<strong>7</strong><strong> สิ่งที่ไม่ควรทำ ก่อนการเลือกปัญหางานวิจัย</strong><strong></strong>

การเลือกประเด็นปัญหางานวิจัยเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะต้องมั่นใจว่าสามารถทำการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาในเรื่องนั้นให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี หากเลือกโดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสมในด้านต่างๆ อาจจะส่งผลทำให้เกิดปัญหาและความท้อในการทำงานวิจัยต่อไปได้ ดังนั้นเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น ทางเราขอเสนอ 7 สิ่งที่ไม่ควรทำ ก่อนการเลือกปัญหางานวิจัย ดังนี้ 1. ไม่ควรทำการรวบรวมข้อมูลก่อน โดยที่ยังไม่ได้จำกัดความของหัวข้อปัญหาอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะทำงานอะไรคุณควรทำการวางแผน และกำหนดเป้าหมายในชัดเจนเสียก่อน สำหรับการทำงานวิจัยก็เช่นเดียวกัน คุณไม่ควรรวบรวมข้อมูลก่อน 2. ไม่ควรกำหนดปัญหางานวิจัยจากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว ข้อที่ 2 นี้ก็เช่นเดียวกัน คุณไม่ควรทำการกำหนดปัญหางานวิจัยจากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว เพราะการที่คุณตั้งปัญหางานวิจัยจากข้อมูลที่มีอยู่เท่านั้น จะทำให้คุณได้ผลงานวิจัยที่มีแต่ประเด็นปัญหาเดิมๆ ที่ไม่แตกต่างจากงานวิจัยของผู้วิจัยอื่น 3. ประเภทงานวิจัย หรือจุดมุ่งหมายหัวข้อปัญหางานวิจัยที่คาดเคลื่อน คุณควรกำหนดลักษณะประเภทงานวิจัยให้แน่ชัด เพราะจะทำให้การกำหนดจุดมุ่งหมายในการศึกษาแหล่งของข้อมูลงานวิจัย รวมถึงการออกแบบเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและทำการวิเคราะห์แปลผลข้อมูลมีความชัดเจน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาด หรือคำตอบที่คาดเคลื่อนในการสรุปผลในงานวิจัยได้ 4. ไม่ควรตั้งปัญหางานวิจัย โดยที่ไม่ศึกษาผลงานวิจัยของผู้อื่นที่คล้ายๆ กัน ในการกำหนดหัวข้อปัญหางานวิจัยแต่ละครั้ง หลังจากคุณทราบลักษณะประเภทของงานวิจัยแล้ว คุณควรทำการศึกษาผลงานวิจัยของผู้อื่น หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่เคยทำการวิจัยในหัวข้อประเด็นปัญหางานวิจัยคล้ายๆ กับหัวข้อปัญหาในงานวิจัยที่คุณกำลังสนใจ 5. ผู้วิจัยขาดความรู้ในสาขาวิชานั้นๆ สำหรับข้อนี้เป็นปัญหาใหญ่สำหรับผู้วิจัยหลายๆ ท่าน คือ การขาดความรู้ในสาชาวิชานั้นๆ ซึ่ง “ความรู้” ในที่นี้คือ ขาดความรู้พื้นฐานทางทฤษฎีสำหรับหลักการทำงานวิจัยส่งผลทำให้เกิดปัญหาต่างๆ หลายอย่างตามมา 6. […]

<strong>7 ขั้นตอน เขียนวิทยานิพนธ์บทที่ 1 ให้ผ่านฉลุย !</strong><strong></strong>

การเขียนบทที่ 1 ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการทำวิทยานิพนธ์ มีหลักการว่าวิทยานิพนธ์ที่ทำมีความสำคัญและปัญหาอย่างไรถึงต้องทำเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องนี้ การแสดงให้เห็นถึงปัญหาที่ชัดเจน มีส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนี้ ภูมิหลัง จุดมุ่งหมายของการวิจัย ความสำคัญของวิจัย กรอบแนวคิด ขอบเขตของงานวิจัย ท่านจะสามารถนำ 7 ขั้นตอน เขียนวิทยานิพนธ์บทที่ 1 ให้ผ่านฉลุย ดังต่อไปนี้ไปประยุกต์ใช้ได้ 1. การเขียนภูมิหลังที่ดี ภูมิหลังจะทำหน้าที่แนะนำให้ผู้อ่านงานได้รู้ความเป็นมา หลักเหตุผล ความสำคัญ และปัญหาของวิทยานิพนธ์ เป็นการตอบคำถามที่ว่าทำไมถึงทำเรื่องนี้ขึ้นมา โดยทั่วไปจะเขียนประมาณ 3-5 หน้า และจะมีย่อหน้าไม่เกิน 7 ย่อหน้า ให้มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับชื่อเรื่องที่ทำ ต้องชี้ถึงปัญหาความสำคัญชัดเจน ชี้ถึงแนวโน้มในอนาคต ภูมิหลังที่ดีต้องอยู่ในกรอบของวิจัย ให้ภาษาที่ถูกต้องในการเขียน การเขียนภูมิหลังไม่มีกฏเกณฑ์ที่ตายตัวของแค่ความชัดเจนสั้นได้ใจความที่สำคัญชี้ถึงปัญหา และให้อยู่ในกรอบของการวิจัยที่ตั้งไว้ 2. การเขียนวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายของงานวิจัย การตั้งจุดมุ่งหมายจะตั้งเป็นข้อหรือไม่เป็นข้อก็ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่จะทำการศึกษา จุดมุ่งหมายของงานวิจัยมาจากเรื่อง และตัวแปรของการวิจัยเอามาตั้งเป็นจุดมุ่งหมาย ส่วนให้การตั้งจุดมุ่งหมายจะขึ้นต้นด้วยคำว่า “เพื่อ…” แล้วตามด้วยชื่อวิจัย การตั้งจุดมุ่งหมายต้องมีความชัดเจนเข้าใจง่ายไม่ซ้ำซ้อน เป็นประโยคบอกเล่า สามารถตรวจสอบหรือทดสอบได้ และมีความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นหรือหัวข้อจุดมุ่งหมายของวิจัย 3. การเขียนความสำคัญของการวิจัย เป็นตัวที่บ่งชี้ว่าหลังจากที่ทำเสร็จแล้วจะได้อะไรจากงานบ้าง […]