ผมยังไม่มีความรู้ วิทยานิพนธ์ทํายังไงเลยครับ

“ผมยังไม่มีความรู้ วิทยานิพนธ์ทํายังไงเลยครับ” “ควรเริ่มยังไงดี ผมคิดว่าจะไปหาวิทยานิพนธ์ทํายังไงของคนอื่นมาอ่านๆ ดู หัวข้อ วิธีการทำ มาเป็นแนวทาง ดีเปล่าครับ” ราชบัณฑิตยสภา กล่าวว่า วิทยานิพนธ์ ประกอบด้วยคำว่า วิทยา กับ นิพนธ์. คำว่า วิทยา ในที่นี้ใช้หมายถึง วิชาการ คือ ความรู้ที่เป็นศาสตร์ในสาขาใด ๆ ที่มีการศึกษากัน โดยเฉพาะในระดับบัณฑิตศึกษา. คำว่า นิพนธ์ แปลว่า แต่งหนังสือ. คำว่า วิทยานิพนธ์ จึงแปลว่า หนังสือที่แต่งเรื่องทางวิชาการ. ใช้เรียกผลงานของนักศึกษาระดับปริญญาโทหรือเอก ที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงความรู้ที่ค้นคว้ามาได้ใหม่ เช่น นักศึกษาระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอกต้องศึกษาค้นคว้าความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้ง เมื่อได้ความรู้ใหม่แล้วจึงเสนอเป็นวิทยานิพนธ์เพื่อขอรับปริญญามหาบัณฑิตหรือดุษฎีบัณฑิต วิทยานิพนธ์ในระดับโทและเอก จะแบ่งรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแตกต่างกันตามแต่ละมหาวิทยาลัยเป็นผู้จัดหลักสูตรขึ้นมา ต้องอาศัยการศึกษาวิจัย ฐานข้อมูลงานวิจัย หางานวิจัย ค้นหาวิจัย เว็บวิจัย ส่วนแรกจะเป็นการเรียนการสอนในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรที่ลงทะเบียน เช่น Research methodology พร้อมหาหัวข้อสำหรับทำวิทยานิพนธ์ ส่วนที่สองจะเป็นการทำวิทยานิพนธ์ทํายังไง จะต้องคัดเลือกสถานที่วิจัย ประชากร การกำหนดจำนวนตัวอย่างและสุ่มตัวอย่าง สถิติวิเคราะห์ที่ต้องใช้ […]

จะเริ่มคิดหัวข้อการวิจัย (แล้วนะ)

จะเริ่มคิดหัวข้อการวิจัย (แล้วนะ)PUBLISHED ON พฤษภาคม 29, 2011ปัญหาใหญ่คือ จะเริ่มยังไง .. จะออกแบบการวิจัย (Research Design) อย่างไร จึงจะได้เป็น Ph.D. Candidate (กับเขาสักที) คิดคร่าวๆก่อนว่าจะทำวิจัยเรื่องอะไรดีเรื่องที่จะทำ สำคัญอย่างไร ทำไมต้องทำ ทำแล้วคนจะสนใจมั๊ย ?ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ทบทวนวรรณกรรม (review literature) เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม ให้ครอบคลุมเรื่องที่จะทำ อ่านเยอะๆ อ่านแล้วต้องสังเคราะห์งานวิจัยให้เป็นหาให้เจอว่า อะไรคือ โจทย์วิจัย (ปัญหาวิจัย / คำถามวิจัย)กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย (กำหนดโดยเอาคำถามวิจัยเป็นตัวตั้ง เพื่อบอกจุดมุ่งหมายในการทำวิจัยครั้งนี้ ว่าทำไปเพื่ออะไร ..เช่น เพื่อสำรวจ เพื่อเปรียบเทียบ เพื่ออธิบาย เพื่อประเมิน เพื่อพัฒนา ฯลฯ)เรามีปรัชญาและกระบวนทัศน์ (paradigm) ของการวิจัยเป็นอย่างไร (ภววิทยา Ontology / ญาณวิทยา Epistemology / วิธีวิทยา Methodology) และจะเลือกใช้ทฤษฎีหลักอะไรเป็นเครื่องชี้นำ เพื่อสร้างกรอบแนวคิดหรือโมเดลการวิจัย […]

