การศึกษาพื้นฐานในยุค โควิด-19: จะเปิด-ปิดโรงเรียนอย่างไร?
การศึกษาพื้นฐานในยุค โควิด-19: จะเปิด-ปิดโรงเรียนอย่างไร? การระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ส่งผลต่อระบบการศึกษาเป็นอย่างมาก ตั้งแต่เชื้อไวรัสเริ่มระบาดในประเทศจีนปลายปีที่แล้วจนถึงปัจจุบัน UNESCO รายงานว่ารัฐบาล 191 ประเทศทั่วโลก ประกาศปิดสถานศึกษาทั้งประเทศ มีผู้เรียนได้รับผลกระทบกว่า 1.5 พันล้านคน (มากกว่าร้อยละ 90 ของผู้เรียนทั้งหมด) สำหรับประเทศไทยสถานการณ์การระบาดเกิดขึ้นในช่วงสถานศึกษาขั้นพื้นฐานปิดภาคเรียน โดยในช่วงต้นเดือนเมษายน คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้เลื่อนวันเปิดเทอมภาคเรียนที่ 1 ไปเป็นวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ไทยจึงมีโอกาสทบทวนบทเรียนจากต่างประเทศเพื่อเตรียมตัวให้พร้อมในการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่สอดรับกับมาตรการป้องกันการระบาด พร้อมกับเตรียมมาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้เรียนได้รับผลกระทบจากรูปแบบการเรียนที่เปลี่ยนไปสิ่งแรกที่รัฐต้องตัดสินใจ คือ การเปิด-ปิดโรงเรียน แต่ผลของการปิดโรงเรียนอาจได้ไม่คุ้มเสียมาตรการเร่งด่วนที่รัฐบาลหลายประเทศใช้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสคือ มาตรการกึ่งปิดเมือง (Semi-lockdown) และมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) โรงเรียนจึงจำเป็นต้องถูกปิดไปด้วยเพื่อลดช่องทางการแพร่เชื้อไวรัส อย่างไรก็ตามงานวิจัยศึกษาผลของการปิดโรงเรียนในประเทศจีน ฮ่องกง และสิงคโปร์ ประกอบกับบทเรียนในอดีตจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส SARs บ่งชี้ว่า การปิดโรงเรียนอย่างเดียวส่งผลน้อยมากต่อการลดจำนวนของผู้ติดเชื้อ เมื่อเทียบกับมาตรการอื่นนอกจากนี้ธนาคารโลกยังแสดงความเป็นห่วงต่อสถานการณ์ปิดโรงเรียนว่า จะส่งผลให้นักเรียนส่วนใหญ่เสียโอกาสในการเรียนรู้ โดยเฉพาะนักเรียนในครอบครัวที่มีฐานะยากจน เนื่องจากไม่มีรายได้มากพอที่จะนำมาใช้สนับสนุนการเรียนของบุตรหลานเพิ่มเติม ที่ร้ายแรงที่สุดการปิดโรงเรียนอาจผลักให้นักเรียนกลุ่มนี้หลุดออกจากระบบการศึกษา ซึ่งจะก่อให้เกิดผลเสียต่อชีวิตเด็กในระยะยาว ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นคือการวางแนวทางเปิดโรงเรียนเพื่อให้เด็กได้ไปโรงเรียนอีกครั้ง โดยให้สอดคล้องกับความรุนแรงของสถานการณ์ ควบคู่กับการใช้มาตรการทางด้านสาธารณสุขและมาตรการทางสังคมอย่างเคร่งครัดในโรงเรียนหากต้องปิดโรงเรียน […]
Covid-19 ตอกย้ำความสำคัญ
Covid-19 ตอกย้ำความสำคัญของทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 “การศึกษา” คำนี้อาจจะทำให้ทุกคนนึกถึงการเรียนการสอนรูปแบบเก่า ที่อยู่ในห้องเรียน หรือการเรียนในระบบตั้งแต่อนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบันการศึกษาจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของประเทศและสังคมโลก เราจะพาทุกคนมาสำรวจกันว่า การศึกษารูปแบบใหม่ในยุค New Normal นี้มีทิศทางการปรับตัวกันอย่างไรบ้าง“ระบบการศึกษาทั่วโลก” ใช้ “Educational Technology” มากขึ้นปรากฏการณ์หนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนท่ามกลางสถานการณ์ “COVID-19” คือด้านการศึกษา ที่หันมาใช้ระบบออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบมากขึ้น เช่น DingTalk Tencent Google Hangout Meet Google