การเขียนรายงานการวิจัยแบบฉบับสมบูรณ์

การเขียนรายงานการวิจัยแบบฉบับสมบูรณ์
การเขียนรายงานการวิจัยแบบฉบับสมบูรณ์ เป็นการเขียนรายงานอย่างละเอียด โดยทั่วไปจะยึดตามหลักสากลว่าควรประกอบด้วยหัวข้ออะไรบ้าง แต่ถ้าเป็นวิทยานิพนธ์ หรืองานการค้นคว้าอิสระ ผู้วิจัยจะต้องยึดระเบียบการเขียนของสถาบันนั้น ๆ เพื่อให้การเขียนมีรูปแบบตามที่แต่ละสถาบันกำหนดไว้เป็นหลัก
ตามหลักสากลส่วนประกอบของรายงานการวิจัยแบบฉบับสมบูรณ์ มักจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน ดังนี้
1. ส่วนนำ ประกอบด้วย
1.1 ปกนอก
1.2 ปกใน
1.3 หน้าอนุมัติ
1.4 คำนำ/กิตติกรรมประกาศ
1.5 บทคัดย่อ
1.6 สารบัญ สารบัญตาราง และสารบัญภาพประกอบ
1.7 อักษรย่อและสัญลักษณ์
2. ส่วนเนื้อความ
2.1 บทที่ 1 บทนำ
1) ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
2) วัตถุประสงค์/ความมุ่งหมายในการวิจัย
3) ขอบเขตของการวิจัย
4) ข้อตกลงเบื้องต้น (ถ้ามี)
5) สมมติฐาน (ถ้ามี)
6) นิยามศัพท์เฉพาะ
7) ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย
2.2 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.3 บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
1) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง/ แหล่งข้อมูล
2) เครื่องมือในการวิจัย
3) การเก็บรวบรวมข้อมูล
4) การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
2.4 บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
2.5 บทที่ 5 บทสรุป
1) สรุปผลการวิจัย
2) อภิปรายผล
3) ข้อเสนอแนะ
3. ส่วนประกอบตอนท้าย
3.1 บรรณานุกรม/ เอกสารอ้างอิง
3.2 ภาคผนวก
3.3 ประวัติผู้วิจัย
รายละเอียดการเขียนในหัวข้อต่าง ๆ ข้างต้น เป็นดังนี้
ส่วนนำ
ส่วนนำเป็นส่วนที่ให้รายละเอียดก่อนที่จะเข้าสู่ส่วนของเนื้อความ ซึ่งประกอบด้วย
1) ปกนอก เป็นส่วนแสดงรายละเอียดของชื่อเรื่องงานวิจัย ชื่อผู้วิจัย สถานที่ทำวิจัย และปีที่ทำวิจัย
2) ปกใน แสดงรายละเอียดเหมือนกับปกนอกทุกประการ
3) หน้าอนุมัติ (เฉพาะวิทยานิพนธ์/ การค้นคว้าอิสระ) เป็นส่วนแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการอนุมัติให้งานวิจัยที่เป็นวิทยานิพนธ์/ การค้นคว้าอิสระเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร ในหน้านี้จะมีคณะกรรมการควบคุมการทำวิทยานิพนธ์/ การค้นคว้าอิสระ และคณะกรรมการสอบ ปรากฏชื่อพร้อมลายเซ็น
4) คำนำ หรือกิตติกรรมประกาศ เป็นส่วนแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการขอบคุณผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือในการทำวิทยานิพนธ์/ การค้นคว้าอิสระ โดยทั่วไปการเขียนคำนำ หรือกิตติกรรมประกาศ ผู้วิจัยควรขอบคุณผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือในการทำวิจัยตามลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย
5) บทคัดย่อ เป็นส่วนแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อเรื่อง ชื่อผู้วิจัย ชื่อที่ปรึกษา (ถ้ามี) แหล่งทุน (ถ้ามี) วัตถุประสงค์การวิจัย วิธีดำเนินการวิจัยแบบย่อ และผลของการวิจัยซึ่งส่วนใหญ่จะเขียนประมาณ 1 – 2 หน้า และต้องเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษประกอบกัน
6) สารบัญ สารบัญตาราง และสารบัญภาพประกอบ เป็นส่วนแสดงรายละเอียดของหัวข้อเนื้อหา ตาราง และภาพประกอบ พร้อมกับมีการระบุหมายเลขหน้าที่มีหัวเรื่อง ตาราง และภาพประกอบเหล่านี้ปรากฏอยู่
7) อักษรย่อและสัญลักษณ์ เป็นส่วนแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับอักษรย่อและสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการวิจัย อย่างไรก็ตาม หากอักษรย่อและสัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิจัยเหล่านี้ไม่ปรากฏในส่วนบทที่ 1 (บทนำ) บทที่ 2 (เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง) และบทที่ 3 (วิธีดำเนินการ) ผู้วิจัยอาจนำอักษรย่อและสัญลักษณ์ที่ช่วยในการแปลผลการวิจัยไปไว้ในบทที่ 4 ก่อนแสดงเนื้อหาผลการวิเคราะห์ข้อมูล ก็ได้
ส่วนเนื้อความ