8 ข้อแนะนำในการเลือกหัวข้อวิจัยปริญญาเอกที่ “ใช่”

8 ข้อแนะนำในการเลือกหัวข้อวิจัยปริญญาเอกที่ “ใช่” เริ่มต้นจากความรักและชอบ หรือ มีที่มาจากภูมิหลัง ความรู้ และทักษะที่ผู้เรียนมีความถนัดหรือสนใจ เพราะผู้เรียนต้องอยู่กับวิจัยนี้เป็นระยะเวลานาน หัวข้อที่ “ใช่” ควรเป็นเรื่องที่ผู้เรียนมี ฉันทะ หรือ ใจที่รักในหัวข้อนั้น ต้องมีความชัดเจน มีประเด็นหลักเพียงประเด็นเดียว อย่าศึกษาหลายประเด็น เพราะเพียงแค่ประเด็นเดียวกับการศึกษาให้ได้ลึกซึ้งตามมาตรฐานของปริญญาเอกก็ท้าทายมากพอแล้ว ยิ่งผู้เรียนมองเห็นภาพชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้นได้มากเพียงใด ก็ยิ่งสะท้อนความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จ ลองตั้งคำถามแล้วตอบให้ได้ว่า หัวข้อวิจัยที่จะทำนี้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม และ อย่างไร เมื่อนำคำตอบทุกข้อมารวมกันแล้วดูมีเหตุผล มีความเชื่อมโยง ก็น่าจะมั่นใจได้ในระดับหนึ่ง ในช่วงการเลือกหัวข้อ ควรคิดให้รอบ มองให้ทะลุ เพราะการคิดให้เยอะตั้งแต่แรกจะช่วยให้เหนื่อยน้อยลงระหว่างการลงมือทำ 4.ไม่จำเป็นต้องคิดหัวข้อที่ยิ่งใหญ่ หรูหรา อลังการ โดยหวังว่ายิงปืนนัดเดียว จะได้ทั้งใบปริญญาและรางวัลโนเบล ควรเลือกหัวข้อที่มีขนาดพอเหมาะสามารถทำให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด ส่วนการคว้ารางวัลระดับโลกนั้น ค่อยทำเมื่อเรียนจบปริญญาเอกแล้วก็ยังไม่สาย ผู้เรียนควรพิจารณาความเป็นไปได้ในแง่ของการเก็บข้อมูล การลงพื้นที่วิจัย และประชากร ผู้ให้ข้อมูล ต้องพิจารณาว่าเป็นหัวข้อที่มีข้อมูลสนับสนุนเพียงพอ ข้อมูลต่างๆสามารถเผยแพร่ได้ และผู้เรียนสามารถเข้าถึงซึ่งแหล่งที่มาของข้อมูลได้ เป็นต้น หัวข้อวิจัยที่ “ใช่” […]

