ทำวิจัยต้องรู้ ! ความแตกต่างของการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ
เมื่อคุณอยากจะทำวิจัยตลาดอะไรสักอย่าง คุณต้องเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับงานวิจัยก่อน แบ่งเป็นสองประเภท คือ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) ซึ่งเชื่อว่าบางคนยังอาจจะจำสลับ หรือสับสนความเหมือนและความต่างของมันอยู่ ดังนั้นวันนี้ Survey Market Thailand จะมาแชร์ความแตกต่างระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณแบบเข้าใจง่ายๆให้คุณอ่านครับ ก่อนจะรู้ความแตกต่าง เรามาเริ่มเข้าใจความเหมือนกันก่อน ความเหมือนของการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ คือ ทั้งสองอย่าง เป็นวิธีการแสวงหาความรู้ของมนุษย์ เพื่อค้นหาความจริงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อการค้นพบ (Discovering) แปลความหมาย พัฒนาวิธีการหรือระบบอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือพูดง่ายๆว่าเป็น การวิจัยเหมือนกัน ความแตกต่างของการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณคือ กระบวนทัศน์ ข้อสมมุติฐาน วิธีการศึกษา การเลือกกลุ่มตัวอย่าง วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล การสรุปผล มีความแตกต่างกัน การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) หมายถึง การวิจัยที่ศึกษาเพื่อมุ่งอธิบายความหรือปรากฏการณ์ที่ปรากฏตามธรรมชาติ โดยวิธีการอุปนัย โดยปราศจากการควบคุม เป็นพวกธรรมชาตินิยม (Naturalism) หรือปรากฎการณ์นิยม (Phenomenalism) ไม่มีตัวแปรต้น ตัวแปรตาม อาจมีหรือไม่มีทฤษฎีมาก่อน เน้นการศึกษาแบบเจาะลึก เฉพาะกรณีศึกษา กลุ่มตัวอย่างจะมีขนาดเล็กเน้นการศึกษาแบบกรณีศึกษา […]
เทคนิคการเขียนวิทยานิพนธ์ตอนที่ 2: ระเบียบวิธีวิจัย Research Methodology Chapter in MSc Dissertation (UK)
บทที่ว่าด้วยระเบียบวิจัยนั้นมักจะสร้างความเบื่อหน่ายให้หลายๆ คนที่ไม่รู้ว่า จะเขียนอย่างไรไม่ให้เป็นการลอกเลียนแบบหรือ Plagiarism ควรจะต้องเขียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง ควรจะเขียนมากน้อยขนาดไหนจากประสบการณ์ของผมแล้วบท Methodology ควรมีลักษณะดังนี้ครับ เขียนเสมือนหนึ่งว่าเรากำลังเล่าให้ผู้อ่านฟังว่าเราทำวิจัย(วิทยานิพนธ์)นี้อย่างไรจุดประสงค์อย่างหนึ่งของบท Methodology ก็คือ ผู้อ่านสามารถทำวิจัยแบบที่เราทำซ้ำได้อีกครั้ง (Replication) ดังนั้นข้อมูลที่เราจะเขียนลงไปในบทนี้ควรจะมีรายละเอียดที่เพียงพอให้ผู้อ่านสามารถทำได้ดังกล่าว อย่างไรก็ตามเราอาจจะไม่ต้องเขียนไปทุกรายละเอียดแต่เล่าในเชิงขั้นตอนว่าทำอะไรอย่างไรบ้าง เช่น สัมภาษณ์โดยวิธีการใด ตัวต่อตัว หรือ ผ่านโทรศัพท์ หรือผ่าน Skype มีการเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีไหน จำนวนตัวอย่างใช้วิธีใดคำนวณหรือเลือกและสุ่มโดยบังเอิญ หรือ โดยเฉพาะเจาะจงตามความสะดวกหรือการเข้าถึงข้อมูล หากการสัมภาษณ์ใช้แบบสอบถามก็ควรจะมีการแนบแบบสอบถามหรือรายชื่อหัวข้อที่ถามในกรณีที่เป็นการสัมภาษณ์แบบกึ่งเปิดกึ่งปิด โดยควรแนบไว้ที่ภาคผนวก (Appendices) มากกว่าแนบไปในตัวบท