Classroom เป็นต้น รวมทั้งยังมีแอปพลิชันเกี่ยวกับการศึกษาต่างๆ มากมาย ซึ่งเทคโนโลยีสามารถเปลี่ยนบทบาทครูผู้สอน จากที่เคยเป็นผู้ชี้นำ ไปสู่การเป็นผู้สนับสนุน และให้คำแนะนำแก่นักเรียน ช่วยให้การนำเสนอเนื้อหาการเรียนการสอนมีความน่าสนใจขึ้น และช่วยเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การสร้างความร่วมมือ ความคิดสร้างสรรค์ ออกจากกรอบของการเรียนรู้ที่จำกัดเฉพาะในห้องเรียนสี่เหลี่ยมดังที่เคยเป็นมา กล้าทดลอง กล้าเรียนรู้ ปรับตัวรับมือเมื่อโลกพลิกผันปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สิ่งสำคัญที่ครูผู้สอนหรือผู้ใหญ่ควรปลูกฝังเด็กคือทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นเพื่อรับมือกับโลกอันพลิกผัน การสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 เน้น 3 องค์ประกอบ คือ Attitude (ทัศนคติ […]
สำรวจผลกระทบ”โควิด” จุดเปลี่ยนสำคัญการศึกษาโลก…
สำรวจผลกระทบ”โควิด” จุดเปลี่ยนสำคัญการศึกษาโลก… ความเหลื่อมล้ำด้านเทคโนโลยี กับการเรียนออนไลน์ช่วงโควิด-19 ระบาด ส่งผลเด็กหลุดจากระบบ 24 ล้านคนทั่วโลกมาตรการเร่งด่วนที่รัฐบาลหลายประเทศใช้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสคือ เว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) และกึ่งปิดเมือง (semi-lockdown) ที่กำหนดสถานที่บางแห่งต้องปิด-เปิด ตามวันและเวลาที่กำหนด นอกจากนั้น หลาย ๆ ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยมีมาตรการปิดโรงเรียนเพื่อความปลอดภัยของเด็ก และใช้วิธีจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์แทนแม้ว่าจะมีหลักฐานมากมายที่ชี้ให้เห็นถึงผลเสียของการปิดโรงเรียน และหลักฐานต่าง ๆ จะแสดงให้เห็นว่าโรงเรียนไม่ใช่สถานที่หลักของการแพร่เชื้อ แต่ประเทศต่าง ๆ ก็ยังคงเลือกที่จะปิดโรงเรียนและสถานศึกษา ซึ่งบางแห่งได้ปิดมาแล้วเกือบหนึ่งปีผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รวบรวมความท้าทาย ปัญหา และความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนออนไลน์ช่วงโควิด-19 ระบาด ดังนี้ ด็กเน็ตหมดเรียนหนังสือไม่ได้วันที่ 19 ม.ค. 2564 ในโลกโซเชียลมีเดีย มีการแชร์ภาพแชตในไลน์ลงบนเฟซบุ๊กชื่อว่า Kammalat Seansano ซึ่งเป็นของนายกมลาสน์ แสนเสนาะ หรือครูโก้ ครูสอนวิชาศิลปะโรงเรียนแห่งหนึ่งย่านบางกอกน้อย กรุงเทพฯ โดยครูที่สนทนากับนักเรียนเพื่อถามเด็ก ๆ ว่า สามารถเรียนออนไลน์ได้ทุกวิชาหรือเปล่า ถ้าไม่ได้ช่วยแจ้งมาด้วย และบอกเหตุผลมาว่าเป็นเพราะอะไรต่อมามีนักเรียนคนหนึ่งเข้ามาตอบว่า วันนี้หนูเรียนได้ แต่พรุ่งนี้ไม่ได้แล้ว […]
การศึกษาในยุค Covid-19
การศึกษาในยุค Covid-19ไวรัส Covid-19 ได้แพร่ระบาดไปทั่วโลก โดยเริ่มแพร่ระบาดตั้งแต่ปลายปี 2562 จนถึงปัจจุบัน แม้ว่าขณะนี้ทั่วโลกต่างเร่งมือทำการวิจัยค้นคว้าเพื่อผลิตวัคซีนป้องกันไวรัส Covid-19 แต่ดูเหมือนว่าจะใช้เวลานานพอสมควรเพื่อให้มั่นใจว่าวัคซีนที่ผลิตออกมานั้นปลอดภัยและไร้ผลข้างเคียงในช่วงเวลาที่ยังคิดค้นวัคซีนป้องกัน ไวรัส Covid-19 ได้ส่งผลกระทบต่อผู้คนอย่างมากมายและต่างก็ต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของตัวเองเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นพนักงานบริษัทที่ต้องเปลี่ยนสถานที่การทำงาน จากบริษัทมาเป็นทำงานที่บ้าน (Work from home) ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าต่างๆ ต้องปิดเป็นการชั่วคราวตามมาตรการเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อเปลี่ยนมาขายบนออนไลน์ บุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาผู้ป่วยและมีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อ, แม่บ้านที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการซื้อหน้ากากอนามัยและเจลล้างมือ หรือแม้แต่นักเรียน นักศึกษา ที่ถูกเลื่อนการเปิดเทอม ส่งผลให้นักเรียนส่วนใหญ่เสียโอกาสในการเรียนรู้ ที่ร้ายแรงที่สุดนักเรียนกลุ่มนี้เสี่ยงที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษา ซึ่งจะก่อให้เกิดผลเสียต่อชีวิตเด็กในระยะยาวเมื่อคุณครูและนักเรียนต้องทดลองการเรียนการสอนทางออนไลน์ผลกระทบที่เกิดขึ้นเด็กๆ หลายคนตื่นเต้นที่จะได้เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีผ่านอุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ แต่ทว่าเมื่อได้พิจารณาจากหลายๆ ด้านแล้ว พบว่ายังมีเด็กนักเรียนในหลายครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบซ้ำเติมจากการเรียนออนไลน์ และปัญหาที่ใหญ่สำหรับพวกเขาคือค่าใช้จ่ายที่มีเพิ่มมากขึ้น ทั้งค่าอุปกรณ์ในการเรียนออนไลน์ ค่าบริการอินเตอร์เน็ตรายเดือน ค่าไฟที่สูงขึ้น ยิ่งครอบครัวที่มีลูกในวัยเรียนมากกว่า 1 คน ก็จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกหน้าที่ที่เพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัวของคุณครู…เราอาจจะได้เห็นผ่านสื่อโซเชียลที่เล่าเรื่องราวของคุณครูลงพื้นที่ไปเยี่ยมเยียนนักเรียนเพื่อสอบถามความเป็นอยู่ของเด็กๆ กลุ่มคุณครูจากจังหวัดอุทัยธานีที่รวมตัวกันก่อตั้ง “Grab แม่ครู” ลงพื้นที่ติดตามความเป็นอยู่ของนักเรียน และจัดส่งอาหารที่พร้อมด้วยคุณค่าทางโภชนาการให้กับเด็กๆ คุณครูที่จังหวัดอุตรดิตถ์ลงพื้นที่พบปะ ส่งสมุดการบ้านและตรวจแบบฝึกหัดให้นักเรียน และพูดคุยกับผู้ปกครองถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ในต่างประเทศก็เช่นเดียวกัน อย่างประเทศอเมริกา เด็กนักเรียนทุกคนต้องหยุดอยู่บ้าน ยิ่งทำให้นักเรียนในครอบครัวยากจนได้รับผลกระทบเรื่องค่าใช้จ่ายอาหารกลางวัน ทำให้คุณครูจากโรงเรียนหลายแห่งต้องร่วมมือร่วมใจกันหอบหิ้วและเดินสายนำอาหารไปให้นักเรียนถึงบ้าน หรือแม้แต่คุณครูที่ยอมเดินเท้าหลายกิโลเพื่อมาอธิบายการบ้านให้นักเรียนฟังถึงบ้าน […]
สำรวจผลกระทบหลังโควิด-19 จุดเปลี่ยนการศึกษาโลก
สำรวจผลกระทบหลังโควิด-19 จุดเปลี่ยนการศึกษาโลกรอบปีที่ผ่านมาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบวงกว้างในหลายมิติทั่วโลก รวมทั้งผลกระทบต่อแวดวงการศึกษาในหลายแง่มุมตั้งแต่การปิดเรียน ปรับมาใช้การสอนผ่านกลไกต่าง ๆ ตลอดจนปัญหาทางเศรษฐกิจที่ตามมาที่ทำให้เด็กหลายคนต้องออกจากโรงเรียน ทำให้ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาถ่างเพิ่มมากขึ้นแต่อีกด้าน โควิด-19 กลายเป็นแรงผลักดันบังคับให้เกิดการปรับตัวและนำมาซึ่งเทคโนโลยีและนวัตกรรมรูปแบบการศึกษาใหม่ๆ ที่ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองด้วยรูปแบบที่แตกต่างกลายเป็นโมเดลใหม่ ๆ ที่สอดรับกับบริบทของแต่ละพื้นที่ทั่วโลกดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ใช้โอกาสช่วงสิ้นปีประเมินสถานการณ์การศึกษาที่เกิดขึ้นจากผลกระทบของโควิด-19 ซึ่งนำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงต่อแวดวงการศึกษาในแง่มุมต่าง ๆการเรียนรู้ที่ลดลง