การกำหนดหัวข้อการวิจัยชั้นเรียน

การกำหนดหัวข้อการวิจัยชั้นเรียนแนวคิด หลักการหรือทฤษฎีปัญหาที่นำมาเป็นหัวข้อการวิจัยควรอยู่ในความสนใจของผู้วิจัย เหมาะสมกับงานและความสามารถในการทำเครื่องมือ การเก็บข้อมูล กำลังเงิน ระยะเวลาและผลที่จะได้รับ การตั้งชื่อหัวข้อวิจัยควรกะทัดรัด ให้มองเห็นลักษณะ ของตัวแปรที่จะศึกษาอย่างชัดเจน จะต้องครอบคลุมลักษณะของสิ่งที่จะศึกษาเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา การเรียนการสอนในชั้นเรียนได้หัวข้อการวิจัยถ้าอยู่ในกรอบของความมุ่งหมายของการศึกษา ค้นคว้า ขอบเขตของการวิจัย และคำจำกัดความของปัญหา จะทำให้หัวข้อของการวิจัยมีความเหมาะสม ตลอดจนสามารถตอบคำถามหลัก และคำถามรองที่เราต้องการทราบได้เป็นอย่างดีชื่อเรื่องการวิจัยต้องตรงกับปัญหาการวิจัย มีความชัดเจนทางด้านภาษา ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ทันทีว่าจะทำอะไร โดยไม่ต้องตีความอีก ชื่อเรื่องที่ดีควรระบุว่าจะทำอะไร (ตัวแปร) กับใคร (กลุ่มตัวอย่าง) ที่ไหน (สถานที่) อย่างไร (วิธีดำเนินการ) เมื่อไร (เวลา) แต่ชื่อเรื่องการวิจัยต้องไม่ยาวเกินไป ชื่อเรื่องควรขึ้นต้นด้วยคำนาม และชื่อเรื่องควรระบุประเภทการวิจัยหรือจุดมุ่งหมายการวิจัยการตั้งชื่อเรื่องในการวิจัยควรประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้1. ตัวแปรที่จะศึกษา หรือตัวแปรตามที่สนใจในการวิจัย เช่น ความพึงพอใจ บทบาท ปัญหา การรับรู้ เป็นต้น2. ประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างที่จะศึกษา เช่น นักศึกษาสถาบันราชภัฏลำปาง สมาชิกสภาเทศบาล กรรมการกองทุนหมู่บ้าน นักเรียน3. วิธีในการวิจัย เช่น การสำรวจ การเปรียบเทียบ การหาความสัมพันธ์ การศึกษา เป็นต้น4. สถานที่ศึกษา […]

การตั้งชื่อหัวข้อศึกษาค้นคว้า

การตั้งชื่อหัวข้อศึกษาค้นคว้าการคิดหัวข้อ และการกำหนดชื่อเรื่องผู้เขียน: วิจิตร ณัฏฐการณิก ค.บ., ศษ.ม. ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนหอวัง การคิดหัวข้อการคิดหัวข้อ หรือการกำหนด “ชื่อเรื่อง” ของปัญหาที่จะทำการศึกษาค้นคว้าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของการค้นคว้าอิสระ การคิดหัวข้อ หรือ “ชื่อเรื่อง” มีหลักเกณฑ์ดังนี้ คิดหัวข้อ และเลือก “ชื่อเรื่อง” ด้วยตนเอง คิดหัวข้อ หรือ “ชื่อเรื่อง” จากประเด็นปัญหา ข้อสงสัย คำถาม หรือเรื่องที่อยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ของตนเอง คิดหัวข้อ หรือ “ชื่อเรื่อง”ให้มีความเฉพาะเจาะจงและชัดเจน โดยต้องระบุชัดว่าจะค้นคว้าอะไร หากเป็นเรื่องแปลกใหม่ หรือมีแนวการศึกษาทดลองที่แปลกใหม่ ต้องเป็นสิ่งซึ่งแสดงออกถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ด้วย คำนึงถึงเป็นประโยชน์ของเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้า และเป็นการเพิ่มคุณค่าของผลงงานการค้นคว้าอิสระมากยิ่งขึ้น แหล่งที่มาของชื่อเรื่อง“ชื่อเรื่อง” ในการค้นคว้าอิสระอาจมีที่มาจากแหล่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ จากการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น ตำรา หนังสือพิมพ์ วารสาร เอกสารเผยแพร่ เป็นต้นไม่เฉพาะแต่เรื่องราวทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น จากการไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ เช่น วนอุทยาน สวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์ โรงงานอุตสาหกรรม สถานที่เพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ […]

คิดหัวข้องานวิจัย วิทยานิพนธ์ เกี่ยวกับ COVID-19 อย่างไรดี?

