สำรวจผลกระทบ”โควิด” จุดเปลี่ยนสำคัญการศึกษาโลก…

สำรวจผลกระทบ”โควิด” จุดเปลี่ยนสำคัญการศึกษาโลก…

ความเหลื่อมล้ำด้านเทคโนโลยี กับการเรียนออนไลน์ช่วงโควิด-19 ระบาด ส่งผลเด็กหลุดจากระบบ 24 ล้านคนทั่วโลก
มาตรการเร่งด่วนที่รัฐบาลหลายประเทศใช้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสคือ เว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) และกึ่งปิดเมือง (semi-lockdown) ที่กำหนดสถานที่บางแห่งต้องปิด-เปิด ตามวันและเวลาที่กำหนด นอกจากนั้น หลาย ๆ ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยมีมาตรการปิดโรงเรียนเพื่อความปลอดภัยของเด็ก และใช้วิธีจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์แทน
แม้ว่าจะมีหลักฐานมากมายที่ชี้ให้เห็นถึงผลเสียของการปิดโรงเรียน และหลักฐานต่าง ๆ จะแสดงให้เห็นว่าโรงเรียนไม่ใช่สถานที่หลักของการแพร่เชื้อ แต่ประเทศต่าง ๆ ก็ยังคงเลือกที่จะปิดโรงเรียนและสถานศึกษา ซึ่งบางแห่งได้ปิดมาแล้วเกือบหนึ่งปี
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รวบรวมความท้าทาย ปัญหา และความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนออนไลน์ช่วงโควิด-19 ระบาด ดังนี้