ผลเสียต่ออนาคตการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผลกระทบจาก โควิด-19 ทำให้ห้องเรียนส่วนใหญ่ต้องถูกปิด แม้จะเปลี่ยนมาทำการเรียนการสอนแบบออนไลน์แต่ก็ไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับการเรียนในห้องเรียนได้ ทำให้เด็กมีปัญหาทั้งการเรียนที่ต้องหยุดชะงัก ไปจนถึงความไม่พร้อมของผู้ปกครอง การขาดแคลนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ การเข้าถึงอินเตอร์เน็ต การใช้เวลาหน้าจอมากเกินไป ขาดปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน สุดท้ายทำให้เกิดความเครียดทั้งเด็กและครู“สุดท้ายคือการที่เด็กมีการเรียนรู้ที่ลดลง (Learning Loss) ในสถานการณ์โควิด-19 ช่วงที่เขาต้องอยู่บ้าน หรือขาดการทบทวนบทเรียนเป็นเวลานาน ความรู้ก็อาจจะหายไป นอกจากความรู้ที่หายไปแล้ว ยังอาจส่งผลต่อพื้นฐานความรู้ในด้านสำคัญ ๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทุนมนุษย์ในสังคม หลายประเทศก็พยายามแก้ปัญหา โดยการเพิ่มอุปกรณ์ต่างๆเพิ่มอินเตอร์เน็ต เทรนครูให้รับมือกับการเรียนการสอนแบบระยะไกล”การศึกษาไม่ได้อยู่แค่ในห้องเรียน ผนึกกำลังท้องถิ่นแก้ปัญหาการศึกษาตามบริบทพื้นที่ดร.ภูมิศรัณย์ มองว่า ข้อดีในช่วงที่ผ่านมาคือการทำให้เกิดนวัตกรรมการเรียนการสอนทางไกลเป็นจำนวนมาก หลายอย่างเราเห็นว่ามีการทำได้ดี หรือมีครูที่สามารถทำได้ เขาได้คิดค้นวิธีการที่ดีๆ หลายอย่าง ทำให้เรารู้ว่าการศึกษาไม่ใช่เกิดขึ้นได้ในห้องเรียนเท่านั้น แต่เมื่อสถานการณ์จำเป็นก็สามารถเกิดได้ทุกที่ ทั้งทางออนไลน์ […]
เปิดประตูการศึกษา เรียนรู้-สู้วิกฤติ (โควิด-19)
เปิดประตูการศึกษา เรียนรู้-สู้วิกฤติ (โควิด-19)ความเปลี่ยนแปลง สู่โลกอนาคต จากวิกฤติ โควิด-19 เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการศึกษา ทว่าเราจะตั้งรับได้อย่างไร แนวโน้มของการศึกษาไทยในอนาคตจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง กับความท้าทายของโลก (การศึกษา) ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว จากผลกระทบจาการระบาดครั้งใหญ่นี้ และส่งผลกระทบการศึกษาในระยะยาวอย่างไร เรารวบรวมประเด็นที่น่าสนใจจากหลาย ๆ แหล่งไว้ในบทความนี้ ครู-นักเรียน ปรับตัวสู่โหมด “ออนไลน์”ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหนึ่งในอาจารย์มหาวิทยาลัยกลุ่มแรก ๆ ที่เปลี่ยนมาใช้วิธีการสอนนักศึกษาออนไลน์ตั้งแต่ก่อนที่รัฐบาลจะออกประกาศปิดสถานศึกษา อ.อรรถพล กล่าวว่า ไม่ใช่ทุกวิชาหรือทุกคณะจะเปลี่ยนมาสอนออนไลน์ได้ทั้งหมด เพราะต้องคำนึงถึงความเหมาะสม และประสิทธิภาพของการสอนที่สำคัญที่สุดคือห้องเรียนออนไลน์ยังทดแทน “ห้องเรียนออฟไลน์” หรือห้องเรียนจริง ๆ ไม่ได้ คือ “ปฏิสัมพันธ์” วิกฤติ คือ โอกาสการเรียนออนไลน์นั้น มีข้อจำกัดเรื่องความพร้อมส่วนบุคคลมากมาย โดยเฉพาะในโรงเรียนที่อยู่ต่างจังหวัดที่คุณครูก็ยังไม่มีความคุ้นชินกับโปรแกรมต่าง ๆ นักเรียนก็ไม่มีอุปกรณ์ รวมถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ไม่ดีนัก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องวางแผนอย่างจริงจังว่าจะสนับสนุนคุณครูนับแสนคนอย่างไร ต้องประเมินความพร้อมอย่างรอบด้าน เป้าหมายที่แท้จริงของการศึกษา ก็คือการพัฒนาผู้เรียน การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การถกเถียง การมีปฏิสัมพันธ์กัน ถึงแม้ว่าการเรียนออนไลน์จะมีข้อจำกัดและอุปสรรคบ้าง แต่ อ.อรรถพลบอกว่า […]