4 เทคนิคคิดหัวข้อ IS ตั้งยังไงให้ผ่านฉลุย

ในระดับการศึกษาปริญญาโทนอกจาการทำวิทยานิพนธ์ (Thesis) สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่จะต้องจัดทำ คือ การค้นคว้าอิสระ หรือการทำ is (independent study) ซึ่งบทความนี้เราจะมาพูดถึงเทคนิคการตั้งหัวข้อ is อย่างไรถึงผ่านง่าย เป็นขั้นตอนง่ายๆ ที่คุณสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง พบกับ 4 เทคนิคคิดหัวข้อ is ตั้งยังไงให้ผ่านฉลุย

เทคนิคที่ 1 คิดหัวข้อจากปัญหาและความสงสัยในเรื่องที่ตนเองสนใจ

การตั้งหัวข้อ is เริ่มจากปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมรอบตัว หรือมีสิ่งที่คุณสงสัยต้องการหาคำตอบของเรื่องนั้นๆ โดยเริ่มต้นจากตัวของผู้ที่จะทำนั่นเอง หัวข้อที่ดีต้องไม่ซ้ำกับเรื่องที่มีผู้ทำก่อนนี้แล้ว เนื่องจากจะไม่สามารถตอบโจทย์และแก้ปัญหาของตนเองที่ต้องการรู้ได้

เทคนิคที่ 2 ชื่อเรื่องที่แปลกใหม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

หัวข้อที่มีความแปลกใหม่และแตกต่างจากเรื่องที่เคยมีผู้ทำมาแล้ว มีโอกาสที่จะทำให้การเสนอหัวข้อ is ต่ออาจารย์ที่ปรึกษาผ่านการขออนุมัติได้ง่ายขึ้น เพราะการตั้งหัวข้อแบบเดิมๆ ที่มีคนทำมาแล้วไม่สามารถดึงดูดความสนใจและเห็นความแตกต่างจึงทำให้มีโอกาสผ่านการอนุมัติได้ยาก

เทคนิคที่ 3 หัวข้อเรื่องต้องมีความชัดเจนว่าต้องการค้นคว้าอะไร

หัวข้อการทำ is จะต้องกำหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการค้นคว้าให้ชัดเจน เช่น ศึกษาอะไร มีกลุ่มประชากร กลุ่มตัวอย่างเท่าไหร่ ทำที่ไหน อย่างไร ระเบียบวิธีการศึกษาค้นคว้ามีว่าอย่างไรบ้าง

เพราะชื่อหัวข้อเปรียบเสมือนแนวทางที่กำหนดแผนการในการทำงานที่ดีตั้งแต่เริ่มต้น เพราะหากไม่มีแนวทางที่ดีและชัดเจน ในการลงมือปฏิบัติจริงจะทำให้เกิดความสับสน ทำงานซ้ำซ้อนไปมา ทำให้เสียเวลาไปโดยใช่เหตุ ยิ่งกว่านั้นอาจจะต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด ทำให้งบประมาณที่ใช้เกินความจำเป็น และระยะเวลาในการทำ is ล้าช้าตาม

เทคนิคที่ 4 เป็นหัวข้อเรื่องที่มีประโยชน์ และสร้างคุณค่า

การตั้งหัวข้อการทำ is นอกจากเป็นเรื่องที่ทำเพื่อให้จบการศึกษาตามหลักสูตรแล้ว สิ่งที่บ่งบอกว่างานศึกษาค้นคว้านั้น เป็นเรื่องที่ทำแล้วไม่สูญเปล่า คือ เป็นเรื่องที่สร้างคุณประโยชน์ให้กับสังคม และประเทศชาติ สามารถนำมาช่วยแก้ปัญหาสังคมให้ดีขึ้น

และนี่คือ 4 เทคนิคคิดหัวข้อ is ตั้งยังไงให้ผ่านฉลุย หวังว่าเพื่อนจะสามารถนำไปปรับใช้ให้ตัวเองทำ is ของตัวเองง่ายขึ้นและผ่านฉลุยนะคะ หากติดปัญหาใดๆเกี่ยวกับงานวิจัยสามารถปรึกษาเรา Researcher Thailand ได้เลยค่ะ

Credit:

https://bit.ly/3ymE9Zz

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

งานวิจัยเผย : คนที่ทำตัวแปลกๆ หาแฟนง่ายกว่าคนธรรมดา

งานวิจัยเผย : คนที่ทำตัวแปลกๆ หาแฟนง่ายกว่าคนธรรมดา

จากการศึกษางานวิจัยเผยว่า คนที่ทำตัวแปลกๆหรือทำตัวประหลาดแตกต่างจากคนปกติ หรือคนที่มีคาแร็คเตอร์แปลกประหลาดแบบธรรมชาติของเขาเอง สามารถสร้างแรงดึงดูดต่อเพศตรงข้าม และทำให้มีโอกาสหาแฟนหรือคนรู้ใจได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ใครที่โสดมานานแล้วอยากสละโสด คงจะได้ฤกษ์สละโสดเร็วๆนี้แล้ว . ซึ่งผลวิจัยดังกล่าวข้างต้น อ้างอิงจากวารสารว่าด้วยบุคลิกภาพและจิตวิทยาสังคม (Personality and Social Psychology Bulletin) ของสหรัฐอเมริกา เป็นการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างทั้งชายและหญิง จากการเลือกเพศตรงข้ามที่สนใจผ่านเว็บไซต์หาคู่เดทออนไลน์ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างทั้งชายและหญิงต่างถูกใจในผู้ที่มีความแปลกกว่าคนทั่วไป ทั้งในเรื่องสไตล์เสื้อผ้า การแต่งตัว รสนิยม และทัศนคติ . บางท่านอาจสงสัยว่า

