(ผมสรุปมาจากหนังสือเล่มไหนสักเล่มนี่แหล่ะ แต่จำไม่ได้ มันนานแล้ว)
- “ปัญหาการวิจัย” ของบทความคืออะไร
- ในแง่ข้อเท็จจริง (fact) ไอ้ปัญหานี้เนี่ย มันมีที่มาที่ไปหรือไม่ มันเป็นปัญหาจริงๆ หรือไม่
- ถ้าใช่ แล้วในแง่ของแรงจูงใจ (motivation) มันสำคัญจนถึงขนาดต้องเอามาทำวิจัยหรือไม่
- บทความนี้เขียนให้ใครอ่าน
- ในบทความมีการกำหนดปัญหา วัตถุประสงค์ ระเบียบวิธี สมมติฐาน นิยาม ฯลฯ ชัดเจนหรือไม่
- บทความเป็นบทความเชิงทฤษฏี หรือบทความที่ได้จากการวิจัยเชิงประจักษ์
- บทความมีการทบทวนวรรณกรรมเพียงพอหรือไม่
- เมื่อผู้วิจัยกำหนด “ปัญหาการวิจัย” แล้ว เขาได้ค้นคว้าแนวทางการศึกษา (approaches) ต่างๆ ของงานวิจัยในอดีตอย่างครอบคลุมหรือไม่
- ผู้วิจัยมีการประเมินจุดอ่อน จุดแข็งของผลการศึกษาในอดีตชัดเจนหรือไม่ อย่างไร
- ผู้วิจัยสามารถชี้ gap ของผลงานวิจัยในอดีตออกมาได้หรือไม่
- แล้ววิธีการศึกษาของตัวผู้วิจัยเองล่ะ
- 1) เป็นการสานต่อวิธีการเก่าๆ อันใดอันหนึ่ง หรือ 2) การเอาวิธีการเก่าๆ หลายวิธีมารวมกัน หรือ 3) ผู้วิจัยเสนอวิธีใหม่เอี่ยมขึ้นมาเลย
- แล้วผลที่ได้จากการศึกษามันตอบโจทย์ “ปัญหาการวิจัย” ได้ไหม เอาไปใช้ทำความเข้าเหตุการณ์จริงได้ไหม
- โดยรวมแล้วมันยังมีจุดอ่อน จุดแข็ง หรือข้อบกพร่อง ที่ผู้อื่นสามารถนำไปวิจัยต่อได้บ้างไหม
- เอกสารอ้างอิง เพียงพอและเป็นประโยชน์ไหม
- ผู้วิจัยอ้างอิงถูกต้องตามระเบียบวิธีไหม การอ้างอิงมีน้ำหนักเหมาะสมไหม ไม่ใช่อ้างอิงพร่ำเพรื่อ (name-dropping) หรืออ้างอิงมั่วๆ
- แล้วเราในฐานะเอางานวิจัยมาใช้ ลองค้น google ดู แล้วเราเจอแหล่งข้อมูลสำคัญที่ตรงกับ “ปัญหาการวิจัย” แต่ผู้วิจัยไม่ได้อ้างอิงหรือไม่