต้องการ อาทิ หนังสือ วารสารวิชาการ รายงานการ วิจัย ฯลฯ โดยหารให้คำสำคัญ (KEY WORD) จากประเด็นที่ต้องการ ศึกษาในการค้นหา4.อ่านและประเมินคุณค่าวรรณกรรม ตัดสินใจเลือกทฤษฎี แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ที่มีคุณภาพ เหมาะสมสำหรับนำมาสังเคราะห์เป็นกรอบทฤษฎีในการทำการวิจัย ต่อไป6.จดบันทึกรายการละเอียดต่างๆ ที่คากว่าน่าจะนำมาใช้ในงานวิจัยของ ตนเอง นำข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรมมาวิเคราะห์ นำผลจากการสังเคราะห์วรรณกรรมมาเรียบเรียงพร้อมนำเสนอ

2ประเภทของการวิจัยทางธุรกิจ

การวิจัยแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และการวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์โดยมีรายละเอียดดังนี้ การวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ เป็นการวิจัยที่ศึกษาทางด้านกายภาพ อุปกรณ์ต่างๆ ที่มีเทคนิคเฉพาะ มีความเชื่อในสิ่งที่เป็นธรรมชาติอย่างมีเหตุมีผล ประกอบด้วยวิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี อาจจะมีทั้งการวิจัยเชิงพรรณนาและการวิจัยเชิงทดลอง การวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ เป็นการวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์และสังคม ทำให้การวิจัยประเภทนี้มีอย่างกว้างขวางและค่อนข้างยืดหยุ่น เนื่องจากมีข้อจำกัดหรือข้อยกเว้นในบางกรณี จำเป็นต้องดำเนินการตามขั้นตอนตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยในการควบคุมกระบวนการในการวิจัยในแต่ละขั้นตอน โดยองค์การ UNESCO แบ่งการวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ ออกเป็น 5 สาขาใหญ่ ๆ คือ2.1 มนุษย์ศาสตร์ ได้แก่ วิชาโบราณคดี ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ บรรณารักษ์ศาสตร์ ปรัชญา จิตวิทยา ศาสนศาสตร์ อักษรศาสตร์2.2 การศึกษา ได้แก่ วิชาทางการศึกษา พลศึกษา2.3 วิจิตรศิลป์ ได้แก่ วิชาทางสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การวาดภาพ วาทศิลป์ การละคร2.4 สังคมศาสตร์ ได้แก่ วิชาการธนาคาร พาณิชศาสตร์และการบัญชี รัฐศาสตร์ ภูมิศาสตร์ […]

หลักการเขียนบทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นหนึ่งของ การวิจัย ซึ่งใช้เป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงระดับคุณภาพของงานวิจัยในเรื่องนั้นๆได้ เป็นอย่างดี การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ช่วยทำให้ผู้วิจัยทราบข้อมูลมากมายในเรื่องที่จะทำวิจัยตั้งแต่ขั้นเริ่ม ต้นจนถึงขั้นสุดท้ายของการวิจัย ปัญหาที่สำคัญของกิจกรรมในการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่3.1 การไม่รู้จักแบ่งเวลาให้เหมาะสมสำหรับการค้นคว้าเอกสาร3.2 ไม่รู้จักแหล่งของเอกสารและข้อมูล3.3 ไม่รู้จักหลัก และเทคนิคของการสกัดข้อมูลที่สำคัญออกมาจากเอกสาร และงานวิจัยที่อ่าน3.4 ไม่รู้จักวิธีเขียนเรียบเรียงเชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมดจากเอกสารเข้าด้วยกัน สรุปขั้นตอนการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องขั้นแรก อ่านราบละเอียดตั้งแต่ต้นจนจบ ให้รู้เรื่องทั้งหมดขั้นที่สอง วิเคราะห์เรื่องที่อ่าน โดยจับประเด็นใหญ่ๆมาสรุปเป็นตาราง ดังนี้ก. ปัญหาวิจัย วัตถุประสงค์ สมมติฐานข. รูปแบบการวิจัย ขนาดตัวอย่าง ตัวแปรที่สำคัญค. เครื่องมือวัดวิธีเก็บข้อมูล วิธีวิเคราะห์ข้อมูลง. ผลการวิจัยขั้น ที่สาม เขียนเรียบเรียงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยเรียบเรียงเรื่องที่อ่านในขั้นที่สองให้ต่อเนื่องกัน ลักษณะของความต่อเนื่องอาจพิจารณาได้หลายลักษณะ ลักษณะที่สำคัญและพบมากในการเขียนรายงานวิจัยลงในวารสารวิชาการ ก็คือ ลักษณะการต่อเนื่องของผลการวิจัยและตัวแปรสำคัญๆที่มีบทบาทต่อผลการวิจัย สำหรับหัวข้ออื่นๆที่จะนำมาเขียนขึ้นอยู่กับว่า ผู้วิจัยต้องการนำประเด็นนั้นมาเกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่จะทำมากน้อยแค่ไหน เช่น ขนาดของตัวอย่าง หรือวิธีสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือวัด หรือแบบการทดลอง เป็นต้น ข้อเตือนใจในการเขียนเรียบเรียงเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การเขียนเรียบเรียงเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ให้เลือกเอาเฉพาะข้อมูลและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่จะศึกษาจริงๆ เท่านั้นมาเขียน ไม่ใช่เป็นการเอาเอกสารและงานวิจัยที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือเกี่ยวข้องเพียงเล็กน้อยเท่านั้นมาเขียนเรียงใส่เข้าไป เพื่อให้งานวิจัยดูหนามากขึ้น การเขียนเรียบเรียงต้องเน้นในลักษณะของการเชื่อมโยง และความต่อเนื่องของเนื้อหาในประเด็นที่เป็นปัญหาการวิจัย ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญมากกว่าที่จะเขียนในลักษณะเรียงต่อเนื่องกันตามระยะ […]