คิดหัวข้องานวิจัย วิทยานิพนธ์ เกี่ยวกับ COVID-19 อย่างไรดี?“การเริ่มต้นยากเสมอ” โดยเฉพาะผู้ที่กำลังคิดหัวข้อในการทำวิจัย วิทยานิพนธ์ การศึกษาอิสระ ที่จะไปนำเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษา โดยเฉพาะในช่วงนี้ มักจะมีคีย์เวิร์ดเพิ่มเติม อย่างคำว่า “COVID-19″ หรือ “โควิด-19” สอดแทรกไปอยู่ในหัวข้องานวิจัยด้วย โดยเฉพาะหัวข้อวิจัยของ บริหารธุรกิจ ใน ระดับปริญญาโท (MBA) และ ปริญญาเอก (DBA) ดู สำหรับใครที่ยังนึกหัวข้อไม่ออก ลองอ่านบทความนี้จาก Beary Research ให้จบ อาจจะพบแนวทาง ปิ๊ง หัวข้องานวิจัย หัวข้อวิทยานิพนธ์ ดี ๆ เด็ด ๆ ให้ไปนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษาได้ ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องก่อนคิดหัวข้อแต่ก่อนจะมาคิด หัวข้อการวิจัย หัวข้อวิทยานิพนธ์ ที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 เราต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า COVID-19 สร้างความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง โดยเฉพาะพฤติกรรมผู้บริโภค โดยข้อมูลจาก เว็บไซต์ กรุงเทพธุรกิจ ที่อ้างอิงผลการศึกษาจากรายงานของ ไอดีซี คอนซูเมอร์ ดีไวซ์ […]

การเลือกหัวข้อการทำวิจัย

หัวข้อการทำวิจัย คือ ปัญหาที่ผู้วิจัยสงสัย สนใจ ใคร่รู้คำตอบ หัวข้อปัญหายังเป็นหัวข้อกว้าง ๆ ที่บอกได้ว่าผู้วิจัยสนใจศึกษาเรื่องใดบ้าง ซึ่งบางทีอาจเรียกกันว่า Problem area ตัวอย่างหัวข้อปัญหาเช่น ภาพพจน์ของสถาบันราชภัฏลำปาง พฤติกรรมทางเพศของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ผลสัมฤทธิ์ของการสอนโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ขวัญและกำลังใจของครูจากโครงการคุรุทายาท การจำคำ การสอนแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เป็นต้น จะเห็นว่าหัวข้อปัญหายังจะไม่เฉพาะเจาะจงลงไปอย่างชัดเจนว่าเป็นปัญหาอย่างไร และหัวข้อปัญหาก็ยังไม่ใช่ชื่อเรื่องของการวิจัยเพราะชื่อเรื่องของการวิจัยนั้นต้องแสดงออกถึงความชัดเจนและเฉพาะเจาะจงมากกว่านี้การเลือกหัวข้อปัญหาเป็นการตัดสินใจว่าสนใจจะวิจัยหาคำตอบเกี่ยวข้อง กับเรื่องอะไร ตามปกติแล้วคนเรามักมีเรื่องที่สงสัยใคร่หาคำตอบในคราวเดียวกันอยู่หลายเรื่อง แต่การที่จะทำวิจัยเพื่อหาคำตอบในทุกหัวข้อเรื่องที่สงสัยในการวิจัยคราวเดียวกันเป็นเรื่องที่เกินวิสัยจะทำได้ การวิจัยแต่ละครั้งจะตอบปัญหาได้เพียงเรื่องเดียวเท่านั้น ดังนั้นในการวิจัยครั้งหนึ่งๆ นักวิจัยจะต้องตัดสินใจเจาะจงเลือกให้แน่นอนว่าสนใจจะตอบปัญหาเกี่ยวกับเรื่องใด การตัดสินใจเลือกหัวข้อปัญหาจึงเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากเพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการวิจัยถ้านักวิจัยตัดสินใจพลาดในขั้นตอนนี้ อาจส่งผลให้การวิจัยในขั้นตอนอื่นๆ ติดขัดหรือมีอุปสรรคไปด้วย และที่หนักที่สุดก็อาจถึงกับทำให้งานวิจัยนั้นต้องล้มเลิกกลางคันเลยก็ได้ การเกิดปัญหาวิจัยเรื่องที่จะเป็นปัญหาวิจัยนั้นจะแตกต่างจากปัญหาอื่นๆ เนื่องจากการวิจัยเป็นการแสวงหาความรู้หรือคำตอบให้กับปัญหาวิจัย ดังนั้นปัญหาวิจัยก็คือ สิ่งที่นักวิจัยไม่รู้และสนใจใคร่รู้คำตอบ เมื่อวิจัยแล้วจะได้ผลลัพธ์คือคำตอบของปัญหาหรือความรู้ ปัญหาเช่นนักเรียนแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ไม่ได้ ปัญหานักเรียนไม่ตั้งใจเรียน ปัญหาครูมีหนี้สินล้นพ้นตัว เช่นนี้ไม่ใช่ปัญหาวิจัยเพราะผลลัพธ์จากการปัญหาเช่นนี้ไม่ใช่ข้อความรู้แต่จะเป็นสภาวะที่หมดปัญหา เช่น นักเรียนแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ได้ นักเรียนตั้งใจเรียนมากขึ้น หรือครูปลอดจากหนี้สิน เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามปัญหาเหล่านี้อาจนำไปสู่ปัญหาการวิจัยได้ กล่าวคือการที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นอาจจำเป็นต้องมีความรู้อะไรบางอย่างที่เรายังไม่รู้ และความรู้นี้จะได้มาก็ต้องทำวิจัย คำตอบหรือข้อความรู้จากการวิจัยจะใช้เป็นสารสนเทศประกอบการตัดสินใจแก้ปัญหาเหล่านั้นปัญหาที่นักวิจัยสนใจใคร่รู้คำตอบอาจจะเกิดขึ้นได้หลายลักษณะ เช่น เกิดความสงสัยในทฤษฎี ทฤษฎีคือข้อเสนอ (Proposition) ที่เกิดจากการคิดหรือจินตนาการอย่างมีเหตุผลเพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ความสงสัยในทฤษฎีอาจเกิดจากก. […]