เขียนเสมือนหนึ่งว่าเรากำลังอธิบายว่าเราตัดสินใจเลือกและออกแบบกระบวนการต่างๆ ในการทำวิจัยอย่างไรในข้อนี้เป็นการแสดงว่าระเบียบวิธีวิจัยของเรานั้นมีความถูกต้องและเหมาะสมตามหลัก มีแนวทางการเขียนดังนี้2.1 การเลือกระเบียบวิธีวิจัยให้เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับคำถามวิจัยที่ใช้ ไม่ใช่โดยเหตุผลอื่นๆ เช่น เราคำนวณเก่งหรือไม่เก่ง หรือแม้จะอ้างว่ายังไม่มีใครใช้วิธีนี้ในการวิจัยเรื่องนั้นๆ ซึ่งแม้บางทีจะพอรับได้แต่ก็ไม่ถูกต้องตลอดไป ตัวอย่างการเลือกวิธีการวิจัยที่เหมาะสมเช่นก. คำถามวิจัยเริ่มต้นด้วยคำว่า ทำไม… จึงต้องการรายละเอียดที่จะอธิบายสาเหตุดังกล่าวประกอบกับยังไม่มีแนวทางจากงานวิจัยในอดีตมากนักจึงใช้การสัมภาษณ์แบบปลายเปิดแบบเชิงลึก หรือข. คำถามวิจัยเริ่มด้วยคำว่า อะไร… เท่าไหร่ ต้องการคำตอบในเชิงปริมาณครอบคลุมกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ จึงใช้การสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม2.2 การเลือกวิธีการวิจัยอาจจะอ้างอิงจากงานวิจัยในอดีตที่ใกล้เคียงกันเช่นจำนวนตัวอย่างที่เหมาะสม หรือหัวข้อคำถาม หรือกรอบแนวคิดที่มากจากงานวิจัยในอดีต2.3 การเลือกวิธีการวิจัยอาจจะอ้างอิงจากการศึกษาขั้นต้นหากมีโอกาสและเวลาพอ การศึกษาขั้นต้นเช่นกรณีศึกษานำร่อง (Pilot […]
ปัญหา 4 ประการในการเขียนที่มาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย
การเขียนที่มาและความสำคัญของปัญหาการวิจัยนั้นถืิอได้ว่ามีความสำคัญอย่างมากในการที่จะขายงานวิจัยของเราให้กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งอาจจะเป็น ผู้ให้ทุน อาจารย์ที่ปรึกษา หรือ บรรณาธิการของวารสารวิชาการที่เราอยากตีพิมพ์งานของเรา โดยการเขียนให้แต่ละกลุ่มเป้าหมายก็มีความเหมือนและต่างกันออกไป ผมเองก็เคยประสบปัญหาในเรื่องนี้มาก่อนเช่นกัน จึงอยากจะแบ่งปันข้อแนะนำให้ผู้ที่อาจจะกำลังประสบปัญหานี้เหมือนกัน ดังนี้ครับ pควรเริ่มอย่างไรดีผมเห็นหลายๆ งานมักจะเริ่มด้วยการบรรยายขนาดความสำคัญของพื้นที่หรืออุตสาหกรรมที่วิจัยอยู่เช่น GDP ของ ไทย หรือ รายได้หรือจำนวนนักท่องเที่ยว ซึ่งผมคิดว่าไม่น่าดึงดูดใจพอ จริงอยู่ที่ตัวเลขต่างๆ นั้นสามารถบอกขนาดความสำคัญได้ ทว่ากลับเป็นขนาดของภาพรวมพื้นที่ ไม่ใช่ขนาดความสำคัญของงานวิจัยเราดังนั้นสำหรับผมแล้วจะเริ่มที่ปัญหาที่เกิดขึ้นเลย โดยจะไม่บรรยายความสำคัญของพื้นที่มากนัก อาจจะแค่กริ่นเล็กๆ น้อย แล้วเสนอปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นในเชิงวิชาการ หรือ ในภาคปฏิบัติ (งานส่วนใหญ่ผมจะกริ่นด้วยปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นจริงๆ ในกาคปฏิบัติ) ควรจะเขียนมากน้อยขนาดไหนดีทุกครั้งที่เขียนที่มาฯ ผมจะคิดเสมอว่าตัวเองเป็น Sale ขายงานวิจัย ดังนั้นจึงคิดว่า ทำยังไงก็ได้ให้ผู้อ่าน หรือ ผู้ให้ทุน (ลูกค้า) สนใจอ่านงานเรา หรือ ให้ทุนวิจัย (ซื้อของ) ในเวลาที่สั้นที่สุด แต่ต้องใช้ข้อมูลที่เป็นความจริงไม่มีการนั่งเทียนหรือแต่งนิทานมาหลอกเด็ดขาดโดยทั่วไปที่มาฯ ไม่ควรเกิน 5-10% ของงานวิจัย ในวิทยานิพนธ์ สองร้อยกว่าหน้า มีส่วนที่เป็นที่มา เพียง 1-2 หน้าก็เพียงพอแล้ว […]