ส่วนเนื้อความเป็นส่วนสำคัญที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการทำวิจัยทั้งหมด โดยส่วนใหญ่งานวิจัยจะแบ่งเป็น 5 บท ดังนี้
บทที่ 1 บทนำ
บทนำ จะแสดงรายละเอียดตามหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้
1) ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา เป็นส่วนที่แสดงต้นตอของปัญหาในการวิจัยว่าเกิดจากอะไร โดยอาจจะเขียนจากมุมกว้างไปสู่มุมที่แคบลง เขียนอย่างสมเหตุสมผล และสำคัญที่สุด ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย
2) วัตถุประสงค์ หรือความมุ่งหมายของการวิจัย เป็นส่วนที่บอกวัตถุประสงค์ว่างานวิจัยเรื่องนี้ต้องการศึกษาอะไร
3) ขอบเขตของการวิจัย เป็นส่วนแสดงขอบเขตของประชากร และขอบเขตของเนื้อหาหรือตัวแปรที่เราสนใจศึกษา
4) ข้อตกลงเบื้องต้น (ถ้ามี) เป็นส่วนที่แสดงความเชื่อ แนวคิด และทฤษฎีที่นำมาใช้ในการทำวิจัยครั้งนี้
5) สมมติฐาน (ถ้ามี) เป็นส่วนที่แสดงว่า ก่อนลงมือปฏิบัติการวิจัยนั้น ผู้วิจัยได้คาดเดาคำตอบการวิจัยไว้ว่าอย่างไร ถ้างานวิจัยเป็นงานเชิงเปรียบเทียบ เชิงหาความสัมพันธ์/ สาเหตุ จำเป็นที่ผู้วิจัยจะต้องกำหนดสมมติฐานไว้ล่วงหน้า แต่หากเป็นงานวิจัยเชิงสำรวจผู้วิจัย ก็ไม่จำเป็นต้องใส่สมมติฐาน
6) นิยามศัพท์เฉพาะ เป็นส่วนที่แสดงการอธิบายศัพท์บางคำที่ใช้กับงานวิจัยเรื่องนี้ โดยทั่วไปจะเป็นศัพท์เฉพาะสาขาวิชาที่ผู้อื่นไม่ค่อยรู้จัก หรือเป็นศัพท์ที่ใช้เฉพาะในการวิจัยเรื่องนี้
7) ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย เป็นส่วนที่แสดงประโยชน์ที่ได้จากงานวิจัย เรื่องนี้ ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ (ก) ประโยชน์ในเชิงวิชาการ คือ ประโยชน์ที่ได้ค้นพบจากการทำวิจัยเรื่องนี้ ซึ่งสามารถดูได้จากวัตถุประสงค์ของงานวิจัยว่า เราได้องค์ความรู้อะไรบ้าง และ (ข) ประโยชน์ในการนำไปใช้ คือ ประโยชน์สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องว่าจะนำผลการวิจัยไปใช้ในด้านใดบ้าง
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นส่วนที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎีในเนื้อหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยเรื่องนี้ ส่วนใหญ่ในการเขียนจะเขียนส่วนที่เป็นแนวคิดและทฤษฎีก่อน แล้วจึงตามด้วยส่วนที่เป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำวิจัยเรื่องนี้
อย่างไรก็ตาม การเขียนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หัวข้อต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ต้องสัมพันธ์กับงานวิจัย ผู้วิจัยควรเขียนในแนวการวิเคราะห์สังเคราะห์โดยในการเขียนต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาและเขียนการอ้างอิงที่ถูกต้องตามหลักการเขียนการอ้างอิง และควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ๆ
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
วิธีดำเนินการวิจัย เป็นส่วนที่แสดงรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินการวิจัยตามหัวข้อต่อไปนี้
1) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง/ แหล่งข้อมูล เป็นส่วนแสดงรายละเอียดว่า ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้หมายถึงใครบ้าง ขอบเขตถึงไหน หากมีการใช้กลุ่มตัวอย่างต้องแสดงว่าได้กลุ่มตัวอย่างมาโดยการสุ่มแบบใด และมีจำนวนหน่วยตัวอย่างเท่าไร และต้องพิจารณาว่ากลุ่มตัวอย่างที่ใช้สามารถให้ข้อมูลตามตัวแปร หรือวัตถุประสงค์ที่สนใจศึกษาครบทั้งหมดหรือยัง
2) เครื่องมือในการวิจัย เป็นส่วนแสดงรายละเอียดว่ามีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยกี่ชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะเป็นอย่างไร มีวิธีการดำเนินการสร้างอย่างไร มีการหาคุณภาพและได้ผลเป็นอย่างไร
อย่างไรก็ตาม เครื่องมือในการวิจัยผู้วิจัยอาจใช้วิธียืมจากงานวิจัยอื่นที่มีการสร้างและมีคุณภาพมาใช้ในงานวิจัยได้ โดยอาจมีการหาคุณภาพซ้ำอีกครั้งก่อนนำไปรวบรวมข้อมูลจริงต่อไป
3) การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นส่วนแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลว่า ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลในแต่ละขั้นตอนอย่างไร ในแต่ละขั้นตอนใช้เครื่องมือชุดไหนในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใครเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งการรวบรวมข้อมูลต้องครอบคลุมวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษาทั้งหมดด้วย
4) การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ เป็นส่วนแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดในการทำวิจัยเรื่องนี้ ผู้วิจัยอาจแบ่งการวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้เป็น 2 ส่วน คือ (ก) การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือ และ (ข) การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลการวิจัย
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยบางเรื่องอาจมีเกณฑ์ในการแปลผลการวิเคราะห์ ผู้วิจัยสามารถเขียนต่อท้ายจากหัวข้อการวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ได้เลย
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ในบทที่ 4 จะเป็นการแสดงรายละเอียดการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ตั้งไว้ การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลจะเขียนตามลำดับวัตถุประสงค์ในการวิจัย
ในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล อาจนำเสนอในรูปข้อความ ข้อความกึ่งตาราง หรือตาราง หรือรูปภาพก็ได้ตามความเหมาะสม อย่างไรก็ตามในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยจะต้องนำเสนอผลการวิเคราะห์ไปตามความจริง การแปลผลควรแปลผลเฉพาะประเด็นสำคัญ ไม่เขียนวกวนซ้ำซ้อน ต้องระมัดระวังการคัดลอกตัวเลขและการแปลความ และที่สำคัญห้ามนำความคิดเห็นของผู้วิจัยเข้าไปอธิบายประกอบ
บางครั้งในการวิเคราะห์ข้อมูลอาจมีอักษรย่อและสัญลักษณ์จำนวนมาก ผู้วิจัยอาจนำเสนออักษรย่อและสัญลักษณ์ก่อนที่จะนำเข้าสู่การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลก็ได้
บทที่ 5 บทสรุป
บทสรุป เป็นส่วนแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับบทสรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ซึ่งเป็นบทสุดท้ายในส่วนของเนื้อความ รายละเอียดของบทนี้ ประกอบด้วย
1) สรุปผลการวิจัย เป็นส่วนแสดงบทสรุปความสำคัญจากงานวิจัย โดยส่วนใหญ่จะแสดงวัตถุประสงค์งานวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย และผลการวิจัยที่ค้นพบ ในหัวข้อนี้จะเป็นการเขียนด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่นำเสนอตัวเลขทางสถิติที่ซับซ้อน โดยถือว่าเป็นสรุปสาระสำคัญของการทำวิจัยเรื่องนั้นจริง ๆ
2) อภิปรายผล เป็นส่วนแสดงการให้เหตุผลว่าทำไมงานวิจัยจึงได้ผลเช่นนั้น
ข้อค้นพบเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ ในการอภิปราย ผู้วิจัยควรอภิปรายผลการวิจัยโดยอาศัยแนวคิด ทฤษฎี และผลการวิจัยต่าง ๆ ที่ได้สรุปไว้ในบทที่ 2 ว่าผลการวิจัยมีความเหมือนความต่างจากงานวิจัย หรือจากแนวคิดทฤษฎีของผู้อื่นที่ได้สรุปไว้ในบทที่ 2 อย่างไรในการอภิปรายผลผู้วิจัยสามารถใช้ความคิดเห็นส่วนตัวประกอบได้
3) ข้อเสนอแนะ เป็นส่วนของการนำเสนอความคิดเห็นของผู้วิจัยให้ผู้อ่านทราบว่าเมื่อนำงานวิจัยเรื่องนี้ไปใช้ ผู้วิจัยจะมีข้อเสนอแนะอะไรบ้าง และหากจะวิจัยในครั้งต่อไปผู้วิจัยจะเสนอแง่มุมให้นักวิจัยคนอื่นอย่างไร โดยทั่วไปหัวข้อของข้อเสนอแนะจะแบ่งเป็น 2 หัวข้อ คือ (ก) ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการวิจัยไปใช้ และ (ข) ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
ส่วนประกอบตอนท้าย
ส่วนประกอบตอนท้าย เป็นส่วนอ้างอิงและสนับสนุนเพื่อให้งานวิจัยเรื่องนี้ให้มี
ความน่าเชื่อถือ มีรายละเอียดตามหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้
1) บรรณานุกรม/ เอกสารอ้างอิง เป็นส่วนแสดงรายชื่อสิ่งพิมพ์ สื่อต่าง ๆ ที่ผู้วิจัยใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงในงาน

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

บทบาทของการวิจัยในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม

บทบาทของการวิจัยในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม

ในโลกที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การวิจัยเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ผู้บริโภค หรือการสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่ทำให้ชีวิตเราดีขึ้น 🌟 📊 ทำไมการวิจัยจึงสำคัญต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์: 🚀 การนำการวิจัยสู่การปฏิบัติ: การวิจัยไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือในการค้นหาคำตอบ แต่ยังเป็นกุญแจสำคัญสู่การสร้างนวัตกรรมและการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน ✨ 🗣 ติดต่อสอบถามปรึกษาปัญหาวิจัย 📲 📲 LINE: @THESISTH 📞 TEL: 063-207-3864 ✉️ INBOX: https://m.me/thesisthailand .

เทคโนโลยีและสุขภาพจิต: ความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนในโลกดิจิทัล

เทคโนโลยีและสุขภาพจิต: ความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนในโลกดิจิทัล

ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกด้านของชีวิต การเชื่อมต่อกับโลกดิจิทัลได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและสุขภาพจิตของเราอย่างไม่รู้ตัว 🌐 📊 ผลกระทบที่เราเห็นได้ชัด: มาร่วมสร้างความสมดุลระหว่างเทคโนโลยีและสุขภาพจิตของเรา 🌿✨ 🗣 ติดต่อสอบถามปรึกษาปัญหาวิจัย 📲 📲 LINE: @THESISTH 📞 TEL: 063-207-3864 ✉️ INBOX: https://m.me/thesisthailand . #วิจัยตัวร้าย #รับทำวิจัย #รับทำการบ้าน #วิจัยปี4 #วิจัยปโท

งานวิจัย เผย คนไทยส่วนใหญ่ มักคลายเครียดด้วยการกิน

งานวิจัย เผย คนไทยส่วนใหญ่ มักคลายเครียดด้วยการกิน

ผลการวิจัยล่าสุดเผยว่า คนไทยส่วนใหญ่มักเลือกการ “กิน” เป็นวิธีคลายเครียดหลัก ไม่ว่าจะเป็นอาหารจานด่วน ขนมหวาน หรือเครื่องดื่มรสชาติอร่อย เพราะเมื่อเครียด อาหารก็กลายเป็นเพื่อนที่ดีที่สุด 😋 🍕 1. อาหารจานด่วน คำตอบของความเครียดไม่ว่าจะเป็นพิซซ่า เบอร์เกอร์ หรือเฟรนช์ฟรายส์ อาหารจานด่วนเป็นที่นิยมในหมู่คนที่ต้องการผ่อนคลายความเครียด ด้วยความสะดวกและรสชาติที่ตอบโจทย์ ทำให้หลายคนรู้สึกดีขึ้นทันที 🍰 2. ขนมหวาน ตัวช่วยผ่อนคลายใจของหวาน เช่น ช็อกโกแลต

การสร้างสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว (Work-Life Balance)

การสร้างสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว (Work-Life Balance)

การจัดการชีวิตให้มีความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัวเป็นสิ่งสำคัญสำหรับความสุขและความสำเร็จในระยะยาว ทั้งเรื่องการทำงานให้เต็มที่ และการใช้เวลาเพื่อตัวเองและครอบครัว 🌟 ✨ เคล็ดลับง่ายๆ ในการสร้างสมดุล: การสร้างสมดุลในชีวิตไม่ได้แค่ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ยังช่วยให้คุณมีความสุขในทุกๆ วันอีกด้วย 💖😊 🗣 ติดต่อสอบถามปรึกษาปัญหาวิจัย 📲 📲 LINE: @THESISTH 📞 TEL: 063-207-3864 ✉️ INBOX: https://m.me/thesisthailand . #วิจัยตัวร้าย