8 ข้อแนะนำในการเลือกหัวข้อวิจัยปริญญาเอกที่ “ใช่”

8 ข้อแนะนำในการเลือกหัวข้อวิจัยปริญญาเอกที่ “ใช่”

  1. เริ่มต้นจากความรักและชอบ หรือ มีที่มาจากภูมิหลัง ความรู้ และทักษะที่ผู้เรียนมีความถนัดหรือสนใจ เพราะผู้เรียนต้องอยู่กับวิจัยนี้เป็นระยะเวลานาน หัวข้อที่ “ใช่” ควรเป็นเรื่องที่ผู้เรียนมี ฉันทะ หรือ ใจที่รักในหัวข้อนั้น
  2. ต้องมีความชัดเจน มีประเด็นหลักเพียงประเด็นเดียว อย่าศึกษาหลายประเด็น เพราะเพียงแค่ประเด็นเดียวกับการศึกษาให้ได้ลึกซึ้งตามมาตรฐานของปริญญาเอกก็ท้าทายมากพอแล้ว
  3. ยิ่งผู้เรียนมองเห็นภาพชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้นได้มากเพียงใด ก็ยิ่งสะท้อนความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จ ลองตั้งคำถามแล้วตอบให้ได้ว่า หัวข้อวิจัยที่จะทำนี้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม และ อย่างไร เมื่อนำคำตอบทุกข้อมารวมกันแล้วดูมีเหตุผล มีความเชื่อมโยง ก็น่าจะมั่นใจได้ในระดับหนึ่ง ในช่วงการเลือกหัวข้อ ควรคิดให้รอบ มองให้ทะลุ เพราะการคิดให้เยอะตั้งแต่แรกจะช่วยให้เหนื่อยน้อยลงระหว่างการลงมือทำ

4.ไม่จำเป็นต้องคิดหัวข้อที่ยิ่งใหญ่ หรูหรา อลังการ โดยหวังว่ายิงปืนนัดเดียว จะได้ทั้งใบปริญญาและรางวัลโนเบล ควรเลือกหัวข้อที่มีขนาดพอเหมาะสามารถทำให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด ส่วนการคว้ารางวัลระดับโลกนั้น ค่อยทำเมื่อเรียนจบปริญญาเอกแล้วก็ยังไม่สาย

  1. ผู้เรียนควรพิจารณาความเป็นไปได้ในแง่ของการเก็บข้อมูล การลงพื้นที่วิจัย และประชากร ผู้ให้ข้อมูล ต้องพิจารณาว่าเป็นหัวข้อที่มีข้อมูลสนับสนุนเพียงพอ ข้อมูลต่างๆสามารถเผยแพร่ได้ และผู้เรียนสามารถเข้าถึงซึ่งแหล่งที่มาของข้อมูลได้ เป็นต้น
  2. หัวข้อวิจัยที่ “ใช่” นั้นไม่ได้หล่นลงมาจากฟากฟ้า ผู้เรียนต้องขวนขวายเป็นอย่างมาก เช่น เริ่มต้นจากการสำรวจวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องสัก 20 ชิ้นเพื่อให้ได้มาซึ่งไอเดียที่ “ใช่” การอ่านที่เพียงพอจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถระบุชัด รวมถึงจำกัดขอบเขตงานวิจัยให้มีความพอดีและเฉพาะเจาะจงได้

อย่านั่งเฉย แล้วตีโพยตีพายว่าคิดหัวข้อไม่ออก เพราะถ้าผู้เรียนไม่ยอมออกไปเผชิญโลกกว้างของวิชาการ ไม่ติดตามข่าวสาร หรือ ไม่เห็นปรากฎการณ์ของปัญหาสังคมในแง่มุมต่างๆ ผู้เรียนก็จะคิดหัวข้อไม่ออกอยู่เช่นนั้น

  1. บางทีหัวข้อวิจัยที่ “ใช่” ก็เริ่มจาก คำที่ “ใช่” เพียงคำเดียว ค้นหา ระบุ คำที่สนใจแล้วลองศึกษาคำๆนั้นลงไปในเชิงลึก ระหว่างการอ่านหนังสือต่างๆ จึงควรจด คำหรือประเด็น ที่ดูเข้าท่า น่าสนใจไว้ แล้วค่อยๆ ค้นคว้า อ่าน และ พิจารณาเพื่อนำมาพัฒนาเป็นประเด็นคำถามวิจัยต่อไป
  2. ผู้เรียนต้องมีความยืดหยุ่น อย่าถึงขั้นยึดติดกับหัวข้อวิจัยที่คิดได้ในตอนแรกนี้ เพราะการวิจัยเป็นกระบวนการที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ผู้เรียนต้องพร้อมที่จะปรับหัวข้อเพื่อรับกับสถานการณ์ เหตุและปัจจัยที่ผันแปรได้เสมอ