งานวิจัยเผย : ฝนตกทำให้คนเหงา เป็นเรื่องจริงไม่ได้มโนไปเอง

งานวิจัยเผย : ฝนตกทำให้คนเหงา เป็นเรื่องจริงไม่ได้มโนไปเอง

จากการศึกษาเรื่อง ทำไมฝนตกแล้วต้องเหงา หรือผลกระทบจากสภาพอากาศต่อสภาพจิตใจในเชิงวิทยาศาสตร์และจิตวิทยานั้นพบว่า ในช่วงที่ฝนตก สภาพอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งความชื้นในอากาศที่เพิ่มขึ้น อุณหภูมิที่ลดต่ำลง และแสงสว่างที่ลดน้อยลง ซึ่งอธิบายให้เห็นภาพที่สุดก็คงจะเป็นเรื่องของแสงสว่างที่ลดน้อยลงในวันที่ฝนตก เพราะร่างกายของมนุษย์มีสิ่งที่เรียกว่า นาฬิกาชีวภาพ (Circadian Rhythm) ที่คอยกำหนดการทำงานของสมองและร่างกายในแต่ละช่วงของวัน . ซึ่งแสงส่งผลได้อย่างชัดเจน สามารถนึกถึงอารมณ์เวลาที่ตื่นมาในวันที่มีแสงแดดแรง ท้องฟ้าสดใส และไม่ร้อนจนเกินไป กับวันที่ตื่นมาแล้วท้องฟ้าปกคลุมไปด้วยเมฆครึ้ม อารมณ์ความรู้สึกในวันนั้นก็แตกต่างกันไม่น้อย ซึ่งสิ่งนี้เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล เพราะการได้รับแสงแดดที่ไม่เพียงพอหรือน้อยลงในตอนเช้าส่งผลต่อการทำงานของนาฬิกาชีวภาพ ต่อเนื่องไปยังสมอง ทำให้สมองผลิตเซโรโทนิน

งานวิจัยเผย : วัยรุ่นที่มีแฟนเป็นซึมเศร้ามากกว่าวัยรุ่นที่โสด

งานวิจัยเผย : วัยรุ่นที่มีแฟนเป็นซึมเศร้ามากกว่าวัยรุ่นที่โสด

วัยรุ่นวัยใสที่ยังไม่มีแฟนหรือแทบจะไม่ได้ไปออกเดทกับใครเขา มักถูกมองว่าขาดเสน่ห์หรือเข้าสังคมได้ไม่ดีนัก แต่ในขณะที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาและพฤติกรรมวัยรุ่นในสหรัฐฯ เชื่อกันมานานว่า วัยรุ่นที่มีคู่คบหาดูใจจะมีโอกาสพัฒนาทักษะทางสังคมและวุฒิภาวะทางอารมณ์ได้ดีกว่าเพื่อนวัยเดียวกัน แต่แล้วความเชื่อนี้กำลังจะเปลี่ยนไป . เนื่องจากทีมนักวิจัยด้านสาธารณสุขจากมหาวิทยาลัยจอร์เจียของสหรัฐฯ ได้มีการตีพิมพ์ผลการศึกษาล่าสุดลงในวารสาร “สุขภาพในโรงเรียน” (Journal of School Health) โดยระบุว่า ผลการติดตามเก็บข้อมูลระยะยาวเป็นเวลา 7 ปีกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียน ตั้งแต่อยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ชี้ว่าวัยรุ่นที่ไม่ได้คบหาเป็นแฟนกับใครและไม่ค่อยได้ออกเดทนั้น ไม่ได้มีพัฒนาการทางจิตวิทยาตามวัยด้อยไปกว่าเพื่อนที่มีแฟน หนำซ้ำยังมีทักษะทางสังคมที่ดีกว่า และมีภาวะซึมเศร้าน้อยกว่าด้วย

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน . เนื่องจากการสำรวจพฤติกรรมการรับสื่อและทัศนคติต่อการรับชมโฆษณา-แคมเปญการตลาดของผู้บริโภคชาวไทยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ทางบริษัท นีลเส็น มีเดีย ประเทศไทย หนึ่งในบริษัทวิจัยสื่อ-การตลาดรายใหญ่ สามารถประมวลเป็นเทรนด์สำคัญที่จะส่งผลกับการสื่อสารและทำการตลาดของภาคธุรกิจในปี 2566 นี้ . พบว่า ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน และ 61% เลือกซื้อสินค้าที่เป็นสปอนเซอร์การแข่งขัน รวมถึง