แนวทางการเขียนบทความวิจัย

มีความเข้าใจกระจ่างแจ้งในรายงานวิจัยที่ต้องการนําเสนอ การกำหนดโครงร่าง การจัดลําดับความคิด การเรียบ เรียงเนื้อ อหาสาระ ควรทิ้งช่วงห่าง 1-2 สัปดาห์ และ นํากลับมาปรับปรุงลีลาการเขียน และภาษาให้ ถูกต้องตามแบบของบทความ การเสนอเนื้อหา ควรให้ความสําคัญกบความชัดเจนถูกต้อง ตรงไปตรงมา และสมบูรณ์ การใช้ภาษาต้องมีความเป็ นมาตรฐาน มีความเหมาะสม กบผู้อ่านที่เป็ นนักวิชาการ และใช้ภาษาถูกต้อง การลําดับเนื้อหาให้เป็ นไปตามหลักการวิจัย มีความ ต่อนื่องตั้ งแต่ต้นจนถึงผลสรุปและการอภิปราย ผลการวิจัย แต่ ละย่อหน้ามีความสําคัญ และเชื่อมโยง ความคิดที่ต่อเนื่อง การใช้คําศัพท์ให้เลือกคําศัพท์ที่เป็ นไปตามศัพท์บัญญัติ ได้รับการ รับรองใช้กนแพร่่หลาย ถ้าเป็ นศัพท์ใหม่ จากภาษาตางประเทศ ควรมี วงเล็บ หรือมีเชิงอรรถอธิบายเสริม และใช้คําศัพท์วิชาการคงที่ แบบเดียวกนทั้งบทความ7.การเขียนประโยคควรเป็นประโยคสมบูรณ์ ใช้ประโยคสั้น หลีกเลี่ยง ประโยคซ้อน และระมัดระวังเครื่องหมายวรรคตอนให้ถูกต้อง8.ให้ความสําคัญกบการพิสูจน์อักษร

การเขียนบรรณานุกรม

บรรณานุกรม หรือเอกสารอ้างอิง เป็นส่วนสำคัญที่สำคัญของการเขียนงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารทางวิชาการ หนังสือ ตำรา รายงานการวิจัย หรือที่เราเห็นกันมากก็คือวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะปรากฏอยู่ท้ายเล่มของผลงานที่เป็นเป็นแหล่งรวบรวบรายการข้อมูลที่งานเขียนนั้น ๆ ได้อ้างอิงถึง อีกทั้งยังเป็นส่วนที่จะเชื่อมโยงไปยังต้นทางของแหล่งข้อมูลที่ให้ผู้อ่านสามารถค้นหาและสืบค้นเพิ่มเติมได้

ให้บริการคำปรึกษาการทำ วิจัย วิทยานิพนธ์

ให้บริการคำปรึกษาการทำ วิจัย วิทยานิพนธ์ การศึกษาอิสระ แบบใกล้ชิด ครบวงจร ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ครอบคลุมทุกส่วนประกอบ และกระบวนการทำวิจัย โดยแบ่งออกเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ การเขียนเค้าโครงงานวิจัย (Proposal)– การคิดหัวข้อวิจัย– การกำหนดขอบเขตการวิจัย การจัดทำบทที่ 1 บทนำ– เขียนที่มาและความสำคัญของปัญหา– กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย– กำหนดกรอบแนวคิดและสมมติฐานการวิจัย– การเขียนนิยามศัพท์เฉพาะ– ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำวิจัย การจัดทำบทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง– การศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับการทำวิจัย– สืบค้นวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ที่เพิ่งจัดทำไม่เกิน 5 ปี ทั้งในประเทศและต่างประเทศ การจัดทำบทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย– การกำหนดวิธีดำเนินการวิจัย– การกำหนดประชากร กลุ่มตัวอย่าง– การออกแบบสอบถาม การคิดข้อคำถาม– การทำแบบสอบถามออนไลน์ และการแชร์ลิงก์แบบสอบถามออนไลน์– การทดสอบความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (Validity) ด้วยกระบวนการทดสอบคุณภาพของเครื่องมือวัด (Item-Objective Congruence Index : […]

การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาแนวคิด หลักการหรือทฤษฎีการเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา หรือภูมิหลัง หรือหลักการและเหตุผล เพื่อเล่าให้ผู้อ่านทราบถึง ความเป็นมาของการวิจัย โดยเขียนให้สัมพันธ์กับหลักการและเหตุผลที่ต้องทำการวิจัยเรื่องนั้น ๆ มักอ้างอิงหลักการ แนวคิด และทฤษฎีที่สำคัญ ๆ มาประกอบการบรรยาย ทำให้ผู้อ่านมองเห็นความจำเป็นและสภาพปัญหาของการวิจัย มักจะเขียนเป็นย่อหน้า ๆ ไม่ยืดยาวเกินไป พยายามให้เนื้อความต่อเนื่องกัน มักจะเริ่มจากแนวนโยบาย หลักการ แนวคิด สภาพปัญหา และการแก้ปัญหาการเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาจะต้องเขียนให้เห็นความสำคัญของปัญหาหรือหัวข้อที่จะทำการวิจัย โดยเน้นให้เห็นประเด็นสำคัญๆ ที่จำเป็นมีส่วนเกี่ยวกับปัญหาที่ทำการวิจัยโดยตรง สิ่งที่ควรคำนึงในการเขียนมี ดังนี้1. เขียนให้ตรงประเด็น เหตุผลที่นำเสนอควรเป็นเหตุผลที่นำไปสู่จุดเป็นปัญหาที่จะทำการวิจัย และช่วยชี้ให้เห็นความสำคัญของสิ่งที่จะวิจัย2. ควรใช้ข้อมูลอ้างอิงเพื่อให้เหตุผลนั้นดูมีน้ำหนักสมควรที่จะทำการวิจัย3. ควรเขียนให้เข้าใจง่ายโดยนำเสนอเป็นประเด็นๆ เป็นลำดับต่อเนื่องการเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาอาจมีแนวทางในการเขียนเป็นลำดับขั้นตอน ดังนี้1. ขั้นปัญหา กล่าวถึงสภาพปัญหาที่พบในการจัดการเรียนการสอน หรือสภาพการจัดการเรียนการสอนที่พึงประสงค์ ขั้นวิเคราะห์ปัญหา ระบุถึงสภาพปัญหาของการจัดการเรียนการสอนโดยการวิเคราะห์ปัญหานั้นๆ อย่างรอบคอบ เพื่อชี้ให้เห็นประเด็นของการวิจัย หากมีตัวเลขประกอบให้นำมาระบุด้วย3. ขั้นสรุปแนวทางที่จะแก้ปัญหาหรือพัฒนา ระบุวิธีการหรือนวัตกรรมที่นำมาแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ตัวอย่างความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาปัจจุบันนี้ประเทศไทยมีการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในการสื่อสารทางภาษา ……………..การอ่านเป็นการสื่อสารที่สำคัญของมนุษย์ การอ่านภาษาไทยให้ถูกต้องชัดเจน จะทำให้การสื่อสาร………………..ประกอบกับแผนพัฒนาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระยะที่ 8 ได้กำหนดความจำเป็นของการใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร…………..กระทรวงศึกษาธิการมีเป้าหมายในการ………………….กรมวิชาการจึงได้กำหนดให้วิชาภาษาไทยเป็นวิชาบังคับโดย………..ดังคำกล่าวของ…..กล่าวว่า……………………………….ทำให้เห็นว่าภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติและการสื่อสารให้ถูกต้องจึงเป็นการรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมไทยอีกทางหนึ่งด้วยจากการศึกษาและสำรวจสภาพปัญหาการอ่านของนักเรียน…………โดยวิธีการ…………พบว่า…………………………เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยจึงได้จัดทำ…………………………ขึ้น

3เรื่องที่ต้องรู้ในการสรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

เป็นการกล่าวถึงจุดมุ่งหมาย(หรือหัวข้ออื่น ๆ ด้วย และสรุปผลการวิจัย ซึ่งยนย่อมา จากบทที่ 4 (หากจะอานผลงานวิจัยที่สั้นกว่านี้ก็คืออ่านในบทคัดย่อ สิ่งที่สําคัญมากที่สุดในบทนี้ก็คือ การอภิปรายผล ซึ่งผู้วิจัยต้องแสดงความสามารถใน การวิจารณ์ ถึงเหตุและผลของการวิจัยที่ค้นพบ ว่าที่เป็นเช่นนั้นเพราะอะไร หรือทําไมจึงได้ผล เช่นนั้น ในทางวัดผล ถือเป็นพฤติกรรมขั้นสังเคราะห์ความสัมพันธ์คือทําการวิพากย์ วิจารณ ถึง ผลที่ได้จากการวิจัย ส่วนที่จะสอดคล้องกับผลการวิจัยของใครที่ทํามากอนหน้านี้ก็เอามาเขียนที หลัง ซึ่งไม่สําคัญเท่ากับ การสังเคราะห์ความสัมพันธ์ ข้อเสนอแนะให้กับผู้ที่จะทําวิจัย หรือการนําผลงานวิจัยไปใช้ ต้องเสนอแนะตาม ผล ที่เกิดจากผลของการวิจัยเท้านั้น