ด็กเน็ตหมดเรียนหนังสือไม่ได้
วันที่ 19 ม.ค. 2564 ในโลกโซเชียลมีเดีย มีการแชร์ภาพแชตในไลน์ลงบนเฟซบุ๊กชื่อว่า Kammalat Seansano ซึ่งเป็นของนายกมลาสน์ แสนเสนาะ หรือครูโก้ ครูสอนวิชาศิลปะโรงเรียนแห่งหนึ่งย่านบางกอกน้อย กรุงเทพฯ โดยครูที่สนทนากับนักเรียนเพื่อถามเด็ก ๆ ว่า สามารถเรียนออนไลน์ได้ทุกวิชาหรือเปล่า ถ้าไม่ได้ช่วยแจ้งมาด้วย และบอกเหตุผลมาว่าเป็นเพราะอะไร
ต่อมามีนักเรียนคนหนึ่งเข้ามาตอบว่า วันนี้หนูเรียนได้ แต่พรุ่งนี้ไม่ได้แล้ว เนื่องจากเน็ตไม่พอ ถ้าหากมีการบ้าน หนูจะให้เพื่อนส่งให้แทน
ทั้งนี้ นายกมลาสน์ ได้เขียนแคปชั่นว่า สามารถเป็นไปได้หรือไม่ที่กระทรวงฯจะดีลกับสัญญาณเครือข่ายโทรศัพท์ ให้นักเรียนได้ใช้อินเตอร์เน็ตแบบไม่จำกัดในช่วงนี้ ควรเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของภาครัฐที่ต้องออกมารับผิดชอบอนาคตของนักเรียน และไม่ต้องกังวลว่านักเรียนจะนำไปใช้ในผิดทาง เพราะเชื่อว่าเด็ก ๆ สามารถรับผิดชอบหน้าที่อนาคตของเขาได้ดีพอ
หลังจากนั้นมีหลายคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นว่า อยากให้รัฐบาลมีนโยบายที่สอดคล้องกับการเรียนออนไลน์ เช่น การแจกซิม เป็นต้น จนโพสต์นี้ถูกแชร์ไปแล้วเกือบ 7 พันครั้ง
ผลสำรวจโชว์ ความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงเทคโนโลยี
จากข้อมูลการสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครัวเรือนปี 2562 ซึ่งเป็นผลสำรวจที่เผยแพร่ล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุจำนวนผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นรายภาค สูงที่สุดคือกรุงเทพมหานคร มีผู้ใช้ร้อยละ 43.0 รองลงมาคือภาคกลาง ร้อยละ 24.7 ภาคเหนือร้อยละ 23.1 ภาคใต้ร้อยละ 22.5 และต่ำที่สุดภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 20.1
สำหรับการใช้อินเทอร์เน็ตพบว่า กรุงเทพมหานครมีผู้ใช้สูงที่สุดเช่นเดียวกันคือ ร้อยละ 85.3 รองลงมาคือภาคกลางร้อยละ 72.0 ภาคใต้ร้อยละ 65.2 ภาคเหนือร้อยละ 59.6 และต่ำที่สุดคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 56.8
เท่ากับว่าเด็กแต่ละพื้นมีครอบครัวที่มีกำลังและความสามารถในการสนับสนุนพวกเขาให้เข้าถึงเทคโนโลยีได้ต่างกัน
เด็กนักเรียน 1 ใน 3 ไม่สามารถเรียนทางไกล
องค์กรระหว่างประเทศด้านการศึกษาและประเทศต่าง ๆ เห็นว่าผลกระทบที่ร้ายแรงจากโควิด-19 ต่อเด็กและเยาวชนทั่วโลกไม่ใช่การติดเชื้อหรือป่วยด้วยโรคนี้ แต่เป็นการเสียโอกาสในการศึกษา และเด็กหลายคนไม่มีโอกาสเข้าถึงระบบพื้นฐานอินเตอร์เน็ตต่างกัน
วันที่ 20 ม.ค. 2564 องค์การยูนิเซฟได้แถลงการณ์คำกล่าวของนางเฮนเรียตตา โฟร์ ผู้อำนวยการบริหาร องค์การยูนิเซฟ ถึงการศึกษาในช่วงโควิด-19 ว่า ทุกฝ่ายต้องพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้โรงเรียนสามารถเปิดได้อย่างต่อเนื่อง หรือจัดให้เป็นสถานที่ที่เปิดได้ในลำดับต้น ๆ
“การปิดโรงเรียนส่งผลกระทบต่อนักเรียนร้อยละ 90 ทั่วโลก โดยเด็กนักเรียนกว่า 1 ใน 3 ไม่สามารถเรียนทางไกลได้ มีการประมาณการณ์ว่า เด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษาจะเพิ่มขึ้นถึง 24 ล้านคน ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และเป็นปัญหาที่เราพยายามทุ่มเทแก้ไขมาโดยตลอด”
นอกจากนั้น ทักษะการอ่านออกเขียนได้และการคำนวณของเด็กกำลังได้รับผลกระทบ อีกทั้งทักษะที่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตท่ามกลางเศรษฐกิจโลกในศตวรรษที่ 21 ก็กำลังถดถอย รวมถึงสุขภาพ พัฒนาการ ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ของเด็ก ๆ ก็กำลังตกอยู่ในความเสี่ยง เด็กกลุ่มเปราะบางที่สุดกำลังเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด
นางเฮนเรียตตา กล่าวด้วยว่า การที่เด็กไม่ได้กินอาหารที่โรงเรียน ทำให้เด็กจำนวนมากในหลายประเทศหิวโหยและมีภาวะโภชนาการที่แย่ลง การขาดปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ และการไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวในแต่ละวัน ทำให้เด็ก ๆ ต้องสูญเสียสมรรถภาพทางกายและเกิดความเครียด และเมื่อขาดการสนับสนุนต่าง ๆ จากโรงเรียน ส่งผลให้เด็ก ๆ มีความเสี่ยงมากขึ้นต่อการถูกทำร้าย การถูกบังคับให้แต่งงาน และการถูกใช้แรงงาน
“นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมการปิดโรงเรียนจึงควรเป็นทางเลือกสุดท้าย หลังจากได้พิจารณาทางเลือกอื่น ๆ ทั้งหมดแล้ว การตัดสินใจเรื่องการเปิดปิดโรงเรียนควรประเมินจากความเสี่ยงของการแพร่ระบาดในแต่ละพื้นที่ การปิดโรงเรียนทั่วประเทศนั้นเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้”
อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดรุนแรงและระบบสาธารณสุขกำลังแบกรับภาระอย่างหนัก ซึ่งอาจจำเป็นต้องปิดโรงเรียน ก็ควรมีมาตรการคุ้มครองและช่วยเหลือเพื่อให้เด็กบางกลุ่มสามารถเรียนต่อได้ในห้องเรียน เช่น กลุ่มเด็กที่เสี่ยงต่อความรุนแรงในบ้าน หรือเด็กที่ต้องพึ่งพิงอาหารที่โรงเรียน หรือเด็กที่พ่อแม่จำเป็นต้องออกไปทำงานนอกบ้าน
ในพื้นที่ ๆ มีการล็อคดาวน์ โรงเรียนต้องเป็นสถานที่แรก ๆ ที่เปิดก่อนเมื่อรัฐบาลเริ่มผ่อนปรนมาตรการ นอกจากนี้ ควรจัดชั้นเรียนพิเศษเพื่อช่วยให้เด็กที่ไม่สามารถเรียนทางไกล สามารถเรียนตามทันได้ เพื่อไม่ให้พวกเขาต้องถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
“หากเด็ก ๆ ต้องเผชิญกับการปิดโรงเรียนต่อไปอีก 1 ปี ก็จะส่งผลกระทบต่อไปอีกหลายรุ่นอายุทีเดียว”