การคิดหัวข้อวิจัย แบบไม่ได้เริ่มต้นที่ทฤษฎี 100 % ทำได้หรือไม่

การคิดหัวข้อวิจัย แบบไม่ได้เริ่มต้นที่ทฤษฎี 100 % ทำได้หรือไม่.“From Theory-driven to Problem-driven or Data-driven Research”.วันนี้จะพักเรื่องเกี่ยวกับสถิติและกลับมาพูดกันถึงการวิจัยสักนิด โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคิด Research Idea หรือ Research Question หลายครั้งเรามักติดกับดักความคิดที่ทำให้เราไม่สามารถทำวิจัยต่อได้ เพราะอ้างว่าหาหัวข้อการวิจัยไม่ได้ หรือหัวข้อการวิจัยไม่ดีพอเราจึงหยุดทำต่อไป.ต้องยอมรับว่าการหาไอเดียการวิจัยโดยอ้างอิงการ Challenge Assumption ของทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งต้องใช้เวลาและอาศัยการสเคราะห์ที่ลึกซึ้ง ในความจริงแล้วการคิดหัวข้อวิจัยอาจไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นที่ทฤษฎีก่อนเสมอไป การเริ่มหัวข้อการวิจัยอาจเริ่มที่การวิเคราะห์ข้อมูลหรือปัญหาในการนำไปใช้ได้.นักวิชาการ/นักวิจัยสามารถเริ่มต้นคิดไอเดียการวิจัยได้โดยวิธีอื่นๆ ในที่นี่จะกล่าวถึง 2 วิธี คือ. Data-driven Research คือ การหาหัวข้อการวิจัยโดยให้ข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นตัวผลักดันและคิดหัวข้อวิจัย หัวใจของวิธีนี้ คือ การหาหัวข้อและไอเดียโดยให้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นตัวเล่าเรื่อง สร้างแนวคิดวิจัยใหม่ในหัวข้อที่สนใจ อาจจะเป็นการทดสอบแนวคิดวิจัยใหม่ๆ ที่นักวิจัยยังไม่เคยทดสอบ เริ่มต้นการวิเคราะห์โดยข้อมูลที่มีอยู่ ทำการวิเคราะห์โดยปราศจากคำถามวิจัยใดใด ข้อมูลประเภท Big Data และ Data Analytics เหมาะที่จะทำการวิเคราะห์และค้นหาหัวข้อการวิจัยในมุมนี้.การวิจัยแบบ Data-driven research จะแตกต่างจาก Problem-drive research คือ จะเป็นการวิจัยที่ทำการเก็บข้อมูลหรือใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้ว […]

