<strong>7 </strong><strong>เทคนิคพรี</strong><strong>เซนต์</strong><strong>งานยังไงให้ดูเป็นมืออาชีพ</strong>
ทักษะการนำเสนอและพูดในที่สาธารณะนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญในชีวิตของการทำงานเนื่องจากเรามักต้องพรีเซนต์งานหรือเรียนอยู่เสมอๆ และวันนี้เราได้รวบรวม 7 เทคนิคพรีเซนต์งานยังไงให้ดูเป็นมืออาชีพ มาให้คุณได้เตรียมพร้อมกัน เทคนิคเหล่านี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารของการนำเสนองานให้ดูมั่นใจและน่าเชื่อถือในการพูดต่อหน้าคนอื่นมากยิ่งขึ้น 1. เริ่มด้วย “ทำไม” วัตถุประสงค์ในการนำเสนอครั้งนี้คืออะไร คุณต้องการจะโน้มน้าวผู้ฟังให้เชื่อคุณเรื่องอะไร หรืออยากให้เขาทำอะไร และประโยชน์ที่ผู้ฟังจะได้รับจากคุณคืออะไร 2. ทำความรู้จักกับกลุ่มผู้ฟัง การทำการบ้านเกี่ยวกับกลุ่มผู้ฟังก่อนเสมอ หากคุณรู้ว่าพวกเขาเชื่อและสนใจในสิ่งใดบ้าง มันจะเอื้อประโยชน์เป็นอย่างมากในการนำเสนอและโน้มน้าวผู้ฟัง และคุณสามารถปรับสไตล์การพูด คำพูดที่ใช้ให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟังได้อีกด้วย 3. นำเสนอด้วยภาพและคงความเรียบง่าย ควรใช้ภาพเป็นสื่อในการนำเสนอข้อมูลแทนข้อความยาวๆและตัวเลขทางสถิติต่างๆ เพราะข้อมูลที่คุณต้องการนำเสนอนั้นจะเป็นที่จดจำมากกว่าหากเป็นภาพที่น่าสนใจ และควรหลีกเลี่ยงการใส่ข้อมูลที่มากเกินไป พยายามใช้ข้อความในแต่ละสไลด์ให้ กระชับและชัดเจน 4. บอกเล่าด้วยเรื่องราว และเป็นตัวเอง การพรีเซนต์งานด้วยข้อมูลหนักๆและตัวเลขทางสถิติอาจจะทำให้คุณดูมีความรู้แต่แน่นอนว่าอาจไม่มีใครจำสิ่งที่คุณพูดได้ ในทางกลับกัน การบอกเล่าด้วยเรื่องราว อารมณ์ และมุ่งเน้นความสนใจกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะทำให้ผู้ฟังจดจำได้ดีกว่า 5. ฝึกซ้อมเพื่อเตรียมความพร้อมเสมอ หลายคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า “Practice makes perfect” กันมาแล้ว ฉะนั้นคุณควรฝึกซ้อมการพรีเซนต์ให้มากเท่าที่คุณทำได้ พร้อมทั้งทบทวนเนื้อหาและจดจำลับดับของสไลด์ให้ดี คุณอาจใช้วีดีโอบันทึกภาพขณะที่ฝึกซ้อมเอาไว้ เพื่อดูจุดบกพร่องและนำมาแก้ไขต่อไป นอกจากนั้นแล้ว คุณไม่ควรอ่านจากสไลด์หรือสคริปท์โดยตรง แต่ควรใช้เพียงโน๊ตสั้นๆและเล่าด้วยจังหวะที่เป็นธรรมชาติ 6. ลองใช้กฎ “10 นาที” ผู้ฟังอาจหมดความสนใจหากคุณพูดนานเกินไป ลองใช้กฎ “10 นาที” มาปรับใช้กับการพรีเซนต์งานของคุณ โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนๆ แต่ละส่วนไม่ควรพูดนานเกิน 10 นาที จากนั้นอาจเว้นด้วยการให้รับชมภาพประกอบ หรือวีดีโอ แล้วจึงนำเสนอเนื้อหาในส่วนถัดไป 7. มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ฟัง หากคุณพูดเพียงคนเดียวเป็นเวลานานๆ ผู้ฟังอาจเกิดความเบื่อหน่ายได้ ฉะนั้นคุณอาจลองให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมโดยการเปิดโอกาสให้ออกความเห็นหรือตั้ง คำถามบ้าง เพื่อดึงสติผู้ฟัง และเช็กว่าผู้ฟังยังคงจดจ่ออยู่กับการนำเสนอของคุณ
<strong>เทคนิคแก้ภาวะ </strong><strong>BURNOUT SYNDROME</strong>
เชื่อว่าทุกคนต้องเคยเจอปัญหานี้อย่างแน่นอน หรือถ้าใครไม่รู้ว่าอาการมันเป็นยังไงมาทำความรู้จักกัน BURNOUT SYNDROME ภาวะการหมดไฟคืออะไร? BURNOUT SYNDROME คือ ภาวะการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจที่เกิดจากความเครียด จนบางครั้งรู้สึกมีความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ เบื่อหน่าย ไม่หยิบจับทำอะไร รู้สึกสูญเสียพลังงานทางจิตใจ มองงานที่กำลังอยู่ในเชิงลบ ขาดความสุข สนุกในเนื้องาน หมดแรงจูงใจประสิทธิภาพการทำงานต่ำลง บางรายอาจรู้สึกเหินห่างจากเพื่อนร่วมงาน จนทำให้ความมีความรู้สึกหมดเรี่ยวแรงไม่อยากทำอะไร ไม่มีอารมณ์เขียนงานวิจัย พฤติกรรมที่จะทำให้เราเป็น BURNOUT SYNDROME มันเป็นความอ่อนล้าทางอารมณ์ จิตใจ และร่างกายจากการที่เราต้องเผชิญหน้ากับงานที่หนักมากก และเครียดติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น ●เขียนงานหนักมาก ติดกันหลายๆวัน ในเวลาอันจำกัด อาจารย์เร่งจนไฟรนก้นแล้วค่ะ ●เขียนไปโดยไร้จุดหมาย ไร้ความมั่นใจ ไม่รู้เลยว่ามันถูกต้องหรือไม่ เขียนไปอย่างงั้นแหละไม่มีใครอนุมัติได้เลย ต้องรออาจารย์อย่างเดียว ●ระบบจัดเรียงลำดับความสำคัญเริ่มพังง งงไปหมด ทำอะไรก่อนดี แก้อันไหนก่อนดี ●รู้สึกว่าแก้เท่าไหร่ก็ไม่เห็นจะผ่านเลย ไม่เห็นอนาคตของตัวเองที่จะผ่านได้เลยด้วย โดยภาวะเริ่มแรกจะเกิดขึ้นเมื่อน้องๆ รู้สึกว่าตัวเองรับมือกับงานต่างๆ ไม่ไหวอีกต่อไป จนอยากจะเท! เท!! เททุกอย่าง!!! ซึ่งหากเรามีพฤติกรรมเหล่านี้ มันจะส่งผลถึงผลเสียตามาม ดังนี้เลย ●เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวแรง ●ปวดเมื่อย ปวดไมเกรนบ่อยๆ ●นอนไม่หลับ […]