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

งานวิจัยเผย : คนที่ทำตัวแปลกๆ หาแฟนง่ายกว่าคนธรรมดา

งานวิจัยเผย : คนที่ทำตัวแปลกๆ หาแฟนง่ายกว่าคนธรรมดา

จากการศึกษางานวิจัยเผยว่า คนที่ทำตัวแปลกๆหรือทำตัวประหลาดแตกต่างจากคนปกติ หรือคนที่มีคาแร็คเตอร์แปลกประหลาดแบบธรรมชาติของเขาเอง สามารถสร้างแรงดึงดูดต่อเพศตรงข้าม และทำให้มีโอกาสหาแฟนหรือคนรู้ใจได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ใครที่โสดมานานแล้วอยากสละโสด คงจะได้ฤกษ์สละโสดเร็วๆนี้แล้ว . ซึ่งผลวิจัยดังกล่าวข้างต้น อ้างอิงจากวารสารว่าด้วยบุคลิกภาพและจิตวิทยาสังคม (Personality and Social Psychology Bulletin) ของสหรัฐอเมริกา เป็นการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างทั้งชายและหญิง จากการเลือกเพศตรงข้ามที่สนใจผ่านเว็บไซต์หาคู่เดทออนไลน์ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างทั้งชายและหญิงต่างถูกใจในผู้ที่มีความแปลกกว่าคนทั่วไป ทั้งในเรื่องสไตล์เสื้อผ้า การแต่งตัว รสนิยม และทัศนคติ . บางท่านอาจสงสัยว่า