เทคนิคในการหาหัวข้อวิจัยและการตั้งชื่อเรื่องวิจัย

และทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในปัญหา รวมทั้งวิธีการดำเนินการวิจัยของผู้วิจัยอีกด้วย ดังนั้นการตั้งชื่อเรื่องวิจัยจึงต้องเขียนให้ชัดเจน เข้าใจง่ายไม่เขียนอย่างคลุมเครือ****ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงต้องระมัดระวังในการตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้เหมาะสม ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้ ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้สั้น โดยใช้คำที่เฉพาะเจาะจง หรือสื่อความหมายเฉพาะเรื่อง และควรเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย กะทัดรัด แต่ชื่อเรื่องก็ไม่ควรจะสั้นเกินไปจนทำให้ขาดความหมายทางวิชาการ ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้ตรงกับประเด็นของปัญหา เมื่อผู้อ่านอ่านแล้วจะได้ทราบว่าเป็นการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาอะไรได้ทันที อย่างตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ทำให้ผู้อ่านตีความได้หลายทิศทาง และอย่าพยายามทำให้ผู้อ่านเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเกินความเป็นจริง ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยโดยการใช้คำที่บ่งบอกให้ทราบถึงประเภทของการวิจัย ซึ่งจะทำให้ชื่อเรื่องชัดเจน และเข้าใจง่ายขึ้น เช่น3.1 การวิจัยเชิงสำรวจ มักใช้คำว่า การสำรวจ หรือการศึกษาในชื่อเรื่องวิจัยหรืออาจระบุตัวแปรเลยก็ได้ เช่น การศึกษาการใช้สารเคมีของชาวอีสานหรือการสำรวจการใช้สารเคมีของชาวอีสาน หรือการใช้สารเคมีของชาวอีสานเป็นต้น3.2 การวิจัยเชิงศึกษาเปรียบเทียบ การตั้งชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะนี้มักจะใช้คำว่า การศึกษา เปรียบเทียบ หรือการเปรียบเทียบ นำหน้า เช่นการศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านของนักเรียนในเขตและนอกเขตเทศบาล ของจังหวัดมหาสารคาม3.3 การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ การวิจัยประเภทนี้จะใช้คำว่า การศึกษาความสัมพันธ์ หรือความสัมพันธ์ นำหน้าชื่อเรื่องวิจัย เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งกับพ่อแม่และการปรับตัวของวัยรุ่น เป็นต้น3.4 การวิจัยเชิงการศึกษาพัฒนาการ การวิจัยประเภทนี้มักใช้คำว่าการศึกษาพัฒนาการหรือพัฒนาการ นำหน้าชื่อเรื่องวิจัย เช่น การศึกษาพัฒนาการด้านการเขียนของเด็กก่อนวัยเรียนในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม3.5 การวิจัยเชิงทดลอง การตั้งชื่อเรื่องวิจัยประเภทนี้อาจตั้งชื่อได้แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของการทดลอง เช่น อาจใช้คำว่า การทดลอง การวิเคราะห์การสังเคราะห์ การศึกษา การเปรียบเทียบ […]