หัวข้อวิจัย คือ จุดเริ่มต้นของทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตการวิจัยของผู้เรียน การเฟ้นหาหัวข้อวิจัยปริญญาเอกที่ “ใช่” จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เปรียบเสมือนการติดกระดุม ถ้าติดเม็ดแรกถูก เม็ดต่อๆไปก็จะถูกด้วยเช่นกัน…

ขอให้เจอกับหัวข้อที่ “ใช่” ในเร็ววัน

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

การเรียนและสมาธิ เป็นของคู่กัน

การเรียนและสมาธิ เป็นของคู่กัน

✨เนื่องจากสมาธิเป็นทักษะที่สำคัญในการเรียนและการศึกษา เพื่อให้เราสามารถเน้นความสำคัญและให้ความร่วมมือในกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ———————- 👉 และนี่คือข้อแนะนำเกี่ยวกับสมาธิและการเรียนที่เรานำมาฝากเพื่อนๆค่ะ : 1. การเพิ่มสมาธิ: สมาธิสามารถเพิ่มความจำของเรา การทำสมาธิส่งผลให้เรามีความตั้งใจในการเรียนและสามารถรับรู้ข้อมูลได้ดีกว่า 2. การลดความรู้สึกเครียด: การมีสมาธิสามารถช่วยลดความรู้สึกเครียดที่เกิดจากการเรียนหรือการสอบ เมื่อเราสามารถรักษาสมาธิในขณะที่เรียน จะช่วยให้เราสามารถรับมือกับแรงกดดันและความยากลำบากในการเรียนได้ดีขึ้น 3. การเพิ่มความตั้งใจ: สมาธิช่วยให้เรามีความตั้งใจในการเรียน รูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการสมาธิช่วยให้เราสามารถใช้เวลาและทรัพยากรในการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ เช่นการกำหนดเป้าหมายเพื่อให้ตัวเองมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ 4. การเพิ่มความระมัดระวัง: สมาธิช่วยให้เรามีความระมัดระวังในการเรียน สามารถตระหนักถึงสิ่งที่เรากำลังเรียนรู้ ช่วยให้เราสามารถจับต้องและเข้าใจข้อมูลได้อย่างถูกต้อง

เคล็ดลับการเพิ่มความคิดสร้างสรรค์

เคล็ดลับการเพิ่มความคิดสร้างสรรค์

ความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในศิลปะหรือการออกแบบเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาอย่างมีนวัตกรรมในหลายๆ ด้านของชีวิต 🌟 นี่คือเคล็ดลับที่จะช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ในตัวคุณ! การเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ภายในคืนเดียว แต่เป็นกระบวนการที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 💡 ด้วยเคล็ดลับเหล่านี้ คุณจะสามารถปลดล็อกศักยภาของความคิดสร้างสรรค์ในตัวคุณและสนุกกับการสร้างสรรค์ในทุกด้านของชีวิต! – – – – – – – – – – – – – – –

เทคนิคในการเริ่มเขียนวิจัย

เทคนิคในการเริ่มเขียนวิจัย

🍄 อาจจะมีเพื่อนบางคนใช้เวลาในการทำวิจัยนานมาก ตั้งแต่การเริ่มต้นทำ ระยะเวลาระหว่างทำ กว่าจะแก้ไข กว่าจะสอบผ่าน เรามาเตรียมตัวตั้งแต่ขั้นตอนในการ “เริ่มต้นเขียนวิจัย” กันดีกว่า เพราะการเริ่มต้นนั้นยากที่สุดเสมอ พอเราได้เริ่มแล้วขั้นตอนต่อ ๆ ไปจะเริ่มตามมาเอง! 💙 พูดคุย / ระดมสมองเพื่อหาไอเดีย เริ่มต้นด้วยการลองพูดคุยกับเพื่อน ๆ ว่ากำลังสนใจที่จะทำในหัวข้อไหน ประเด็นสำคัญที่ต้องเน้นในส่วนเนื้อหา การเก็บรวบรวมข้อมูล ผลลัพธ์ที่คาดหวัง เหตุผลที่ต้องการศึกษาในปัญหานี้ เพื่อเป็นการแชร์ไอเดีย

ทำงานวิจัยไม่ทัน!!!!

ทำงานวิจัยไม่ทัน!!!!

😵‍😓 “ทำงานประจำควบคู่เรียนต่อ” “งานวิจัยมีแก้ไขเยอะมาก” “ทำวิจัยไม่เป็น ไม่รู้จะใช้วิธีการไหน” คุณกำลังประสบปัญหานี้อยู่หรือเปล่าคะ❓ . ถ้าใช่! คุณมาถูกทางแล้วล่ะ 😊 ะเรามีบริการเกี่ยวกับวิจัย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ IS ทำแบบสอบถาม Assignment และอื่น ๆ อีกมากมาย พร้อมที่จะช่วยเหลืองานวิจัยของคุณ . ⏰อย่าปล่อยให้เวลาทำงานเหลือน้อย ติดปัญหาในส่วนไหนทักแชทสอบถามเราเลย ด้วยประสบการณ์การทำงานหลายหมื่นชิ้น และทีมงานหลากหลายสาขาวิชา