งานวิจัยเผย : ฝนตกทำให้คนเหงา เป็นเรื่องจริงไม่ได้มโนไปเอง

งานวิจัยเผย : ฝนตกทำให้คนเหงา เป็นเรื่องจริงไม่ได้มโนไปเอง

จากการศึกษาเรื่อง ทำไมฝนตกแล้วต้องเหงา หรือผลกระทบจากสภาพอากาศต่อสภาพจิตใจในเชิงวิทยาศาสตร์และจิตวิทยานั้นพบว่า ในช่วงที่ฝนตก สภาพอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งความชื้นในอากาศที่เพิ่มขึ้น อุณหภูมิที่ลดต่ำลง และแสงสว่างที่ลดน้อยลง ซึ่งอธิบายให้เห็นภาพที่สุดก็คงจะเป็นเรื่องของแสงสว่างที่ลดน้อยลงในวันที่ฝนตก เพราะร่างกายของมนุษย์มีสิ่งที่เรียกว่า นาฬิกาชีวภาพ (Circadian Rhythm) ที่คอยกำหนดการทำงานของสมองและร่างกายในแต่ละช่วงของวัน . ซึ่งแสงส่งผลได้อย่างชัดเจน สามารถนึกถึงอารมณ์เวลาที่ตื่นมาในวันที่มีแสงแดดแรง ท้องฟ้าสดใส และไม่ร้อนจนเกินไป กับวันที่ตื่นมาแล้วท้องฟ้าปกคลุมไปด้วยเมฆครึ้ม อารมณ์ความรู้สึกในวันนั้นก็แตกต่างกันไม่น้อย ซึ่งสิ่งนี้เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล เพราะการได้รับแสงแดดที่ไม่เพียงพอหรือน้อยลงในตอนเช้าส่งผลต่อการทำงานของนาฬิกาชีวภาพ ต่อเนื่องไปยังสมอง ทำให้สมองผลิตเซโรโทนิน

งานวิจัยเผย : วัยรุ่นที่มีแฟนเป็นซึมเศร้ามากกว่าวัยรุ่นที่โสด

งานวิจัยเผย : วัยรุ่นที่มีแฟนเป็นซึมเศร้ามากกว่าวัยรุ่นที่โสด

วัยรุ่นวัยใสที่ยังไม่มีแฟนหรือแทบจะไม่ได้ไปออกเดทกับใครเขา มักถูกมองว่าขาดเสน่ห์หรือเข้าสังคมได้ไม่ดีนัก แต่ในขณะที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาและพฤติกรรมวัยรุ่นในสหรัฐฯ เชื่อกันมานานว่า วัยรุ่นที่มีคู่คบหาดูใจจะมีโอกาสพัฒนาทักษะทางสังคมและวุฒิภาวะทางอารมณ์ได้ดีกว่าเพื่อนวัยเดียวกัน แต่แล้วความเชื่อนี้กำลังจะเปลี่ยนไป . เนื่องจากทีมนักวิจัยด้านสาธารณสุขจากมหาวิทยาลัยจอร์เจียของสหรัฐฯ ได้มีการตีพิมพ์ผลการศึกษาล่าสุดลงในวารสาร “สุขภาพในโรงเรียน” (Journal of School Health) โดยระบุว่า ผลการติดตามเก็บข้อมูลระยะยาวเป็นเวลา 7 ปีกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียน ตั้งแต่อยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ชี้ว่าวัยรุ่นที่ไม่ได้คบหาเป็นแฟนกับใครและไม่ค่อยได้ออกเดทนั้น ไม่ได้มีพัฒนาการทางจิตวิทยาตามวัยด้อยไปกว่าเพื่อนที่มีแฟน หนำซ้ำยังมีทักษะทางสังคมที่ดีกว่า และมีภาวะซึมเศร้าน้อยกว่าด้วย

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน . เนื่องจากการสำรวจพฤติกรรมการรับสื่อและทัศนคติต่อการรับชมโฆษณา-แคมเปญการตลาดของผู้บริโภคชาวไทยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ทางบริษัท นีลเส็น มีเดีย ประเทศไทย หนึ่งในบริษัทวิจัยสื่อ-การตลาดรายใหญ่ สามารถประมวลเป็นเทรนด์สำคัญที่จะส่งผลกับการสื่อสารและทำการตลาดของภาคธุรกิจในปี 2566 นี้ . พบว่า ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน และ 61% เลือกซื้อสินค้าที่เป็นสปอนเซอร์การแข่งขัน รวมถึง